-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการวัดที่ดีในจังหวัดชัยนาท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Good Management Model of Monastery in Chainat Province
- ผู้วิจัยพระปลัดวรเมศวร์ นาควโร (ยิ้มกรุง)
- ที่ปรึกษา 1พระสุธีวีรบัณฑิต
- ที่ปรึกษา 2เติมศักดิ์ ทองอินทร์
- วันสำเร็จการศึกษา31/03/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 844
- จำนวนผู้เข้าชม 750
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการวัดที่ดีในจังหวัดชัยนาท” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการวัดในจังหวัดชัยนาท 2) ศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการวัดที่ดีในจังหวัดชัยนาท 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการวัดที่ดีในจังหวัดชัยนาท
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 39 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและพรรณนาความ แล้วจึงสร้างรูปแบบเบื้องต้น ก่อนนำเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 รูปหรือคน ยืนยันรูปแบบอีกครั้งหนึ่งในการสนทนากลุ่มเฉพาะ และวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 162 ชุด กับกลุ่มตัวอย่างคือพระสงฆ์จังหวัดชัยนาท ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการวัดในจังหวัดชัยนาท พบว่า มีจุดแข็งคือ มีการบริหารจัดการเป็นเอกภาพภายใต้การปกครองคณะสงฆ์ของเจ้าคณะระดับต่างๆ เจ้าอาวาสเป็นผู้ปกครองสูงสุด มีความรู้เป็นอย่างดี ส่วนจุดอ่อนคือ มีพระภิกษุสามเณรจำนวนน้อย บางวัดมีเพียงเจ้าอาวาสเพียงรูปเดียว บางวัดมีแต่พระที่ชราภาพ ทำให้การบำรุงรักษาวัดไม่เป็นระเบียบ สกปรก รกร้าง โบราณสถานเกินการชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา โอกาสคือ จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดที่มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เป็นเมืองพระพุทธศาสนาที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มีพระเกจิ พระเถระที่มีคนนับถือจำนวนมาก มีศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับพระพุทธศาสนา และประชาชนมีวิถีการดำเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา อุปสรรคคือ จังหวัดชัยนาทมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม กระแสความนิยมของต่างประเทศเริ่มเข้ามาทำลายวัฒนธรรมอันดีงามของจังหวัด เด็กและเยาวชนขาดความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมเดิมๆที่ปู่ย่าตายายเคยทำเอาไว้เป็นแบบอย่าง มักเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมใหม่จนกลายเป็นสิ่งที่ผิดๆ
2. องค์ประกอบในการบริหารจัดการวัดที่ดีในจังหวัดชัยนาทนั้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 หลักการ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านบำรุงรักษาวัด จัดกิจการ และ ศาสนสมบัติ ประกอบด้วย 3 หลักการสำคัญ คือ หลักการที่ 1 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวัด หลักการที่ 2 พัฒนาวัดต้นแบบ อุทยานการศึกษาภายในวัด วัดพัฒนาตัวอย่าง หลักการที่ 3 จัดทำเครื่องมือในการเก็บรักษาศาสนสมบัติของวัดที่มีประสิทธิภาพ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการปกครองบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประกอบด้วย 3 หลักการสำคัญ คือ หลักการที่ 1 จัดตั้งสำนักงานเจ้าอาวาสแบบครบวงจร หลักการที่ 2 พัฒนาพระสงฆ์นักปกครอง หลักการที่ 3 คือ สร้างศาสนทายาทต้นแบบ องค์ประกอบที่ 3 ได้แก่ ด้านการศึกษาอบรมและสั่งสอน ประกอบด้วยหลักการสำคัญๆ 3 ด้านคือ หลักการที่ 1 จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี หลักการที่ 2 คือ ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต หลักการที่ 3 คือ พัฒนาอาจารย์รักท้องถิ่น องค์ประกอบที่ 4 คือ ด้านการให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล ประกอบด้วยหลักการสำคัญๆ 3 หลักการ คือ หลักการที่ 1 ได้แก่ การพัฒนาศาสนสถานให้สวยงามและมั่นคง หลักการที่ 2 คือ พัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการบริการ หลักการที่ 3 คือ สร้างมัคทายกน้อย
3. รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการวัดที่ดีในจังหวัดชัยนาท พบว่า มี 4 รูปแบบ คือ รูปแบบที่หนึ่ง ได้แก่ การพัฒนาวัดสู่องค์กรที่มีสมรรถนะ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ จัดทำแผนพัฒนาวัด ด้วยการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในการจัดทำแผนพัฒนาวัด แผนยุทธศาสตร์ จัดประชาพิจารณ์ และการถ่ายทอดแผนสู่ภาคปฏิบัติ การพัฒนาเครื่องมือบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ และพัฒนาวัดสู่เป้าหมาย ด้วยการพัฒนาวัดเป็นอุทยานการศึกษาภายในวัด วัดพัฒนาตัวอย่าง และพัฒนาวัดเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น รูปแบบที่สอง ได้แก่ การพัฒนาศาสนบุคคลที่ดีและมีคุณภาพ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ จัดตั้งสำนักงานภายในวัด เพิ่มช่องทางการติดต่อประสานงานกับชาวบ้านให้มากขึ้น สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ด้วยการคัดเลือกพระภิกษุสามเณรที่มีความรู้ความสามารถ พัฒนาพระภิกษุสามเณรให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น และสร้างศาสนทายาทที่ดี ด้วยการคัดเลือกศาสนทายาท อบรมศาสนาทายาท ให้การศึกษาที่ดี รูปแบบที่สาม ได้แก่ การพัฒนาการเรียนรู้คู่คุณธรรม ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ เครือข่ายโรงเรียนพระปริยัติธรรม ด้วยการเรียนร่วมที่ศูนย์ตำบลหรืออำเภอ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย สร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ สร้างแหล่งการเรียนรู้ เช่น ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการพัฒนาร่างกาย ศีลธรรม สังคม จิตใจ และปัญญา ส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ด้วยการพัฒนาผู้บริหารและครูมีคุณวุฒิและคุณธรรม และการสร้างเด็กและเยาวชนต้นแบบ ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมอย่างจริงจัง รูปแบบที่สี่ ได้แก่ การพัฒนาศาสนสถาน ศาสนบุคคล และศาสนพิธีกรรม ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ การพัฒนาศาสนสถาน ด้วยการอนุรักษ์ศาสนสถานให้มีความมั่นคง แข็งแรง และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความเป็นไทย การพัฒนาศาสนบุคคล ด้วยการการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และการพัฒนาศาสนพิธีกรรม ด้วยการอบรมให้ความรู้เรื่องศาสนพิธีกรรมที่ถูกต้อง จัดทำคู่มือศาสนพิธีกรรมออกเผยแผ่ จัดกิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น และจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were; 1. To study general condition of monastery management in Chainat Province, 2. To study the components of monastery management in Chainat Province and 3. To propose a Good Management model for monastery in Chainat Province
Methodology was the mixed methods. The qualitative method collected data from document and in-depth-interviewing 39 key informants and analyzed data by content analysis and descriptive interpretation and then used the findings to form a basic model for monastery development and then submitted the basic model to 11 participants in focus group discussion to confirm the model. The quantitative method collected data from stratified 162 samples who were monks in Chainat Province by using questionnaires with reliability score at 0.981, analyzed data with descriptive statistics; frequency, percentile, mean and standard deviation.
Findings were as follows:
1. General conditions of monastery management In Chainat Province were that: Strength; there was unity in management under supervision of various levels of administrative monks where the abbots with good knowledge were the highest administrators, Weakness; monks and novices were limited, minimal in numbers. Some monasteries had only abbots causing monastery maintenance ineffective and not-orderly. The ancient buildings were left dirty, deserted and decay, Opportunity; Chainat Province is the province of Buddhism with long history where majority of people were Buddhists. There are many Buddhist arts and crafts and honorary and sacred monks. People live their lives in line with Buddhism, Threats; Chainat Province has diversity in culture and the trends of foreign culture favoritism began to take shape and replace the good cultures of the province. Young people do not understand and appreciate the old cultures from their ancestors and begin to adopt new cultures from outside which was the wrong trend.
2. Components of monastery management in Chainat Province were of 4 components with 12 principles. Component 1: monastery maintenance, management and religious property consisted of 3 principles; 1) monastery development strategic plan, 2) model monastery development, learning gardens in monasteries, 3) effective tools and system development for ancient property maintenance. Component 2: monk and laity administration; consisted of 3 important principles; 1) abbots’ modernly completed offices, 2) administrative monks development, 3) model Buddhism heritage generation. Component 3: training and dissemination; consisted of 3 principles; 1) Phrapariyattidhamma school, establishment, Dhamma and Pali, 2) lifelong education support, 3) local loving teachers development. Component 4: support and facilitate in merit making; consisted of 3 principles; 1) beautiful and secured monastery development, 2) personnel development for being ready for services and 3) junior monastery warden building.
3. Models for monastery management development In Chinat Province were of 4 models; Model 1: monastery development towards competency organizations, consisting of 3 activities; formulating strategic monastery development plan with participation from all parties concerned, public hearing and plan implementation. Effective administrative tools development, learning center implementation in monasteries and monastery development towards the outstanding developed monasteries. Model 2: good and qualified religious personnel development, consisting of 3 activities; office setting in monasteries, more contacting channels creation, qualified personnel development by selecting novices and monks for higher education, good religious heritage building by selecting qualified religious inheritors for more training and higher education. Model 3: ethical learning development; consisting of 4 activities; Phrapariyattidhamma school networking, joint learning activities at sub-district or district levels, qualified personnel development, learning center such as physical development, morality, social, spirits and wisdom, education quality promotion by developing administrators and teachers to have qualification and ethics, model youth development by immunity vaccination. Model 4: religious place, religious personnel and religious ceremonies consisting of 4 activities; religious place development by safeguarding and developing the religious places to the sustainable, strong and holding Thailand identities. Personnel development emphasizing language competency and folk cultural center and religious ceremonies. Training for the right religious ceremonies, religious handbooks for the right religious ceremonies, community tradition and culture activity promotion and Buddhism promotion activities should be set up regularly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 5.68 MiB | 844 | 16 ก.พ. 2564 เวลา 21:27 น. | ดาวน์โหลด |