โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิภาพการให้บริการจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษWaste Management Service Efficiency of Thamai Town Municipality, Thamai District, Chanthaburi Province
  • ผู้วิจัยพระใบฎีกาสุทธิพันธ์ จารุวณฺโณ (พร้อมพวก)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อนุวัต กระสังข์
  • วันสำเร็จการศึกษา08/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47763
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 30

บทคัดย่อภาษาไทย

          สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการให้บริการจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์หลักพุทธธรรมกับประสิทธิภาพการให้บริการจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อประสิทธิภาพการให้บริการจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ใช้ระเบียบวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองท่าใหม่ จำนวน 385 คน ได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับประสิทธิภาพการให้บริการจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบบเจาะจง จำนวน 9 ท่าน ด้วยวิธีการการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. ระดับประสิทธิภาพการให้บริการจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ด้านการให้บริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar=3.85, S.D. =.1.037) โดยเมื่อจำแนกเป็นรายข้อจะพบว่า 1. ด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค ความคิดเห็นในระดับมาก (X bar=3.93, S.D. =1.048) 2.ด้านการให้บริการอย่างทันต่อเวลา มีความคิดเห็นในระดับมาก (X bar=3.91, S.D. =1.005) 3. ด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ มีความคิดเห็นระดับมาก (X bar=3.80, S.D. =1.104) 4. ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง มีความคิดเห็นในระดับมาก (X bar= 3.82, S.D. =1.012) 5. ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า มีความคิดเห็นในระดับมาก (X bar=3.83, S.D. =1.016)

          2. ความสัมพันธ์หลักพุทธธรรมกับการให้บริการจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรม สังคหวัตถุ 4 กับประสิทธิภาพการให้บริการจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก (R=.919**) ด้านทาน โดยภาพรวม  มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก (R=.887**) ด้านด้านปิยวาจา โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก (R=.902**) ด้านอัตถจริยา โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก  (R=.891**) ด้านสมานัตตตา โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก (R=.887**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 00.1 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

           3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อประสิทธิภาพการให้บริการจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีประกอบด้วย เทศบาลเมืองท่าใหม่มีขยะเกิดขึ้นอย่างมากหลายด้านในการให้บริการประชาชน การบริการจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องการบริการจัดการกับปัญหาต่างๆ เช่น จำนวนถังขยะที่ เทศบาลจัดให้กับประชาชนยังมีไม่เพียงพอต่อจำนวนครัวเรือนในชุมชนที่เพิ่มมากขึ้นมักพบปริมาณ ขยะล้นถังในวันหยุดของพนักงาน จุดที่จัดภาชนะสำหรับรองรับขยะยังมีน้อยเกินไปทำเกิดกลิ่นเหม็นและขยะเกลื่อนกลาด ชุมชนขาดความร่วมมือกันดูแลรักษาความสะอาด การบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองท่าใหม่ เทศบาลควรเพิ่มจำนวนถังขยะให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน รวมถึงควรแยกสีของถังขยะตามประเภทของขยะด้วยด้านการให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ เทศบาลควรจัดทำโครงการอบรมการคัดแยกขยะ เป็นประจำทุกปี รวมถึงให้รางวัลชุมชนที่มีการคัดแยกขยะได้ถูกต้องเหมาะสม ด้านการประชาสัมพันธ์ เทศบาลควรจัดทำเทศบาลสัญจรออกพบปะประชาชน เพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังปัญหาข้อร้องเรียนรวมถึงตอบปัญหาข้อสงสัยของประชาชน

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          Objectives of this research paper were: 1. To study level of waste management service efficiency of Thamai Town Municipality, Thamai District, Chanthaburi Province, 2. To study the correlation of Buddhadhamma  and waste management service efficiency of Thamai Town Municipality, Thamai District, Chanthaburi Province and 3. To study problems, obstacles and recommendations for waste management service efficiency of Thamai Town Municipality, Thamai District, Chanthaburi Province.

              Methodology of this research paper was mixed methods: The quantitative method using survey method to collect data from 385 samples by random sampling with Taro Yamane Formula. The statistics used to  analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, S.D. For the correlations of Buddha-dhamma and waste management service efficiency of Thamai Town Municipality, Thamai District, Chanthaburi Province was analyzed by Pearson Correlation Coefficient. The qualitative method, data were collected from 9 key informants by in-depth-interviewing and analyzed by content descriptive interpretation to support quantitative data

              Findings of this research were as follows:

          1. The levels of overall opinions on waste management service efficiency  of Thamai Town Municipality, Thamai District, Chanthaburi Province was at high level (X bar=3.85, S.D.= 1.037), Each aspect, 1) the impartial service was at high level (X bar=3.93, S.D.= 1.048), 2) timely service was at high level (X bar= 3.91, S.D.= 1.005), 3) sufficient service was at high (X bar=3.80, S.D.= 1.104), 4) consistency service was at high level (X bar=3.82, S.D. = 1.012) and progressive service was at high level (X bar= 3.83, S.D. = 1.016).

          2. The correlation of Buddha-dhamma (Sangahavatthu) and waste management service efficiency of Thamai Town Municipality, Thamai District, Chanthaburi Province had positive correlation at high level (R = 0.919**),  Dana – correlation was at high level (R = 0.887**), Piyavaca - correlation was at high level (R = 0.902**),  Attacariya - correlation was at high level (R = 0.891**) and Samanattata - correlation was at high level (R = 0.887**) with the statistic significant level at 0.01 and, therefore, the hypothesis was accepted.

              3. The problems, obstacles and recommendation for waste management service efficiency of Thamai Town Municipality, Thamai District, Chanthaburi Province consisted of waste in Thamai Town Municipality had been increased a lot more that had impact on public service, the limitation of waste management in various aspects such as the insufficient number of bins provided to the increased number of houses in the community, the overflow of waste on official holidays, insufficient of waste stations caused  bad smell and spread over of waste, lack of cooperation from community to keep clean. The waste management of Thamai Town Municipality should increase enough numbers of bins to meet  demand of community including the separation of different colors of bins and to provide knowledge on waste sorting. Thamai Town Municipality should have annual training project on waste sorting and gave rewards to community that performed appropriate waste sorting. On public relations, Thamai Town Municipality should roam out to meet community for public relations and to listen to claim and to answer any queries from community.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ