โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก ตามหลักอิทธิบาท 4
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEfficiency on Administration and Management at phitsanulok Governor’s Office with four Iddhipadas
  • ผู้วิจัยนางกัญก์วฬาภรณ์ กลิ่นนิ่มนวล
  • ที่ปรึกษา 1ดร.พิเชฐ ทั่งโต
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  • ที่ปรึกษา 3ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
  • วันสำเร็จการศึกษา26/03/2011
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47504
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 373

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานจังหวัดพิษณุโลกตามหลักอิทธิบาท 4 ตามทัศนะของบุคลากร (2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของบุคลากรต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานจังหวัดพิษณุโลกตามหลักอิทธิบาท 4 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2553 ใช้การสุ่มแบบเจาะจงได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance)

             ผลการวิจัยพบว่า

           1. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานจังหวัดพิษณุโลกตามหลักอิทธิบาท 4 ตามทัศนะของบุคลากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านฉันทะ อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.26) ส่วนด้านวิริยะ จิตตะ และวิมังสา อยู่ในระดับมาก

              2. ผลการเปรียบเทียบทัศนะของบุคลากรต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานจังหวัดพิษณุโลกตามหลักอิทธิบาท 4 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากร ผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และรายได้ ต่างกันมีทัศนะต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานจังหวัดพิษณุโลกตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรที่มีเพศต่างกันมีทัศนะต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานจังหวัดพิษณุโลกตามหลัก อิทธิบาท 4 ด้านวิมังสา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             3. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก คือ บุคลากรควรมีความต้องการใฝ่ใจรักที่จะปฏิบัติงานอยู่เสมอปรารถนาที่จะปฏิบัติงานให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป มีความขยัน หมั่นประกอบการงานด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ท้อถอย ต้องตั้งจิตรับรู้ในภารกิจที่ได้รับมอบหมายโดยปฏิบัติงานด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่งานที่ปฏิบัติอย่างแท้จริง และหมั่นใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญ ตรวจตราหาเหตุผล ตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในงานนั้นๆ ที่สำคัญต้องรู้จักการวางแผนงาน วัดผลและคิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุงงานให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              This research study aims to (1) examine the efficiency on administration and management at Phitsanuok Governor’s Office according to its staff’s attitudes on four Iddhipadas (Path of Accomplishment); (2) compare those attitudes with such efficiency classified by personal factors; and (3) investigate ways of applying four Iddhipadas to develop the efficiency of the administration at Phitsanuok Governor’s Office. The study  was conducted by survey research methodology, and the subjects were the staff working at the Office in 2010. The purposive sampling was applied to gain 122 subjects.The research instruments were a questionnaire designed by the researcher with the reliability at .96 throughout the study. The analysis was taken by SPSS Program to find frequency, percentage, average, standard deviation, T-Test and one-way analysis of variance. According to the study, it was found that:

         1. The efficiency on administration and management at Phitsanuok Governor’s Office according to its staff’s attitudes on four Iddhipadas was generally at the high level ( = 4.19). When considered differently, it was found that Chanda (Aspiration) was the highest ( = 4.26); Viriya (Exertion), Citta (Thoughtfulness) and Vimamsa (Examination) were also at high level.

             2. Regarding the comparison of the staff’s attitudes on four Iddhipadas with the administrative and management efficiency at Phitsanuok Governor’s Office classified by personal factors, the data showed that the staff who had different gender, age, education, position and income, held different attitudes. Nevertheless, in general, their attitudes were not much different; this did not follow the research hypothesis. When considered differently, it was found that the staff with different genders had the statistical significance at .05.

              3. In conclusion, the application of four Iddhipadas to develop the efficiency of the administration at Phitsanuok Governor’s Office could be gained by the staff who had an aspiration or a will to work regularly and desired to make their work more and more efficient. This also included their diligence, effort, strength, endurance, concerned and persistence. They should also realize their assigned duty by working with thoughtfulness, attention and concentration, including sincere devotion. Finally, they should apply their wisdom to consider, reasoning and examine the weaknesses in each work along with well-planned strategy, evaluation and improvement.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ