-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอมศาลอาญา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel of Buddhist Ethics Promotion of the Mediator of Criminal Court
- ผู้วิจัยนางรวิภัทร ประภานัน
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา31/08/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4718
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 131
- จำนวนผู้เข้าชม 145
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการส่งเสริมจริยธรรมของผู้ประนี ประนอมประจำศาลอาญา 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมของผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญา 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอมศาลอาญา ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 196 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกชนิดของข้อมูล และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 8 รูปหรือคน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปในการส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอม พบว่า ผู้ประนีประนอมมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar=4.21, S.D.=0.631) เมื่อพิจารณาเป็นรายพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้านได้แก่ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว (X-bar=4.23) รองลงมาคือจริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (X-bar=4.21) และอยู่ในระดับมากได้แก่ อุดมการณ์ของผู้ประนีประนอม (X-bar =4.18) ตามลำดับ
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมของผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญา พบว่า 1) หลักการส่งเสริมจริยธรรมส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมของผู้ประนีประนอมศาลอาญา 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประกอบด้วย การรักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพ การยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง และการยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม และสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 77.5 (Adj. R2=.775) 2) หลักสาราณียธรรม 6 ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอมศาลอาญา 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประกอบด้วย สีลสามัญญตา (อยู่ในกฎระเบียบ) สาธารณโภคี (การรู้จักแบ่งปัน) เมตตาวจีกรรม (วาจาดี) ทิฏฐิสามัญญตา (เห็นดีงาม) และสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 75.1 (Adj. R2=.751) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญา ประกอบด้วย จริยธรรมของผู้ประนีประนอมศาลอาญา 3 ด้านคือ อุดมการณ์ของผู้ประนีประนอม จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประนีประนอม จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว และจริยธรรมของผู้ประนีประนอมศาลอาญาทั้ง 3 ด้าน ต้องอาศัยหลักการส่งเสริมจริยธรรม 6 ด้านประกอบด้วย การยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติ การให้บริการแก่ประชาชน การยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง การรักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพ และหลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย เมตตากายกรรม การทำความดีต่อกันด้วยความปรารถนาดี เมตตาวจีกรรม พูดจากันด้วยความรัก ความปรารถนาดี เมตตาโนกรรม การคิดการมองกันในแง่ดี สาธารณโภคี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม แบ่งปันผลประโยชน์ด้วยความยุติธรรม สีลสามัญญตา การปฏิบัติตามกฎระเบียบ เคารพกติการ่วมกัน ทิฏฐิสามัญญตา มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the general condition of ethical promotion for mediator of Criminal Court; 2. To study the factors affecting the ethical promotion for the mediator of the Criminal Court; 3. To propose a model of ethical promotion for mediators of criminal courts, conducted by the mixed research methods. The quantitative research. Data were collected from 196 samples and analyzed with the descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression using ready-made statistical program package. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 18 key informants and from 9 participants in focus group discussion to confirm the model after the data synthesis.
Findings were as follows:
1. General conditions of Buddhist ethical promotion for mediators of the Criminal Court were found that the mediators had opinions on the Buddhist ethical promotion for mediators, by overall, at the highest level (X-bar=4.21, S.D. = 0.631). Considering by all aspects, 2 aspects were at highest level. They were self-maintenance and family were at X-bar =4.23, Secondly, the ethical aspect of work performance (X-bar =4.21) and that was at the high level. The aspect that was at high level was the mediators’ ideology was at X-bar=4.181 respectively.
2. Factors affecting ethical promotion for the mediators of the Criminal Courts were found that: 1) The principles of ethical promotion that had effects on Buddhist ethical promotion for the mediators of the Criminal Court in 4 aspects with statistically significant level at 0.01, consisting of Maintaining standards, quality, transparency and verifiable, Adherence to professional ethics, Standing up for what's right, and adherence to morals and ethics and together could predict the effects at 77.5 percent predict 77.5 percent (Adj. R2=.775). 2) The principle of Saraniya-dharma 6 had effects on the Buddhist ethical promotion for mediators of the Criminal Court in 4 areas with statistically significant level at 0.01, consisting of Silasamanyata, adhering to rules and regulations, Sadharanabhogi, to share any lawful gains, Mettavacigamma, to be amiable in word, openly and private, Ditthisamanyata, to be endowed with right view and together could predict the effect of Buddhist ethical promotion for the mediators of the Criminal Court at 75.1 percent(predict 77.5 percent (Adj. R2=.751) with statistically significant level at 0.01.
3. A model of Buddhist Ethical Promotion for the Mediators of the Criminal Court consisted of 3 aspects. They were the mediators’ ideology, work performance ethics, self-maintenance, and family ethics and the 3 areas of the mediators’ ethics depended on ethical promotion in 6 aspects. They were adherence to morals and ethics, upholding the interests of the nation, service to the public, Standing up for what's right, Maintaining standards quality transparency and verifiable, Adherence to professional ethics, and principle of Saraniyadhamma 6 consisted of Mettakayagamma to be amiable in deed, Mettavacigamma, to be amiable in word, openly and private, Mettamanogamma, to be amiable in thought, Sadharanabhogi, to share any lawful gains, to share benefits with fair shares, Silasamanyata, adhering to rules and regulations, Ditthisamanyata, to be endowed with right view, listening to others’ opinions.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6301104220 | 6301104220 | 4.35 MiB | 131 | 16 ก.ย. 2565 เวลา 13:34 น. | ดาวน์โหลด |