-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธมอญตามหลักพระพุทธศาสนาในตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Buddhist Mon Community Identity According to the Buddhist Principles in Tambol Songkanong, Amphoe Phra Pradaeng, Samut Prakarn Province
- ผู้วิจัยพระมหาปริทัศน์ วรกิจฺโจ (ทิพย์โอสถ)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท, ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ธวัช หอมทวนลม
- วันสำเร็จการศึกษา01/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/472
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 226
- จำนวนผู้เข้าชม 556
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธมอญตามหลักพระพุทธศาสนาในตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธมอญในตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อศึกษาลักษณะการนับถือหลักพระพุทธศาสนาของชุมชนชาวพุทธมอญในตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธมอญตามหลักพระพุทธศาสนาในตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการดำเนินวิจัยดังนี้
การทำวิจัยในครั้งนี้ผู้ทำวิจัยได้มุ่งศึกษาถึง “การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธมอญตามหลักพระพุทธศาสนาในตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ” ผู้วิจัย ได้กำหนดวิธีการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) กับผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน/รูป โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ วิเคราะห์ลักษณะปัญหาจากเอกสาร จากการสัมภาษณ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวกับประกอบด้วย 1) รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) จัดลำดับข้อมูล 3) จากการสัมภาษณ์ และ 4) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น 5) สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะผลการวิจัยพบว่า
ผลการวิจัย พบว่า
1) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของอัตลักษณ์หลักพระพุทธศาสนาและลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธมอญตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่า ชาวมอญนั้นมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ประวัติและความเป็นมาที่สืบทอดของชาวมอญ ในความแตกต่างกัน ทราบจากภาษาที่พูด วิถีชีวิต ชาวมอญส่วนมากจะมีลูกหลานอยู่ที่ทรงคะนอง จากการสนทนาและการทำบุญในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ และเทศกาลอื่น ๆ
2) ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับอัตลักษณ์ชาวพุทธมอญตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่าพิธีกรรมการบวชแบบมอญ การแต่งตัวนาค และการตาย ซึ่งพระสงฆ์คือบุตรพระพุทธเจ้าจากการเลียงผีบ้านและแขกเข้าบ้านต้องบอกผีก่อน ประเพณีเกี่ยวกับการรำถวายเจ้าพ่อเจ้าในเฉพาะพื้นที่ที่เป็นชาวมอญ จากความเชื่อตามที่ได้พบเห็น ลักษณะการเป็นอยู่ เช่น การเผาศพ การสวดศพ การพิธีไหว้บรรพบุรุษ
3) อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออารยประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและคนตรีชุมชนชาวชาวพุทธมอญใน ตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ชาวพุทธมอญผู้รู้อารยประวัติศาสตร์มักเป็นพระสงฆ์ อยู่ที่วัด ดังนั้น การจัดทำต่าง ๆ ต้องมาจากวัดทั้งมีบันทึกหรือจารไว้ในใบลาน และชาวพุทธมอญ มีความสัมพันธ์กันมานานเพราะชุมชนมอญปกติจะถือการทำบุญเป็นเรื่องใหญ่ เป็นการอุทิศกุศลให้บรรพบุรุษ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study entitled “A Study of Buddhist Mon Community Identity According to Buddhism in Songkhanong Subdistrict, Phra Pradaeng Distict, Samut Prakarn Province” consisted of the following objectives: 1) to study the Buddhist Mon community identity in Songkhanong Subdistrict, Phra Pradaeng Distict, Samut Prakarn Province; 2) to study the characteristics of respect for the Buddhist principles of Buddhist Mon community in Songkhanong Subdistrict, Phra Pradaeng Distict, Samut Prakarn Province; and 3) to study the identity of Buddhist Mon community according to Buddhism in Songkhanong Subdistrict, Phra Pradaeng Distict, Samut Prakarn Province.
The study applied a quantitative research method by collecting data from an in-depth interview with 13 key informants, obtained by means of purposive sampling. The acquired data were analyzed by way of explanation and description. The problems were analyzed from documents, interview, and related research works in the following steps: 1) the data from relevant documents were collected; 2) the data were put in sequence; 3) the data were acquired from an interview; 4) the acquired data were analyzed according to the issues; and 5) summary, discussion, and suggestions.
The results of the research are as follows:
1) From an in-depth interview on the history of Buddhist identity and of the Buddhist Mon community according to Buddhism, it is found that Mon people have been related to Buddhism since the lifetime of the Buddha. Their different histories and the origins inherited by the Mons were recognized by their dialects, and their ways of life. Most Mons had their children in Songkhanong. (These were from) conversations and merit practices during Songkran Festival, New Year and other festivals.
2) The beliefs and ritual about the identity of Buddhist Mon people according to Buddhism are found as follows: Mon ordination ritual, the dressing up a person who is about to be ordained as a monk, and the death. Monks are considered the son of the Buddha. Each house has house spirits which they must be informed when there are visitors to enter the house. The tradition about dancing in dedication to the spirits or the shrine in the area where Mon people live. Such beliefs can be seen in people’s way of life such as cremation, the chanting in the funeral, ancestral worship ritual, etc.
3) From studying the influences of Buddhism towards history, way of life, culture, tradition, architecture, arts, and music of Buddhist Mon in Songkhanong Subdistrict, Phra Pradaeng Distict, Samut Prakarn Province, it is found that Buddhist Mons who knew their civilized history were likely the monks who lived in the temples. Therefore, all rituals and activities must start from temple where there is a record or inscription on the palm leaf. The Buddhist Mon people give importance to the merit-making ceremony, especially merit-making to ancestors.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 18.53 MiB | 226 | 3 มิ.ย. 2564 เวลา 17:32 น. | ดาวน์โหลด |