โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อาเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษRegional Public Administration in Accordance with Good Governance: A Case Study of Bangkruai District, Nonthaburi Province
  • ผู้วิจัยพระสมนึก ธีรปญฺโ (กลับน้อม)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโ
  • ที่ปรึกษา 3ผศ.พิเศษ ว่าที่ พ.ต. ดร.สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล
  • วันสำเร็จการศึกษา12/11/2010
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47090
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 391

บทคัดย่อภาษาไทย

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลัก ธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อาเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อาเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยจาแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อาเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของอาเภอบางกรวยทั้งหมดจานวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการวัดระดับความคิดเห็นต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อาเภอ บางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีความเชื่อมั่น 0.981 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยทดสอบที (t-test) และ เอฟ (F – test)
             ผลการวิจัยพบว่า
        1. บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในอาเภอบางกรวยมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.54) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการบริหารงาน อยู่ในระดับมากทุกด้าน
             2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อาเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี พบว่า บุคลากรที่มีเพศ, อายุ, ระดับ การศึกษา, ตาแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ทางาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนสถานภาพ และ รายได้ที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อาเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีโดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
              3. การศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
             ด้านปัญหา พบว่า บุคลากรยังขาดการถ่ายทอดนโยบายจึงทาให้บุคลากรระดับล่างที่ไม่ได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดไม่มีโอกาสรับรู้ ยังขาดความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ ผู้บริหารเลือกใช้งานเลือกปฏิบัติในแต่ละบุคคล มีเส้นสาย ขาดความยุติธรรม มีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ การตรวจสอบภายในยังทาได้ไม่ดีเท่าที่ควร ความโปร่งใสยังไม่ครอบคลุมทุกหน่วยงาน
              ด้านอุปสรรค พบว่า ข้อบังคับ ระเบียบ คาสั่งยังล้าสมัย การทางานยังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน มีการกระจายอานาจในการบริหารงานยังไม่ทั่วถึง มีการรวมศูนย์อานาจอยู่เพียงแค่ผู้บริหารเพียงคนเดียวเท่านั้น และมีผู้บริหารไม่ค่อยเอาใจใส่ในการมีส่วนร่วม

            ด้านข้อเสนอแนะ ได้แก่ ผู้บริหารควรมีความใกล้ชิดกับบุคลากร ถ่ายทอดความรู้ในด้านการบริหารงานโดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล และผู้บริหารของแต่ละองค์กรควรคานึงถึงการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลให้ครบทั้ง 6 ด้าน เพราะหลักธรรมาภิบาลยึดหลักการทางานที่มีหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า ซึ่งเป็นการบริหารการปกครองที่ดีที่ทุก ๆ ส่วนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม เหมาะที่จะนามาใช้ในการจัดการบริหารงาน ทาให้หน่วยงานนั้นสามารถพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The main objectives of this research are: i) to study the regional public administration in accordance with the good governance: A Case Study of Bangkruai District, Nonthaburi Province; ii) to compare the opinions of the personnel working towards the regional public administration in accordance with good governance classified by personal characteristics; and iii) to reveal problems, restraints, and recommendations of regional public administration in accordance with the good governance: A Case Study of Bangkruai District, Nonthaburi Province. Descriptive research was carried out in this study. The 225 samples working in Bangkruai District, Nonthaburi Province were drawn in this study. The rating scale and open-structured questionnaire with reliability value equal to 0.981 was used for data collection. Program for social science research was employed for data analysis by using statistical techniques such as frequencies, percentage, average, standard deviation (S.D) for describing data from variables or personal characteristics. The analysis was also done through t-test for analysis the hypotheses in order to test the average difference between the two groups and F – test.
            The main findings of this research are concluded as follows :
            1. The opinion of the regional public administration in accordance with the good governance : A Case Study of Bangkruai District, Nonthaburi Province, as a whole, was of the more level (  = 3.54). Considering as a particular, their opinions were of the more level in all aspects.
              2. The results of comparing the opinions of the personnel working for the Office of Bang Kruai District towards the regional public administration in accordance with good governance indicated that, as a whole, the opinions of the ones with different sex, age, education level, position,and working experience were of statistically significant difference at 0.05 so that the relevant hypothesis set forth could be accepted. But, those of the ones with different marital status and
monthly income, as a whole, were not of statistically significant difference at 0.05 so that the relevant hypothesis set forth could be rejected.
             3. The results of revealing problems, restraints, and suggestions could be concluded as the following.

         Problems: Lacking policy transfer to the personnel especially the subordinates working never closely to immediate superior so that they had had no chance of knowing relevant information; Lacking voluntary cooperation given by the personnel of all levels; Giving any of subordinates the assignments discriminately; Doing any of subordinates a favor with discrimination;Promoting any personnel with discrimination; Lacking justice; Having some conflicts of interest; Being inferior of internal audit; Having a thorough transparency upon certain sections only.
         Restraints: Becoming obsoleteness of many rules, regulations, and orders; Performing jobs without standardization; Making no a thorough decentralization; Being kept a strong centralization by certain executive; and, Being not attentive to the participation.
               Suggestions: The executive should always keep in touch with all of his or her personnel,and simultaneously learn them the hints of administration in accordance with good governance. Any executive of every organization should have a thorough consideration upon all of the six elements of the good governance, i.e., the rule of law, ethics, transparency, responsibility, public participation,and the value of money. And, because the good governance had functioned as the best means of performing regional public administration, it was also suitable to be used in administering every organization as to make and lead it be developed efficiently.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ