-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงพุทธของประชาชน วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAwareness Raising for Promoting Buddhist Culture of People in Wat Rai Khing, Royal Temple, Nakhon Pathom Province
- ผู้วิจัยพันตำรวจตรีหญิง มาลี สุขสำราญ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.โยตะ ชัยวรมันกุล
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ธวัช หอมทวนลม
- วันสำเร็จการศึกษา08/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/474
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 139
- จำนวนผู้เข้าชม 355
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยเรื่อง “การสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงพุทธของประชาชนในวัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ เพื่อศึกษาการสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงพุทธของประชาชนในวัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม, เพื่อศึกษาวิเคราะห์การสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงพุทธของประชาชนในวัดไร่ขิงพระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม และเพื่อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงพุทธของประชาชนในวัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม
ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย เชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interviews) โดยเก็บแบบสอบถามจากประชากรในตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 18,206 คน โดยการเปิดตารางสำเร็จรูป (Krejcie and Morgan) ได้จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสัมภาษณ์ สถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบความแตกต่างโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบ ค่าเอฟ (f-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษาพบว่า
ผลการสัมภาษณ์ พบว่า ด้านชีวิต: การช่วยเหรือ หรือแบ่งปันกัน การไม่สร้างปัญหา การช่วยเหลือ และมีการอ่อนน้อมถ่อมตนนั้น ด้านจิต: การสร้างจิตสำนึกที่ดี เป็นการทำประโยชน์ต่อตนเองและสร้างความแน่วแน่นั้น ด้านพฤติกรรม: ในการจัดกิจกรรมนั้น การอบรมบ่มนิสัยให้มีพฤติกรรมที่ดีในการสร้างจิตสำนึกที่ดีเป็นสิ่งที่ดี ด้านสังคม: การการช่วยเหลือสังคมเป็นการละลายพฤติกรรมที่ไม่ดี และเป็นการทำงานเพื่อหมู่คณะ และมีคุณค่าทางจิต
2) ระดับผลการวิเคราะห์ระดับการสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงพุทธของประชาชนในวัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( x̅ =4.806) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้วพบว่า ด้านพฤติกรรมมีระดับมากที่สุด ( x̅ =4.909) และรองลงมา คือ ด้านสังคม ( x̅ =4.805) และน้อยที่สุด คือด้านจิต ( x̅ =4.751) ตามลำดับ
3) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของ ๑) ประชาชนที่มีเพศ, อายุ, การศึกษา และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงพุทธของประชาชนใน วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม แตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4) สภาพปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงพุทธของประชาชนในวัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม จากการไล่ลำดับปัญหาจากมากสุดไปหาน้อยที่สุด พบว่า มากที่สุด คือปัญหาเรื่องการดื่มสุราบางครั้งยังมีให้เห็นอยู่ตามงานวัดทั่วไป รองลงมา คือ ผู้คนบางส่วนไม่มีความรู้เรื่องการปฏิบัติธรรม และก่อปัญหา และไม่สนใจกับสิ่งรอบข้าง และน้อยที่สุด คือ ความยุติธรรมส่วนมากมักไม่เท่ากันเมื่อเจอกับสถานการณ์จริง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study entitled “Awareness Raising for Promoting Buddhist Culture of People in Wat Rai Khing, Royal Temple, Nakhon Pathom Province” consisted of three objectives as follows: 1) to study awareness raising for promoting Buddhist culture of people in Wat Rai Khing, royal temple, Nakhon Pathom Province; 2) to analyze awareness raising for promoting Buddhist culture of people in Wat Rai Khing, royal temple, Nakhon Pathom Province; and 3) to propose suggestions for awareness raising for promoting Buddhist culture of people in Wat Rai Khing, royal temple, Nakhon Pathom Province.
The study applied mixed-method research of qualitative and quantitative methods. For quantitative data, it was collected by means of a questionnaire. While qualitative data, an in-depth interview was conducted with 379 persons out of 18,206 population in Rai Khing Subdistrict, Samphran District, Nakhon Pathom Province by means of Krejcie and Morgan table. The instruments used for the questionnaire were a checklist of 5 rating scale, an open-ended questionnaire, and an interview form. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, and one way ANOVA with a statistical significance at 0.05 level.
The results of the study are found as follows:
1) The results of an interview are found as follows: on life aspect by helping, sharing, not creating any problem, and being humble; on mental aspect by raising awareness and building determination which will benefit oneself; on behavioral aspect by cultivating good habits to raise awareness through activities; on social aspect by helping the society which is a way to transform the bad habits, to work as a team with others, and to build mental value.
2) From analyzing the level of awareness raising for promoting Buddhist culture of people in Wat Rai Khing, royal temple, Nakhon Pathom Province, it is found that overall is at a high level (x̄ = 4.806). When considering each aspect, the aspect on behavior is at the highest level (x̄ = 4.909), followed by the aspect on society (x̄ = 4.805). On mental aspect has the least mean (x̄ = 4.751).
3) From comparing the opinions of people towards the awareness raising for promoting the Buddhist culture of people in Wat Rai Khing, Nakhon Pathom Province, it is found that people with different gender, age, level of education, and income have differences in opinions with a difference in statistical significance at 0.05 level.
4) From studying problems of the promotion in raising awareness for people to promote the Buddhist cultures in Wat Rai Khing, Nakhon Pathom Province, the most common problem found is the drinking of alcohol can still be found in the temple fair. Followed by the problem of people lack knowledge about meditation, make troubles, and do not pay attention to the surroundings. While the problem of unequal justice in real situations is found the least.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 9.67 MiB | 139 | 3 มิ.ย. 2564 เวลา 23:34 น. | ดาวน์โหลด |