โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษHuman Resource Development of Sainoi Sub-district Administrative Organization in Sainoi District Nonthaburi Province
  • ผู้วิจัยพระมหาบัณฑิตย์ อิทฺธิยาวุโธ (ไตรแก้ว)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อนุวัต กระสังข์
  • วันสำเร็จการศึกษา08/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47439
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 14

บทคัดย่อภาษาไทย

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์องค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คน โดยวิธีการสุ่มแบชั้นภูมิ จากประชากรจำนวน 147 คน ซึ่งเป็นบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.829 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า

             1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X bar= 3.80, S.D. = 0.46) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X bar= 3.72, S.D. = 0.38) และระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อยอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X bar= 4.01, S.D. = 0.35)

             2. ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีองค์ประกอบคือ การฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา มีอิทธิพลร่วมกันต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปร ได้ร้อยและ 61.20 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 1 ปัจจัยไตรสิกขา มีองค์ประกอบคือ ด้านศีล (การพัฒนาด้านศีล) ด้านสมาธิ (การพัฒนาด้านสมาธิ) ด้านปัญญา (การพัฒนาด้านปัญญา) มีอิทธิพลร่วมกันต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 83.80 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 2 ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และปัจจัยไตรสิกขา มีอิทธิพลร่วมกันต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรผันของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ได้ถึงร้อยละ

             3. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อยอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ เวลาในการพัฒนาบุคลากรไม่เพียงพอ บุคลากรได้รับการพัฒนายังไม่ครอบคลุมทุกฝ่าย ขาดการจัดสรรทุนการศึกษาสำหรับบุคลากร บุคลากรมีพื้นฐานความรู้ไม่เท่ากัน ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ขาดการประยุกต์กิจกรรมการพัฒนาคุณธรรมให้บุคลากรทุกศาสนาเข้าร่วมได้ บุคลากรขาดแรงจูงใจการการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อยอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ ควรมีการจัดสรรเวลาในการพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสม ควรกำหนดให้ทุกฝ่ายเข้ารับการพัฒนาอย่างทั่วถึง ควรมีการจัดสรรทุนสำหรับการศึกษาของบุคลากร ควรพัฒนาบุคลากรโดยเริ่มจากการปรับพื้นฐานความรู้ให้เท่าเทียมกัน ควรพัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรมจริยธรรมโดยประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ควรมีการประยุกต์กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรตามหลักไตรสิกขาโดยให้บุคลากรทุกศาสนาเข้าร่วมกิจกรรมได้ ควรสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรสนใจและใส่ใจในการพัฒนาความรู้ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรม

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

      The objectives of this research were: 1) to study level of human resource development of Sainoi sub-district administrative organization in Sainoi district Nonthaburi province, 2) to study the factors affecting to the human resource development of Sainoi sub-district administrative organization in Sainoi district Nonthaburi province and 3) to study the problems and obstacles of human resource development of Sainoi sub-district administrative organization in Sainoi district Nonthaburi province. This research was mixed method research. The quantitative research conducted by studying 108 samples which selected by stratified random sampling from 147 populations who were the personnel of Sainoi sub-district administrative organization. The tool used for data collection was 5 rating scales questioner with the reliability at 0.829. The statistic used Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Pearson’s Correlation and Multiple Regression Stepwise. The qualitative research conducted by in-depth interviewing with 9 key informants and analyzed the data by using content analysis.

              The research findings were as follows:

              1. The human resource development in overall was at high level (X bar= 3.80, S.D. = 0.46), the human resource develop according to Sikkhā in overall was at high level (X bar= 3.72, S.D. = 0.38) and the human resource development of Sainoi sub-district administrative organization in Sainoi district Nonthaburi province in overall was at high level (X bar= 4.01, S.D. = 0.35).

 

              2. The factors of human resource development included training, education and development affected to the human resource development of Sainoi sub-district administrative organization in Sainoi district Nonthaburi province at the level of statistical significance 0.01 and can together explain the variations up to 61.20% accepted first hypothesis. The factors of Sikkhā included Sīla Smadhi and Paññ, affected to the human resource development of Sainoi sub-district administrative organization in Sainoi district Nonthaburi province at the level of statistical significance 0.01 and can together explain the variations up to 83.80% accepted second hypothesis. The factors of human resource development and Sikkhā affected to the human resource development of Sainoi sub-district administrative organization in Sainoi district Nonthaburi province at the level of statistical significance 0.01 and can together explain the variations up to 90.40%.

              3. The human resource development of Sainoi sub-district administrative organization in Sainoi district Nonthaburi province were; problems and obstacles included not enough time to develop personnel, personnel have not been developed to cover all department, lack of scholarship allocation for personnel, personnel have different knowledge base, lack of personnel with knowledge and ability to develop morals and ethics, lack of application of moral development activities for personnel of all religions to participate and personnel lack the motivation for moral and ethical development, the approaches for human resource development of Sainoi sub-district administrative organization in Sainoi district Nonthaburi province include the time should be allocate for personnel development appropriately, all personnel should require to participate in the development thoroughly, funds should be allocated for personnel education, personnel should be developed starting from equalizing the knowledge base, moral and ethics personnel should be developed in coordination with relevant external organization and there should be an application of personnel development activities according to the Sikkhā by allowing personnel of all religions to participate in the activities.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ