-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Integration for Foreign Laborers Welfares Management in Samutsakorn Province
- ผู้วิจัยนายนรา บรรลิขิตกุล
- ที่ปรึกษา 1ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา28/03/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47689
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 167
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าว 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าว 3. นำเสนอรูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูปหรือคน จากกลุ่มนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา กลุ่มนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ กลุ่มนักวิชาการด้านแรงงาน กลุ่มผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐด้านแรงงาน กลุ่มองค์กรแรงงานหรือสหภาพแรงงานหรือ NGO กลุ่มตัวแทนคนงานหรือหัวหน้างาน ด้วยการเลือกแบบเจาะจงตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เหมาะสม ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ IOC เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปของการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ทราบจำนวนของแรงงานชัดเจน เป็นแรงงานที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ทำงานได้ทุกประเภท แต่มีจุดอ่อน ด้านแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลง MOU คือ นายจ้างต้องคอยบริหารจัดการเรื่องแรงงานที่ครบอายุตามสัญญา 2 ปี ใช้เวลาดำเนินการนานและมีขั้นตอนมาก โอกาสที่เป็นช่องทางส่งเสริมการดำเนินงานนี้ คือ แรงงานต่างด้าวมีความมั่นคงในการเป็นอยู่ และพยายามเรียนรู้ภาษา แต่อุปสรรค คือ ขั้นตอนการนำแรงงานเข้ามาทำงานมีความซับซ้อน ก่อให้เกิดความล่าช้า กลายเป็นช่องทางของระบบนายหน้าที่มุ่งหาผลประโยชน์
2. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาครประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปตาม MOU ได้แก่ จัดระบบแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู่แรงงานถูกกฎหมาย มีปัจจัย 4 ในการดำรงชีพพื้นฐานอย่างเหมาะสม ตั้งกองทุนทดแทน กองทุนรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย การจัดระบบแรงงานต่างด้าวเพื่อควบคุมการหลบหนีเข้าเมือง ได้แก่ ตั้งหน่วยควบคุมดูแล เป็นโซนนิ่ง ปฏิบัติอย่างยุติธรรม เน้นความถูกต้องตามกฎหมาย การป้องกันแรงงานต่างด้าวล้นเมืองและสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน ได้แก่ ตั้งคณะกรรมการที่ทำงาน มีการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระ เน้นหลักสิทธิมนุษยชน การพัฒนาประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองแรงงานต่างด้าว ได้แก่ พัฒนาการจัดสวัสดิการในสถานประกอบการอย่างเหมาะสม สร้างความเข้าใจเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับกลุ่มแรงงานต่างด้าว
3. รูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารสวัสดิการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร โดยประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งประกอบด้วย ทาน (โอบอ้อมอารี) ได้แก่ ให้โอกาสการทำงาน ให้สวัสดิการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ปิยวาจา (วจีไพเราะ) ได้แก่ สื่อสารด้วยความจริงใจ ใช้คำพูดถ้อยคำสุภาพและมีเหตุผล อัตถจริยา (สงเคราะห์ผู้คน) ได้แก่ รู้จักการเสียสละไม่เห็นแก่ตัว เคารพสิทธิของกันและกัน ปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวเท่าเทียมกับคนไทย สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และสมานัตตตา (วางตนสม่ำเสมอ) ได้แก่ ปฏิบัติตนเสมอต้นเสมอปลาย รักษาระเบียบวินัย คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน เพื่อนำสู่เป้าหมายของการบริหารจัดการสวัสดิการแรงงานต่างด้าว ประกอบด้วย ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ได้แก่ สร้างความมั่นคงในการเป็นอยู่ เพิ่มค่าตอบแทนทางทักษะพัฒนาฝีมือที่แรงงาน จัดให้แรงงานเป็นสมาชิกกองทุนเงินทดแทน สภาพคุณภาพชีวิตและการทำงาน ได้แก่ จัดให้มีที่พักอาศัยอย่างถูกลักษณะ ตรวจวัดความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงาน ความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน ได้แก่ ให้โอกาสในการพัฒนาจากการเรียนในงานที่ทำ ฝึกพัฒนาฝีมือแรงงาน โอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของบุคคล ได้แก่ พัฒนาฝีมือการทำงานได้ตามมาตรฐานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้การเติบโตในตำแหน่งงานหน้าที่การงาน การบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ได้แก่ สร้างความเข้าใจระหว่างนายจ้างและแรงงาน ให้การยอมรับและความสัมพันธ์ทางสังคม สิทธิส่วนบุคคล ได้แก่ ให้ความคุ้มครองตามขอบเขตที่กฎหมายให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ได้แก่ จัดให้มีการยืดหยุ่นเวลาเข้า-ออกงานให้กับแรงงาน มีวิถีและวัฒนธรรมแบบชาวพุทธและคุณภาพชีวิตด้านสังคม ได้แก่ จัดให้มีระบบที่เข้ากับบริบทสังคมในที่นั้น จัดให้มีเวทีหรือสถานที่แสดงออกทางศิลปะวัฒนธรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the general conditions of foreign laborers’ welfares management, 2. To study factors affecting the foreign laborers’ welfares management and 3. To propose the model of Buddhadhamma integration for foreign laborers’ welfares management in Samutsakorn Province, conducted by the qualitative research method. Data were collected from 26 key informants, purposefully selected from academicians in Buddhism, Public Administration, Labors, entrepreneur or administrators, Labor Officials and Labor Organizations, Labor Unions or NGO, Laborer’s representatives or Labor headmen, who can be appropriate representatives with structured in-depth-interview scripts that had IOC total value equal to 1.00 and from 9 participants in focus group discussion. Data were analyzed by content descriptive interpretation
Findings were as follows:
1. The general conditions of foreign laborers’ welfares management in Samutsakorn Province were to know the exact numbers of foreign laborers. The labors were eager and energetic workers and could do any kinds of works. The weak points were that the foreign laborers according to MOU, the employers had to manage the laborers for two years contact that took time and had many complicate steps. Opportunity was that foreign laborers had stable livelihood and tried to learn Thai language. Threat, the steps of foreign laborers importing were complicated causing delay and brokers system.
2. Factors affecting the foreign laborers welfares management in Samutsakorn Province consisted of the strategies of foreign laborers management according to MOU, that was lawful foreign laborers management with 4 appropriate factors for living, compensation fund, health care fund, system of foreign laborers management to prevent illegal migration, control unit set up by zoning, justful operation by the law, prevention of overpopulated foreign laborers, creating foreign laborers protection networks consisting of working committee, checking by independent agency emphasizing human rights. Development of operators’ efficiency of foreign laborers protection consisted of appropriate in working place welfares creating good understanding among operators and foreign laborers groups.
3. The model of Buddhadhamma integration for foreign laborers’ welfares Management in Samutsakorn Province by applying Sanghahavattu 4 consisting of Dana, giving, by giving a chance to work, giving lawful welfares. Piyavaja, sweet words, communication with sincerity, using polite and reasonable words. Attachariya, helping others, sacrifice for others without selfishness, respecting one another’s rights, treating foreign laborers the same as Thai laborers, creating good relationship with each other. Samanattata, equal treatment with equally well behavior, rules and regulations keeping, respecting human rights, dignity and human rights to pursue the target of foreign laborers welfares management, consisting of sufficient and fair compensations that was to create sustainable livelihood, increasing compensation for skill labors, allowing foreign laborers to be members of compensation fund. Working condition standard consisted of hygienic dwellings, risk checking from working conditions. Security and progress in working consisted of the chance for learning skill on the job training to become skill laborers, the chances to develop individual’s competency according to the skill standard of the Department of skill Labor, giving chances to progress in the career paths. Social integration or working together consisted of employers and laborers relationship, acceptance and social relations. Individual rights consisted of protection according to the laws, and human rights. Balances between private life and working life consisted of flexible working hours, Buddhist way of life. And social life consisted of compatible system that fitted in the local social context and setting up the art and cultural expression arena.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|