-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบลต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ : กรณีศึกษา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษOpinions toward the Administration of the Sub-District Administrative Organization in Accordance with Sangahavattu IV : A case study of Maesarieng District, Maehongson Province
- ผู้วิจัยธิดารัตน์ ศิละวรรณโณ
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
- วันสำเร็จการศึกษา22/03/2011
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47757
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 570
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ตามความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบล (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบลเกี่ยวกับการบริหารงานองค์บริหารส่วนตำบล อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนตามหลักสังคหวัตถุ 4 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.913 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
1. พนักงานส่วนบุคคลมีความคิดเห็นว่าองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พนักงานส่วนตำบลมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในด้านทาน ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา อยู่ในระดับมากทุกด้าน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63, 3.59, 3.56, 3.55 ตามลำดับ)
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบลต่อการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า พนักงานส่วนตำบลที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารตามหลักสังคหวัตถุ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนพนักงานส่วนตำบลที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย
3. ข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่เห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการปลูกจิตสำนึกในการแบ่งปัน ช่วยเหลือกัน เพื่อให้เกิดการร่วมมือกันทำงานที่ดีขึ้น และพนักงานส่วนตำบลควรปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การพูดจาทักทายกันด้วยความสุภาพอ่อนหวาน และหลีกเลี่ยงคำพูดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งและทำร้ายกัน มีความสามัคคี ให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ควรมีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม ปฏิบัติกับทุกๆคนด้วยความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ ในการตัดสินปัญหาต้องเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามเหตุและผล ไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง มีหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานในการพิจารณาเลื่อนขั้นและลงโทษอย่างชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ และผู้บริหารควรใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนามาช่วยในการบริหารงานภายในองค์กรให้มากขึ้น เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรที่มีคุณภาพสามารถช่วยเหลือประชนชนได้อย่างแท้จริง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The main objectives of this research are : i) to study the administration of Sub-District of Administrative Organization in accordance with Sangahavattu IV as viewed by staffs; ii) to compare the opinions towards the administration of Sub-District Administrative Organization in accordance with Sangahavattu IV classified by personal factors; and iii) to propose the suggestions of staffs concerning application of Sangahavattu IV to the administration of Maesarieng District, Maehongson province. This study employed survey research. The samples were 133 staffs who work in SubDistrict Administrative Organization, Maesarieng district, Maehongson province selected by random sampling technique. The tool for data collection was questionnaire with the reliability value equal to 0.913.The statistical techniques for data analysis were frequency, percentage, standardized derivation, t-test and one-way analysis of variance (one-way ANOVA). The Least Significant Difference (LSD) was used for testing differences of the paired means.
The results of this study were concluded as follows:
The overall staffs’ opinions that the Sub-District Administrative Organization in Maesarieng District, Maehongson province in accordance with Sangahavattu IV was at good level ( X = 3.58), When taking aspect of Sangahavatthu IV into consideration, it was note at a high level as follows : Dana ( X = 3.63), Piyavaca ( X = 3.59), Attacariya ( X = 3.56), and Samanattata ( X = 3.55), respectively.
From the results of the comparison of the opinion towards the administration of Sub-district Administrative Organization in Maesarieng District, Maehongson province in accordance with Sangahavattu IV as viewed by staffs, classified by personal factors, age was found statistically different at .01 level of significance. Sex, levels of education and working experience of Staffs were found no statistically significant differences, rejecting the formulated hypotheses.
Recommendations for administration of Sub-District Administrative Organization were found that there should promote the conscious mind of sharing and helping each other. To achieve better collaboration and staffs should perform their duties to full capacity by taking into account the collective interests. They should greet each other with polite words. Do not gossip in the workplace and avoid words that cause conflict and hurt others. To assist to colleagues with their upmost capability. There should have been eager to help others and society. Treat everyone with equality, without discrimination. The problem must be settled by pure reason and justice, no personal feelings involved. There are standard rules for the promotion and punishment can be checked explicitly. Administrators should use the principles of Buddhism to help in the management of the organization by allowing district Administrative Organization to be an organization qualified to truly help people.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|