-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการให้บริการประชาชน ของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Integration of Buddhadhamma for Public Service of Bangphlat District Office in Bangkok
- ผู้วิจัยพระธีระพงษ์ ธีรงฺกุโร (พลรักษา)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.รัฐพล เย็นใจมา
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อนุวัต กระสังข์
- วันสำเร็จการศึกษา08/09/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47308
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 36
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนผู้มาใช้บริการของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 77,561 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร หลักพุทธธรรม (สังคหวัตถุ 4) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X bar =4.05, S.D.=0.612) การให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X bar =4.01, S.D.=0.614)
2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (R=.938**) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า หลักพุทธธรรมกับการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน
3. ปัญหาและอุปสรรคการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พบว่า 1) เจ้าหน้าที่บางคนไม่สามารถดูแลเอาใจใส่ให้ความสะดวกแก่กลุ่มเปราะบางเป็นพิเศษ 2) ประชาชนที่มาติดต่อร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือ ไม่ค่อยได้รับความช่วยเหลือ 3) การให้บริการมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ 4) การนำระบบดิจิทัลเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการให้บริการยังไม่เพียงพอ 5) เจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการให้บริการประชาชน 6) สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ค่อยข้างน้อย 7) การประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะสถานการณ์โควิด 19 8) เจ้าหน้าที่บางคนมีความกระตือรือร้นในการให้บริการค่อนข้างน้อย 9) ทักษะการสื่อสารและใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในการให้บริการยังน้อย
ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พบว่า 1) เจ้าหน้าที่ควรดูแลเอาใจใส่ให้ความสะดวกแก่กลุ่มเปราะบางเป็นพิเศษ 2) ควรให้ความช่วยเหลือและรับฟังปัญหาของประชาชน 3) ควรให้บริการด้วยความรวดเร็ว โดยการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น 4) ควรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการให้บริการประชาชน 5) ควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชนให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน 6) ควรบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ 7) ควรมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านระบบดิจิทัล 8) ควรสร้างแรงจูงใจให้แก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน 9) ควรเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีระบบดิจิทัล ออนไลน์ โซเชียลมีเดียในการให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สังเคราะห์แนวทางพัฒนาการให้บริการเป็น MEPD โมเดล ดังนี้ M = Management การจัดการที่ดี ให้มีความสะดวกสบาย อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ พร้อมให้บริการอยู่เสมอ E = Equality ความเสมอภาค ถูกต้องยุติธรรม บริการด้วยความใส่ใจ ไม่เลือกปฏิบัติ P = Provide การเสียสละจัดการให้ ตรงต่อเวลาทำการ มีใจพร้อมบริการเสมอ ช่วยเหลือสนับสนุนแก้ไขได้ทุกปัญหา สะดวกรวดเร็ว D = Digital ทักษะด้านดิจิทัล พัฒนาบุคลากรภาครัฐ ให้บริการภาครัฐด้วยระบบดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ประชาชนเข้าถึงการให้บริการด้วยระบบดิจิทัล
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this thesis were: 1. To study the public service level of Bangphlat District in Bangkok, 2. To study relation of Buddhadhamma with public service of Bangphlat District in Bangkok and 3. To study problems, obstacles and recommendation for guidelines for development of public service of Bangphlat District in Bangkok. Methodology of this thesis was mixed methods: The quantitative method using survey method to collect data from 398 samples with random sampling from the population of 77,561 people calculated by Taro Yamane Formula. The statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson Correlation Coefficient. The qualitative method, data were collected from 9 key informants by in-depth-interviewing and analyze by content descriptive interpretation to support quantitative data.
Findings were as follows:
1. The overall opinions on public service level of Bangphlat District in Bangkok with Buddhadhamma principle (Sangahavutthu) were at high level (=4.05, S.D.=0.612), public service of Bangphlat District in Bangkok was also at high level (
=4.01, S.D.=0.614).
2. The correlations of Buddhadhamma and public service of Bangphlat District in Bangkok, by overall had positive correlation at the very high level (R=.938**) and from testing hypothesis, it was found that there was a positive correlation with the statistical significant level at 0.01, therefore, the hypothesis was accepted.
3. The problems and obstacles of public service of Bangphlat District in Bangkok were: 1) some officers could not take care and facilitate convenience to the special groups, 2) the assistance was not provided to the ones who asked for and claimed for, 3) too much of complicated procedures in public servicing led to delay in service, 4) insufficient of new digital tools to support the public service, 5) the numbers of officers were less when compared to the demand of public service, 6) less facilities, 7) insufficient in distributing news and public relations especially about COVID - 19 pandemic situation, 8) officers with enthusiasm were rather less and 9) skill in communicating and applying digital tools for public service were still less.
The recommendation on guidelines for public service of Bangphlat District in Bangkok were: 1) the officers should take good care and provide convenience to the special group, 2) should assist to solve and listen to the problems, 3) should provide service quickly by reducing unnecessary procedures, 4) should bring new technology to serve public, 5) should increase sufficient officers to serve as per demand, 6) should manage to have enough facilities, 7) should have good public relations via digital media, 8) should motivate officers to work, 9) should add on digital skill, online and social media to officers. To synthesize guidelines for development to MEPD Model as follows: M = Management – good management to have convenience and facilitation in various aspects ready for public service. E = Equality – to be equal, fair and provide the same public service to all without any specialty to anyone. P = Provide – sacrifice to serve, to work on time with mindful public service to assist and support every problem to be solved promptly. D = Digital – more skill on digital to develop officers in government sector to serve with digital, advance technology and public to access the service via digital system.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|