โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการขับเคลื่อนนโยบายด้านความเท่าเทียมทางเพศของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCausal Relationship Model the Policy Driving on Gender Equality of Ministry Social Development and Human Security
  • ผู้วิจัยชุณิภา เปิดโลกนิมิต
  • ที่ปรึกษา 1รศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
  • วันสำเร็จการศึกษา22/02/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47787
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 233

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนนโยบายด้านความเท่าเทียม ทางเพศของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิง สาเหตุการขับเคลื่อนโยบายด­านความเท่าเทียมทางเพศของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายด้านความเท่าเทียมทางเพศของกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้­แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.913 เก็บข้­อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้­ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย จำนวน 310 คน วิเคราะห์ข้­อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้­อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้­าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้­วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้­ให้ข้­อมูลสำคัญ จำนวน 14 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้­อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้­อมูล

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. การขับเคลื่อนนโยบายด้านความเท่าเทียมทางเพศของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยการศึกษาพบว่า ด้านการสื่อสารระหว่างองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านวัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านทรัพยากรนโยบาย และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

2.ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการขับเคลื่อนนโยบายด้­านความเท่าเทียมทางเพศของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า การเคลื่อนไหวทางสังคมมีอิทธิพล ทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมทำให­เกิดผลการขับเคลื่อนนโยบายด้านความเท่าเทียมทางเพศ นอกจากนี้การขับเคลื่อนนโยบายด้­านความเท่าเทียมทางเพศ เมื่อบูรณาการร่วมกับหลักสาราณีย ธรรม 6 (หลักในการอยู่ร่วมกัน) จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายด้­านความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างดี

๓. เพื่อนำเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายด้านความเท่าเทียมทางเพศของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าค่า p-value มีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.412 ค่าไค-สแควร์เท่ากับ 46.44 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 45 ค่าสัดส่วนไค-สแควร์ ( /df) เท่ากับ 1.032 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.93 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.032 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.010 มีขนาดตัวอย่างวิกฤติ (CN) เท่ากับ 458.76 แสดงให้เห็นว่าค่าสถิติความสอดคล้องการขับเคลื่อนนโยบายด้านความเท่าเทียมทางเพศของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เชิงสมมติฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This Research objective was 1. To Study the Social Movement on the Gender Equality Policy of Ministry Social Development and Human Security. 2. To Study Causal Relationship Model for Social Movement on the Gender Equality Policy of Ministry Social Development and Human Security. 3. To present the type of the Social Movement on the Gender Equality Policy of Ministry Social Development and Human Security. Mixed Methods Research was used in this research design. The quantitative research used questionnaires with reliability value at 0.913. The data were collected from 310 samples with Gender Diversity in Thailand. Analyzed by using Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Structural Equation Model and Confirmatory Factor Analysis. Data were collected from 14 key informants by in-depth interviews. The qualitative data were analyzed by descriptive interpretation and from 9 participants in focus group discussion to use data to validate the model after the data analysis.

Findings were as follow;

1. The overall policy driving on gender equality of the Ministry of Social Development and Human Security is at a high level. When considering each component was found that the overall Inter-Organizational Communication is at a high level, secondary is Policy Standards and Objectives, Characteristics of Lamenting Agencies, Policy Resources, and Economic, Social and Political Conditions.

2. Causal Relationship Model for Social Movement on the Gender Equality Policy of Ministry Social Development and Human Security was found that, the factor of Social Movement has a direct effect and indirect effect to the result of policy driving on gender equality of the Ministry of Social Development and Human Security. In addition, the policy driving on gender equality when integration with Saraniya dhamma will have an effect to result of policy driving on gender equality in every aspect.

3. To present the type of the policy driving on the Gender Equality Policy of Ministry Social Development and Human Security, the research was found that Causal Relationship Model have significance equal 0.142, Chi-square 46.44, degree of freedom 45, Relative Chi-Square 1.032, Goodness of Fit Index (GFI) 0.99, Adjust Goodness of Fit Index 0.93, Comparative Fit Index 1.00, Root Mean Square Error of Approximation 0.010, Critical N 458.76. The Statistic was shown that consistency Statistic policy driving on the Gender Equality Policy of Ministry Social Development and Human Security has model of fit following by hypothesis at significant level of 0.01

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ