โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of the Elderly’s Quality of Life Based on Trisikkhā of Health Promotion Hospital, Chorakhe Sam Phan Subdistrict, U Thong District, Suphan Buri Province
  • ผู้วิจัยพระครูสมุห์กฤษฎา สิริสาโร (สีทองใบ)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วิชชุกร นาคธน
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา27/05/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48033
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 241

บทคัดย่อภาษาไทย

 

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เสนอแนวการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจรเข้สามพัน  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี

                    การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามจากประชากร 1,048 คน นำมาหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 290 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (The-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 10 รูปหรือคน ได้แก่ พระสงฆ์และนักวิชาการศาสนา, ประธานและรองประธานกลุ่มสตรีแม่บ้าน,ผู้นำชุมชน, ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้สามพัน ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือทั้งฉบับ เท่ากับ 0.958 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient

          ผลการวิจัยพบว่า

1) ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจรเข้สามพัน  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05, S.D.= 0.78) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านปัญญา ( = 4.15, S.D.= 0.79) รองลงมา ด้านสมาธิ ( = 4.02, S.D.= 0.74) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านศีล   ( = 3.99, S.D.= 0.81)

ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4,08, S.D.= 0.77) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการส่งเริมสุขภาพ( = 4.16, S.D.= 0.75) รองลงมา ด้านการส่งเสริมให้มีความมั่นคงหรือหลักการประกันในชีวิต ( = 4.08, S.D.= 0.76) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ( = 4.01, S.D.= 0.77)

2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับปานกลาง ( r= 0.552) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาด้านสมาธิมีความสัมพันธ์อยู่ระดับปานกลาง ส่วนด้านอื่นมีความสัมพันธ์เชิงบวกแต่อยู่ในระดับต่ำ

      3) แนวการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจรเข้สามพัน  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ด้านศีล ควรมีการจัดอบรมการใช้สติอย่างไม่ประมาทในชีวิตประจำวันและไม่ยึดติดวัตถุภายนอก รวมทั้งอบรมการวางตัวและการปรับอารมณ์ให้รู้ทันสภาพการเปลี่ยนของสังคม ด้านสมาธิ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุนำภูมิปัญญาถ่ายทอดให้แก่เยาวชนมี และด้านปัญญา ควรส่งเสริมแนะนำและวางแผนสิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตในการใช้ชีวิตประจำวัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

 

The study entitled “The Development of the Elderly’s Quality of Life Based on Trisikkhā of Health Promotion Hospital, Chorakhe Sam Phan Subdistrict, U Thong District, Suphan Buri Province” consisted of the following objectives: 1) to investigate the level of the development of the elderly’s quality of life based on Trisikkhā of Health Promotion Hospital, Chorakhe Sam Phan Subdistrict, U Thong District, Suphan Buri Province; 2) to explore the correlation of Trisikkhā and the development of the elderly’s quality of life of Health Promotion Hospital, Chorakhe Sam Phan Subdistrict, U Thong District, Suphan Buri Province; and 3) to propose the guidelines for the development of the elderly’s quality of life based on Trisikkhā of Health Promotion Hospital, Chorakhe Sam Phan Subdistrict, U Thong District, Suphan Buri Province.

The study used a mixed-methods approach that included qualitative and quantitative methods. The quantitative data were acquired via questionnaires from a population of 1,088 persons, and the Taro Yamane formula was used to form a group sample of 290 persons. The qualitative data were collected via in-depth interviews with 10 key informants comprising monks and religious scholars, president and vice president of housewife group, community leaders, and administrator of Chorakhe Sam Phan Subdistrict Administrative Organization. The instrument reliability was equal to 0.958. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient.

From the study, the following results have been found:

1) The study found that the development of the elderly’s quality of life based on Trisikkhā of Health Promotion Hospital, Chorakhe Sam Phan Subdistrict, U Thong District, Suphan Buri Province is overall at a high level (x̄ = 4.05, S.D. = 0.78). When each aspect is considered, it is discovered that wisdom or Paññā is at the highest level (x̄ = 4.15, S.D. = 0.79), followed by concentration or Samādhi (x̄ = 4.02, S.D. = 0.74), and morality or Sīla has the lowest level of mean (x̄ = 3.99, S.D. = 0.81).

The level of the development of the elderly’s quality of life is overall at a high level (x̄ = 3.08, S.D. = 0.77). When each aspect is taken into account, it is revealed that health promotion has the highest level of mean (x̄ = 4.16, S.D. = 0.75), followed by the promotion of life security (x̄ = 4.08, S.D. = 0.76), and promotion of participation has the lowest level of mean (x̄ = 4.01, S.D. = 0.77).

2) Trisikkhā and the development of the elderly’s quality of life are positively correlated in the same direction at a moderate level (r = 0.552), with a statistical significance at 0.01 level. When each aspect is considered, it is revealed that Samādhi (concentration) has a moderate correlation. While the other aspects are positively correlated, but are at a low level.

3) The guidelines for the development of the elderly’s quality of life based on Trisikkhā of Health Promotion Hospital, Chorakhe Sam Phan Subdistrict, U Thong District, Suphan Buri Province are found as follows:

(1) On Sīla or morality, there should be training on how to use mindfulness to avoid becoming careless or attached to external objects. Including, the training on how to behave oneself and adjust emotions in order to be aware of the changes in the society.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ