-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAdministration in Accordance With Good Governance of Phrae Municipality, Phrae Province
- ผู้วิจัยพระปิยวัฒน์ ปิยสีโล (จักร์แต)
- ที่ปรึกษา 1ดร.พิเชฐ ทั่งโต
- ที่ปรึกษา 2พระมหาบุญเลิศ อินทปญฺโญ, ผศ.
- ที่ปรึกษา 3พล.ต.ดร.วีระ วงศ์สรรค์
- วันสำเร็จการศึกษา27/03/2011
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47516
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 433
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรและประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรและประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลเมืองแพร่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่บุคลากรและประชาชน บุคลากรจำนวน 201 คนในเทศบาลเมืองแพร่ และประชาชน 377 คนภายในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองแพร่ ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่าและแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานภาพส่วนบุคคล ของผู้ตอบแบบสอบถาม บุคลากรส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 55.2 มีอายุ 51-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.3 มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 55.2 มีตำแหน่งกองการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 36.8 มีประสบการณ์ทำงาน 16-20ปี คิดเป็นร้อยละ 23.9 และมีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 65.2
2. ความคิดเห็นของบุคลากรและประชาชนที่มีการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนประชาชน พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
3. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า บุคลากรและประชาชน มีความคิดเห็นว่าการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า หลักความรับผิดชอบมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน, หลักคุณธรรมและหลักความโปร่งใสมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนหลักนิติธรรม, หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า พบว่าบุคลากรและประชาชนมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ บุคลากรผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ ซึ่งได้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับตัวผู้บริหารและคณะผู้บริหารมากกว่าองค์กรและมีผลในภาพรวมทั้ง 6 หลักอยู่ในระดับความแตกต่างเป็นส่วนใหญ่ หากแต่ยังคงมีบุคลากรและประชาชนเป็นบางส่วนที่ยังมีความคิดเห็นว่าผู้บริหารมีความไม่เป็นกลางทางด้านการบังคับบัญชา ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน การสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาให้ได้เลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง รวมทั้งการไม่ค่อยยอมรับฟังความคิดเห็นของพนักงานชั้นล่าง อุปกรณ์ในการทำงานที่มีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน การจัดบุคลากรได้ไม่ค่อยเหมาะสมกับงาน หรือการจัดให้ทำงานมากซับซ้อนจนเกินไปจนทำให้งานที่ทำนั้นเกิดความล่าช้าและผิดพลาดได้ง่าย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research aims three kinds: i) to investigate the opinions of staffs and people towards administration according to good governance of the Phrae municipality; ii) to compare the opinions between staffs and people towards administration according to good governance of the Phrae municipality; and iii) to study the problems and guidelines for the development of administration in accordance with good governance of Phare Municipality. The sample includes 201 staffs of Phare Municipality and 377 people within the area of Phare Municipality, being drawn by Cluster sampling technique. The tool used to collect data was questionnaire. The statistics used were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by t-test and one-way analysis of variance (ANOVA)
The findings of this research were concluded as follows:
1. Most of respondents was female, representing 55.2 per cent, aged 51-60 years representing 39.3 percent. The majority of them completed graduate bachelor degree education, representing 55.2 percent, holding position in Education Division, 36.8 per cent. They obtained 16-20 years working experiences, representing 23.9 percent and were married, 65.2 per cent.
2. The overall opinions of staffs and people towards administration according to good governance of the Phrae municipality was found at the medium level. When considering into each aspect of good governance, it was also ranked at the medium levels in all aspects.
3. With regard to the comparison of the opinions between staffs and people towards administration according to good governance of the Phrae municipality, it was found that there was statistical significant difference of the overall opinions between staffs and people towards administration according to good governance of the Phrae municipality at 0.05 level. When considering into each aspect, it was noted that responsibility one was not found significant difference, the moral principle and transparency were found statistical significant at 0.05 level, whereas, the rule of law, the principles involved and the principle of cost-effective found statistically significant difference at the 0.01 level.
4. Regarding to the problems and guideline for the development of of administration in accordance with good governance of Phare Municipality, the study indicated that most personnel respondents had comments on the problems of good governance principles of Phrae Municipality were responded about the administrators and its management team more that of organization and had different opinions in all six aspects of good governance. But there were some personnel and people expressed their comments that the administrators were not neutral in command, evaluation of performance, support subordinates getting promoted including not to hear the opinions of subordinates, office equipment not enough to work, the staffing function is not suitable or to provided complicated work causing delays and faults easily.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|