-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Administration With Good Governance of Sub District Administrative Organization : A Case Study of Lumpayon Sub District, Takfa District, Nakhon sawan Province
- ผู้วิจัยพระจรุณ ธีรปญฺโญ (เวฬุวาปี)
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
- ที่ปรึกษา 3ผศ.อานนท์ เมธีวรฉัตร
- วันสำเร็จการศึกษา27/03/2011
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47348
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 523
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์.จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษา แนวทางการประยุกต์ใช้การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๔๕ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและค่ามาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอ้างอิงที่ใช้สำหรับทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยจำแนกตามลักษณะของตัวแปร โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การทดสอบค่า ที (t–test) ในกรณีตัวแปรต้น 2 กลุ่ม และทดสอบค่า เอฟ (F– test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA ) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป
ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 51.30 มีอายุตั้งแต่ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.40 มีระดับการศึกษา ม.3 - ม.6 หรือ ปวช. คิดเป็นร้อยละ 49.30 และมีอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 45.80 และพบว่าประชาชนมีระดับความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ( x̄ = 3.52) และเมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้านพบว่า ด้านหลักความโปร่งใส อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชาชนกลุ่มตัวอย่างต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
การนำหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมได้ ดังนี้ คือ รณรงค์ให้ผู้บริหารและบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานภายในองค์กรอย่างจริงจัง สร้างจิตสำนึกให้บุคลากรทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย.ผู้บริหารควรกำหนดนโยบาย มีแผนแม่บทอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้ ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน การดำเนินงานต่างๆ มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ พัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research are 1) to study an administration With Good Governance of Sub District Administrative Organization : a case Study of Lumpayon Sub District, Takfa District, Nakhon Sawan Province, 2) to compare opinions towards. Administration With Good Governance of Sub District Administrative Organization : A Case Study of Lumpayon Sub District, Takfa District, Nakhon Sawan Province classified by personal factors and 3) to study the problems, barriers and suggestions to an administration With Good Governance of Sub District Administrative Organization : A Case Study of Lumpayon Sub District, Takfa District, Nakhon Sawan Province
This is a Quantitative Research based on Survey Research. using questionnaires which are of 0.96 reliability, was conducted in this study to analyze the collected data. As the tool for data collection, questionnaires were distributed to 245 officials working in Lumpayon Sub District, Takfa District, Nakhon Sawan Province.The analysis was also done through t-test for analysis the difference between the two groups and F-test by one-way analysis of variance (One-way ANOVA) for testing the difference between the averages from three or more groups.
The findings of this study are as follows:-
Most of the samples or 51.30 percent are male, 37.40 percent, age between 31.40 years old 49.30 percent, finished M3 - M6 or Vacational Certificate is and 49.30, and 45.80 percent are farmer, It was found that totally, the level of study An Administration With Good Governance of Sub District Administrative Organization : A Case Study of Lumpayon Sub District were in high level. However,for considering all the six aspects of good governance are at the middle level of transparency.
From The comparison of opinions towards the Administration With Good Governance of Sub District Administrative Organization : A Case Study of Lumpayon Sub District, Takfa District, Nakhon Sawan Province, it was found that people with different sex, age, education and marital occupation did not have different.
The suggestions to improve the administration of lumpayon sub District. Administrative Organization,Takfa District, Nakhon Sawan province are that the organization should give the administers and authorities of Lumpayon Administrative Organization, Takfa District, Nakhon Sawan, use the Good Governance for the administration in the organization, make subconsciousness to the authorities for the duty responsibility. The administrator should stipulate the master policy on the development clearly, give the opportunity to the authorities to participate in working together, other management, are clear to verify, developing the authorities could use the resource worthwhilely and high efficiency.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|