โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์อาชีวศึกษา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษTrisikkha Integration for Human Capital Development of Vocational Learning
  • ผู้วิจัยนายเรืองยศ สารพุฒิเศรษฐ์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา06/09/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4725
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 68
  • จำนวนผู้เข้าชม 135

บทคัดย่อภาษาไทย

     ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาทุนมนุษย์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์อาชีวศึกษา และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์อาชีวศึกษา ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล    

             ผลการวิจัยพบว่า

             1 สภาพการพัฒนาทุนมนุษย์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาชีวศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X-bar=3.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านได้แก่ ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ (X-bar=3.92) รองลงมาคือ ด้านทักษะ (X-bar3.87) อันดับสามคือ ด้านความรู้ (X-bar=3.84) และด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (X-bar=3.64) ตามลำดับ

             2. ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์อาชีวศึกษา ผลการตรวจสอบสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านเกณฑ์ (p-value = 0.0821X-bar= 102.59, df. = 84, X-bar/df = 1.22, GFI = 0.96, AGFI = 095, CFI = 1.00, SRMR = 0.037, RMSEA = 0.025) และผลการศึกษาพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2ของสมการโครงสร้างตัวแปรแฝงภายในพบว่า มีค่าเท่ากับ 0.75 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลคือ การปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 สามารถอธิบายความแปรปรวนของหลักไตรสิกขา ได้ร้อยละ 75 และยังพบว่าสมการโครงสร้างตัวแปรแฝงภายในมีค่าเท่ากับ 0.87 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลคือ การปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 และหลักไตรสิกขา สามารถอธิบายความแปรปรวนของการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาชีวศึกษา ได้ร้อยละ 87 เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 พบว่ามีอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวมส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาชีวศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หลักไตรสิกขา พบว่ามีอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลรวมส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

             3. การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์อาชีวศึกษา โดยการพัฒนาตามศีล พฤติกรรม : Behavior จะทำให้ผู้เรียนเกิด “คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์” การพัฒนาตามสมาธิ จิตใจมุ่งมั่น : Mind จะทำให้ผู้เรียนเกิด “ความรู้” และการพัฒนาตามปัญญา องค์ความรู้ : Wisdom จะทำให้ผู้เรียนเกิด “ทักษะ” และ “ความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ” นอกจากนั้นยังอาศัยปัจจัยการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 อีก 8 ด้าน ที่จะทำให้การพัฒนาทุนมนุษย์ของอาชีวศึกษาประสบความสำเร็จคือ 1) การเรียนรู้จากการทำโครงงาน 2) การจัดการเรียนการสอนตามความต้องการ 3) เหมาะสมรายบุคคล 4) การทำงานร่วมกัน 5) ห้องเรียนสู่ชุมชนโลก 6) เรียนรู้ผ่านเครือข่าย 7) ประเมินเป็นระยะเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ 8) เรียนรู้เพื่อชีวิต   

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

 

    Objectives of this research were: 1. To study the general condition of human capital development of the Office of the Vocational Education Commission according to the National Vocational Qualification Framework 2. To study the causal relational factors affecting vocational human capital development, and 3. To propose TiSikkha integration for vocational human capital development, conducted by the mixed research methods. The quantitative research. Data were collected from 350 samples and analyzed with the descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation and Exploratory Factor Analysis; EFA and Structural Equation Modeling; SEM using ready-made statistical program package. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 18 key informants and from 9 participants in focus group discussion to confirm the model after the data synthesis.   

             Findings were as follows:  

             1. General conditions of human capital development of the Office of the Vocational Education Commission according to the National Vocational Qualification Framework were found that personnel had opinions of human capital development of the Office of the Vocational Education Commission, by overall, at high level (X-bar=3.82). Each aspect by order of the averages were found that they were all at high levels. They were application ability and responsibility were at X-bar =3.92, Secondly, the skills were at X-bar=3.87, thirdly the knowledge was at X-bar =3.84, and the virtues, ethics and desirable characteristics were at X-bar=3.643, accordingly. 

             2. Causal Relational factors affecting human capital development of the Office of the Vocational Education Commission was found that the consistency with empirical data passed the criteria (p-value = 0.0821, X= 102.59, df. = 84, X/df = 1.22, GFI = 0.96, AGFI = 095, CFI = 1.00, SRMR = 0.037, RMSEA = 0.025). The results of the study indicated that Multiple correlations (R2) of structural Equation Model, inside latent variables had value equal to 0.75 indicating that variables in the model that were learning system adaptation for 21st century and TiSikkha, together could explain the variance of human capital development of the Office of the Vocational Education Commission at 87 percent. Factors of learning system adaptation for the 21st century had direct and indirect influence on the human capital development of the Office of the Vocational Education Commission at the statistically significant level at 0.01. TiSikkha was found to have direct and correlative influence on the human capital development of the Office of the Vocational Education Commission at the statistically significant value at 0.01

    3. TiSikkha integration for vocational human capital development in line with Sila, behavior will induce virtue, ethics and desirable characteristics. Development in line with Samadhi, attention will induce knowledge, and development in line with Panna, wisdom, will induce skills and ability to adapt and be responsible. Besides, 8 more aspects are needed for successful vocational human capital development. They are: 1) learning from project, 2) learning and teaching management responsive to the needs, 3) individual appropriateness, 4) teamwork, 5) classrooms in the world community, 6) learning through networks, 7) regularly evaluation for learning improvement, and 8) learning for life.

 

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301104222 6301104222 8.53 MiB 68 16 ก.ย. 2565 เวลา 07:57 น. ดาวน์โหลด