-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel of Buddhadhamma Integration for Work Performance Effectiveness Enhancement according to the Strategy of the Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives
- ผู้วิจัยนายปรีดา กลิ่นเทศ
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมาน งามสนิท
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา31/01/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47435
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 198
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ การบริหารจัดการองค์การ หลักสัปปุริสธรรม ๗ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2) เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3)เพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.990 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 450 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน แบบเลือกแบบเจาะจง เคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
๑. สภาพการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ การบริหารจัดการองค์การ หลักสัปปุริสธรรม 7 และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.94, S.D. = 0.727) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบว่า ผลผลิต อยู่ในระดับมาก (
= 3.99, S.D. = 0.727) รองลงมา คือ ความพึงพอใจ (
= 3.94, S.D. = 0.797) ประสิทธิภาพ (
= 3.90, S.D. = 0.798) ตามลำดับ
2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วย การสื่อข้อความ ทรัพยากร ทัศนคติของผู้ปฏิบัติ โครงสร้างระบบราชการ ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 11 การบริหารจัดการองค์การ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ การประสานงาน การควบคุมการบริหาร ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร้อยละ 78 หลักสัปปุริสธรรม 7
อันประกอบด้วย ธัมมัญญุตา (เป็นผู้รู้จักเหตุ) อัตถัญญุตา (เป็นผู้รู้จักผล) อัตตัญญุตา (เป็นผู้รู้จักตน) มัตตัญญุตา (เป็นผู้รู้จักประมาณ) กาลัญญุตา (เป็นผู้รู้จักกาล) ปริสัญญุตา (เป็นผู้รู้จักบริษัท) ปุคคลัญญุตา (เป็นผู้รู้จักบุคคล) ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อย่างดี ร้อยละ 87
3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าหลักพุทธธรรมได้แก่ หลักสัปปุริสธรรม 7 ทุกข้อสามารถเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยผ่านเกณฑ์ค่าสถิติความสอดคล้องทุกตัวที่นำมาวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการบูรณาการ หลักสัปปุริสธรรม 7 สามารถเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were: 1. To study the condition of strategic plans implementation, organization administration, Sappurisadhamma 7 and work performance effectiveness according to the strategies of the Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives, 2.To study causal relationship model of the work performance effectiveness enhancement, and 3. To propose model of Buddhadhamma integration for work performance enhancement.
Methodology was the mixed methods: The qualitative method, data were collected using questionnaires with the statistically significant level at 0.990 from 450 samples who were administers, officers, permanent employees and official personnel of the Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives. Data were analyzed by frequency, percentage, means, standard deviation, S.D. and Structured Equation Model, SEM, and Confirmatory Factors Analysis, CFA. The qualitative method, data were collected from purposefully selected 20 key informants using in-depth-interview method, and from 10 participants in focus group method. The discussion were analyzed by content descriptive interpretation to confirm the model after the data synthesis.
Findings were as follows:
1. The condition of strategic plans implementation, organization administration, Sappurisadhamma 7 and work performance effectiveness were found that the work performance effectiveness by overall, was at high level with the mean value at 3.94 and standard deviation equal to 0.727. Each aspect had mean values accordingly as: Production was with mean value at 3.99, standard deviation value equal to 0.727. Satisfaction was with mean value at 3.94, standard deviation equal to 0.797. Effectiveness was with mean value at 3.90, standard deviation was equal to 0.798, respectively.
2. Causal relationship model of Buddhadhamma integration for model of Buddhadhamma integration for work performance effectiveness enhancement according to the strategies of the Department of Livestock Development, was found that the direct and indirect factors affecting the work performance effectiveness consisted of communication, resources, operator’s attitude, bureaucratic system structure affected the work performance effectiveness at 11 percent. Organizational Administration consisted of planning, organizing, commanding, coordinating, controlling affected the work performance effectiveness according to the strategy of the Department of Livestock Development at 78 percent. Sappurisadhamma 7, consisted of Dhammannuta, knowing cause, Atthanyuta, knowing effects, Attanyuta, knowing self, Mattanyuta, knowing moderation, Galanyuta, know time, Parisanyuta, knowing companies, Puggalanyuta, knowing individuals, had direct and indirect influences that affected the work performance effectiveness according to the strategy of the Department of Livestock Development at 87 percent,
3. Model of Buddhadhamma integration for work performance effectiveness according to the strategy of the Department of Livestock Development was found that Buddhadhamma, Suppurisadhamma 7 affected the work performance effectiveness by passing the criteria of every statistics used to analyze the data These indicated that the statistical values were consistent with the model of Buddhadhamma integration for work performance effectiveness according to the strategy of the Department of Livestock Development and according to the set hypotheses developed by the researcher and consistent with the set empirical data that were set for the research hypotheses.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|