โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement of Vutthanavidhi Practice of Temples in Phetchabun Province
  • ผู้วิจัยพระมหาพรประกิจ กิตฺติมโน (ฤทธิ์สกุล)
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีวีรบัณฑิต, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ประเสริฐ ธิลาว
  • วันสำเร็จการศึกษา11/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/471
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 252
  • จำนวนผู้เข้าชม 341

บทคัดย่อภาษาไทย

                   การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ  1.เพื่อศึกษาการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์  2.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  3.เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ 

                 ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีความความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.759 กับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระสงฆ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 268 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา 

                 ผลการวิจัยพบว่า   

                 1. พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.97, S.D. = 0.34)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการ ( = 4.00, S.D. = 0.508) ด้านวิทยากร ( = 3.98, S.D. = 0.581) ด้านสถานที่  ( = 3.94, S.D. = 0.586)  และ ตามลำดับ     

                 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม วุฒิการศึกษาสามัญ พบว่า พระสงฆ์ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาสามัญต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย 

                3. ปัญหา อุปสรรค การบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า 1) เจ้าสำนักขาดวิสัยทัศน์ในการปรับปรุงสถานที่ภายในวัด 2) เจ้าสำนักมีอาคารไม่สามารถรองรับจนวน ผู้มาร่วมประพฤติวุฒฐานวิธี จนวนมาก ๆ ได้ 3) ขาดกระบวนการคัดสรรกลั่นกรองรผู้เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุอย่างเป็นขั้นตอน

                ข้อเสนอแนะควรนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ เช่น หลักอิทธิบาท 4 เพราะเป็นคุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย คือ ฉันทะ  วิริยะ จิตตะ วิมังสา 1) เจ้าสนัก ควรมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ของสถานที่สนัก ให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ และมีกฎระเบียบในการเข้าพักสหรับผู้เข้าประพฤติวุฒฐานวิธี 2) เจ้าสำนักควรจัดคนทําความสะอาดเป็นประจำไม่รก อากาศถ่ายเทดี ป้องกันปลวก แมลงต่าง ๆ มีรองเท้าสำหรับเข้าห้องน้ำ ไม่มีกลิ่นรบกวน ผนังห้องน้ำ โถส้วม อ่างล้างมือ มีความสะอาดพร้อมใช้งานได้  3) เจ้าสำนักควรพัฒนาบุคลิกภาพให้มีความเป็นผู้นำที่นั่งอยู่ในใจของผู้อื่น รู้จักแบ่งงานรู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับงานและความรู้ รู้จักบริหารศรัทธาของประชาชน

 

 

 

 

 

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were: 1. to study the Vutthanavidhî Practice of Temples in Phetchabun Province, 2. to study the comparison the opinions of the study the Vutthanavidhî Practice of Temples in Phetchabun Province, classified by personal factors, 3) to study the problems, obstacles and suggestions to the study the Vuööhânavidhî Practice Temples in Phetchabun Province.                                                                                                                                                                   The research methodology was the quantitative research, as a survey with questionnaires that had the reliability test at 0.759 of a sample group of 268 monks in  Phetchabun province, analyzed by social science program the statistics used are frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. With one-way analysis of variance and qualitative research with in-depth interviews with 9 key informants by using the descriptive content analysis techniques.           

The findings of research were as follows:                                                                                                 1. Management of the Vutthanavidhî Practice of Temples in Phetchabun Province, found that the management has a good work system and emphasizing the transparency. Academician aspect, good knowledge academicians, leadership, harmony and compromise. Location aspect, has the convenience, calmness, cleaning and sufficiency for the work using the Vutthanavidhî Practice Temples by enmphasizing management with transparency.                                                                                       2. The comparison of opinions of the principles and methods of principle of the Vuööhânavidhî Practice of Temples in Phetchabun Province found  3 aspects: management according to Dhammasappaya or Iddhipada IV such as Chanda(Aspiration) means the satisfaction , like , love good management, would start with sastisfaction, love like in the management as priority. Viriya(Effort or Energy) means to work hard , industrial, a person who is successful , must  work hard.  Citta(Mind or Thoughtfulness) means responsibility , focus on that work that the successful executives must have the responsibility and then will make the work successful , has the efficiency , effectiveness, quality. Vimangsa (Investigation) is to know the consideration that means must know the analysis, consider to improve, solution , management work and own development to have much knowledge and ability. However, executives know the consideration and analysis and then will make the decision correctly and use the mistake to be solved in the future.                                                              3. Problems and obstacles in the Vutthanavidhî Practice of Temples in Phetchabun Province were as follows: 1) The abbot  of temple lacks of the vision for improving the place of temple. 2) The abbot of temple , does not have enough  building to welcome many people who behave in the Vutthanavidhî Practice. 3) To lack of recruitment selection of young men to be ordained as the monks systematically.                                                                                                                      The suggestions : should use the principle of Dhamma to be applied for the management such as principle of Iddhibada IV are Chanda(aspiration), Viriya(Effort or Energy, Citta(Mind or Thoughtfulness) , Vimangsa (Investigation). 1) The abbot  of temple ,should improve the scenario of the temple to suit with geography and should have the rule to stay for behaving Vutthanavidhî Practice. 2) The abbot of temple , should the worker to clean regularly, good fresh air, to protect the insects, to have the slipper in front of  the restroom, no bad smell and good cleaning basin. 3) The abbot of temple should develop the personality to impress the people, to know how to put the right man on the right job to match with the knowledge and to know the faith management of the people.

 

                                    

 

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.31 MiB 252 3 มิ.ย. 2564 เวลา 16:37 น. ดาวน์โหลด