-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาคุณค่าและคติธรรมที่เกิดจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Values and Buddhist Dhamma from the Bodhi Tree in Theravada Buddhism
- ผู้วิจัยพระเจริญชาโอมสาธุ ชุตินฺธโร (ศรีไดสองฟ้า)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.โยตะ ชัยวรมันกุล
- วันสำเร็จการศึกษา08/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/476
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2
- จำนวนผู้เข้าชม 10
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาคุณค่าและคติธรรมที่เกิดจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท” ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ ประกอบด้วย เพื่อศึกษาต้นพระศรีมหาโพธิ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อต้องการทราบถึงคุณค่าที่เกิดขึ้นจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ เพื่อต้องการทราบถึงคติธรรมที่เกิดขึ้นจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท
การทำวิจัยในครั้งนี้ผู้ทำวิจัยได้มุ่งศึกษาถึง“การศึกษาคุณค่าและคติธรรมที่เกิดจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท” ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการวิจัยแบบ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะส่งผลให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการทำวิจัย โดยกำหนดรูปแบบการดำเนินการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) โดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน/รูปโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ วิเคราะห์ลักษณะปัญหาจากเอกสาร จากการสัมภาษณ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวกับประกอบด้วย 1) รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) จัดลำดับข้อมูล 3) จากการสัมภาษณ์ และ 4) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น 5) สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษาพบว่า
1) การศึกษาคติธรรมที่เกี่ยวข้องกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ พบว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ไม่ใช่ชื่อพันธุ์ต้นไม้ เดิมต้นไม้นี้ชื่อว่า”อัสสัตถะ” เป็นต้นไม้ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอาศัยเป็นที่ตรัสรู้ “โพธิ์” มีความหมายว่า ความตรัสรู้ ความรู้ ความตื่น หรือ ความเบิกบาน จึงได้ชื่อว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ พบว่า ต้นสาละในตอนประสูติ และต้นมะม่วงตอนปรินิพพาน ในตอนการแสดงยมกปาฏิหาริย์และที่สำคัญที่สุดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสหชาติที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์
2) ศึกษาคติธรรมที่เกี่ยวข้องกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ในด้านสัญลักษณ์ พบว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์มีความเกี่ยวข้องต่อพระพุทธศาสนา คือ เป็นต้นไม้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งในวันตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เปรียบดังตัวแทนพระพุทธเจ้าและเป็นสหชาติทั้ง 7 ต้นกำเนิดแห่งพระพุทธศาสนา คือ ต้นโพธิ์ ที่พุทธคยา นิยมปลูกต้นในวัดต่าง ๆ ตลอดถึงในพุทธสถานอีกมากมาย ทำให้รู้จักฝึกอบรมตนให้ดีแล้วก็ไม่มีสิ่ง ใดที่เทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเหล่านั้นจะทำให้ได้เหมือนดังที่กรรมดีและจิตปัญญาของมนุษย์เอง
3) ศึกษาคติธรรมที่เกี่ยวข้องกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ในด้านวัฒนธรรม พบว่า มนุษย์โดยธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะอยู่ร่วมกันและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอันเดียวกัน เริ่มจากสังคมเล็กไปสู่สังคมใหญ่ ดังนั้น การรักษาสัมพันธไมตรีให้ดำรงอยู่และดำเนินไป ได้ด้วยดีย่อมเป็นที่พึงประสงค์ พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการเจริญสัมพันธไมตรีต่าง ๆ โดยเฉพาะหลักการทูตหรือหลักการเข้าหาบุคคลที่ควรเข้าหา ดังนั้น หลักการทูตและหลักกัลยาณมิตร เหล่านี้เป็นแนวทางปฏิบัติของพระพุทธศาสนาที่ต้องการ
4) ศึกษาคติธรรมที่เกี่ยวข้องกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ในด้านประเพณี พบว่า 1) ประยุกต์ในการปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุของพุทธศาสนิกชน เพื่อสร้างเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวพุทธและสังคมอย่างยั่งยืน 2) ประเพณีไม้ค้ำต้นศรีมหาโพธิ์ยังคงปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของพิธีกรรมในรูปแบบของวิธีคิด ๓) ประเพณีที่ถือว่าเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้มีการจัดงานประเพณีนี้ขึ้นมามีการเชื่อมโยงกับ สังคหวัตถุ 4
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
“A Study of Values and Buddhist Dhamma from the Bodhi Tree in Theravada Buddhism” according to its objectives, they were to study the Bodhi tree in Theravada Buddhism, to know the values arisen from the Bodhi tree and to recognize the moral lessons of Bodhi tree in Theravada Buddhism.
The researcher has focused on the study of values and moral lessons arisen from the Bodhi tree in Theravada Buddhism. Its research methodology was a qualitative approach through using in-depth interview to gain data for achieving its objectives. It procedures were to conduct in-depth interview with 10 purposive key informants. The analysis was based on descriptive to impose on documents, data from interview and related researches about 1) collecting data from related documents, 2) ordering data, 3) data form interviews, 4) analyzing the collected data contents and 5) processing synopsis, discussion and recommendations.
The results were:
1). The study of moral lessons related to the Bodhi tree revealed that the tree was not its species but it was originally called "Assattha", meaning the Lord Buddha inhabited as a place for enlightenment. Bodhi meant enlightenment, knowledge, awakening or joyfulness and thus it was called Bodhi tree. It was also found that the Sala tree/Shorea robusta on His birthplace and the mango tree on His Nibbāna, in Yamaka Miracles and the most important was the Bodhi tree counted as one of the things born at the same time as the Lord Buddha and had relationship with human life.
2) Studying the moral teachings by symbolism of the Bodhi tree in relation to Buddhism, it was the tree where the Lord Buddha sat on His enlightenment day. The Anuttara Sammāsambodhiñāna represented the Lord Buddha and His seven placenta as the origin of Buddhism and it was the Bodhi tree located in Bodhgaya where it was popular to plant trees in various temples and various the Buddhist sites. It helped remind self-cultivation to be good and none where deva and holies could provide as good deeds and human wisdom mind.
3). Studying the moral lessons related to the Bodhi tree by culture revealed that human beings by nature tended to coexist and live in common societies. It started from a small society to a big one. Therefore, to well foster and continue friendship was admired by Buddhism and prioritized cultivating the relationship especially the diplomatic principle or the principle of approaching the person who deserved it. As such, all these diplomatic and the Kalyāṇamittatā principles were the desired Buddhist course of practices.
4). Studying the moral teachings related to the Bodhi tree in sense of traditions revealed that 1) it was to apply the Buddhist Puññakariyā-vatthu principles to create a good Buddhist culture and a sustainable society. 2) The traditional stilt of the Bodhi tree has been continued until today but it ritual form has been changed in the form of thinking. 3) The traditional celebration counted to be organized in the first one in Thailand has been linked to the 4 Sangahavatthu.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6250205008 | 6250205008 | 11.38 MiB | 2 | 11 มิ.ย. 2564 เวลา 08:15 น. | ดาวน์โหลด |