โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ (อสม.) ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffectiveness of Village Health Volunteers (VHV) In Muang District, of Kanchanaburi Province
  • ผู้วิจัยนางสาววัชรี วัฒนาสุทธิวงศ์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.รัฐพล เย็นใจมา
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์
  • วันสำเร็จการศึกษา08/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47316
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 19

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และสังคหวัตถุธรรม 4 กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 348 คน ได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์หลักพุทธธรรม และหลักการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบบเจาะจง จำนวน 10 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกให้ข้อมูลสำคัญ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่า

             1. ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ทั้ง 6 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X bar = 3.53, S.D.= 0.971)  และสังคหวัตถุธรรม 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X bar = 3.97, S.D.= 0.816) เกณฑ์วัดประสิทธิผลองค์การ 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X bar =3.98, S.D. =0.884)

2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และสังคหวัตถุธรรม 4 กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอ.เมือง จ.กาญจนบุรี โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง  (r =.687**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และสังคหวัตถุธรรม 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (r =.818**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบว่ามี 5 แนวทาง ดังนี้  1) ด้านการผลิต อบรมให้ความรู้ทั้งหลักปฏิบัติงานและหลักพุทธธรรมแก่ผู้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 2) ด้านประสิทธิภาพ ทำงานเชิงรุก เพิ่มงบประมาณ 3) ด้านความพึงพอใจ คำนึงถึงความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการเป็นหลัก 4) ด้านการปรับเปลี่ยน มีการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติและสวัสดิการ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 5) ด้านการพัฒนา มีการพัฒนาด้านทักษะ เทคโนโลยี ให้ความรู้หลักการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สังเคราะห์แนวทางเป็น VHV DIGITAL MODEL V= Volunteer อสม. อบรมพัฒนาความรู้สุขภาพพื้นฐานประยุกต์หลักพุทธธรรมสังคหวัตถุ 4 สื่อสารสู่ประชาชน ให้มีความรู้มั่นคง  H = Health การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ประชาชนมีการป้องกันโรค ครอบครัวอบอุ่น เลี้ยงชีพสุจริต  มีความเป็นอยู่มั่งคั่งขึ้น V = Value ทรัพยากรมนุษย์ในประเทศมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง นำมาซึ่งความมั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจสู่ตนเองและประเทศชาติ DIGITAL = ดิจิทัลเทคโนโลยี ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ ดิจิทัลและเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงานในองค์กร VHV DIGITAL MODEL จึงเป็นการพัฒนา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สู่การมีสุขภาพครบวงจรของประชาชนที่ยั่งยืน

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        Objectives of this research were: 1. To study the level of duty performance effectiveness of village health volunteers (VHV) at Muang District, Kanchanaburi Province, 2. To study the relationships between duty performance principles and Sangahavatudhamma and duty performance effectiveness of village health volunteers at Muang District, Kanchanaburi Province and 3.To propose guidelines for development of duty performance effectiveness of village health volunteers at Muang District, Kanchanaburi Province.

          Methodology was the mixed methods: The quantitative research by survey method  collected data with questionnaires from 348 samples who were village health volunteers using Taro Yamane’s formula, analyzed data with frequency, percentage, mean, standard deviation and analysis of relationship between Buddhadhamma application and duty performance principles of village health volunteers with duty performance effectiveness of village health volunteers (VHV) at Muang District, Kanchanaburi Province using Pearson’s correlation coefficient. The qualitative research, data were collected from 10 key informants, purposefully selected by in-depth-interviewing. Data were analyzed by content descriptive interpretation with frequency table of the key informants and data were used to support the quantitative research.

Findings were as follows:

1.       Effectiveness level of duty performance of village health

volunteers at Muang District, Kanchanaburi Province in 6 aspects, by overall, were at high level (X bar=3.53 S.D. =0.971), Sangahavattudhamma 4, by overall wee at high level (X bar=3.97, S.D. =0.816) Effectiveness measurement criteria in 5 aspects, by overall, were at high level (X bar=3.98, S.D. =0.884)

2.    Relationship between duty performance principles of village health

Volunteers (VHV) at Muang District, Kanchanaburi Province, Sangahavattu 4 and duty performance effectiveness of village health volunteers (VHV) at Muang District, Kanchanaburi Province, by over all, had positive relationship at high level (R-=687**) with statistically significant level at 0.01, accepted the set hypothesis. Sanghavattu 4 had positive relationship at very high level (R=818**) with statistically significant level at 0.01, accepted the set hypothesis.

3.    Guidelines for development of duty performance effectiveness of village

health volunteers (VHV) at Muang District, Kanchanaburi Province were found that there were 5 guidelines: 1) production; training, knowledge including performance principles and Buddhadhamma for village health volunteers (VHV), 2) efficiency; proactive working, budget add-up, 3) satisfaction; attention to satisfaction of service receivers, 4) adaptation; there was adaptation and improvement of qualifications and welfares 5) development; development of skill, technology and village health volunteers’ work comprehends that can be acronymic as VHV DIGITAL MODEL: V = Volunteer, village health volunteers develop oneself the basic health knowledge, network and secure knowledge. H = Health, good physical and mental health, happy and better living conditions. V = Value, human resource in the country has good physical and mental health which is very important and valuable conducive to self-economic and national security. DIGITAL = Digital Technology equipment and digital technology that exists today to make the most of the communication. Operations in the organization VHV DIGITAL MODEL development for people’s sustainable one-stop complete health.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ