โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษLeadership according to Buddhadhamma of Government Organization Administrators in Donchedi District, Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยพระมหาสมหมาย สมกิจฺโจ (เสียงดีเพ็ง)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วิชชุกร นาคธน
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา27/05/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48034
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 440

บทคัดย่อภาษาไทย

 

งานวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักทุติยปาปณิกธรรมกับภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3. ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีรูปแบบเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 170 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและสังเคราห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.77, S.D. = 0.98) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ อยู่ในระดับมาก เป็นลำดับแรก (  = 3.81, S.D. = 0.97) รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ (  = 3.79, S.D. = 1.00) ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา (  = 3.74, S.D. = 1.00) และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (  = 3.73, S.D. = 1.04) อยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน และพบว่าหลักทุติยปาปณิกธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.73, S.D. = 0.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์) อยู่ในระดับมาก เป็นลำดับแรก (  = 3.78, S.D. = 0.93) รองลงมา ได้แก่ ด้านนิสสยสัมปันโน (มีมนุษย์สัมพันธ์) (  = 3.72, S.D. = 0.97) และด้านวิธูโร (จัดการดี) (  = 3.71, S.D. = 0.94) อยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน

2. หลักทุติยปาปณิกธรรมและภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (R = 962**)  มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

3. ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า 1) หลักทุติยปาปณิกธรรม มีปัญหาด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์) คือ ขาดการวางแผนแก้ปัญหาแบบบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ เสนอแนะให้วางแผนแก้ปัญหาโดยบูรณาการกับหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ด้านวิธูโร (จัดการดี) ขาดความรู้และความเข้าใจระเบียบและข้อกฎหมาย เสนอแนะให้ศึกษาเรียนรู้ระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานราชการ ด้านนิสสยสัมปันโน (มีมนุษย์สัมพันธ์) ขาดความยุติธรรมบริหารงานบุคคล เสนอแนะให้บริหารงานบุคคลด้วยความยุติธรรมเท่าเทียมและเสมอภาค 2) ภาวะผู้นำ มีปัญหาด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ คือ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง เสนอแนะให้ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในแก่ตนเองและองค์กร ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ คือ ไม่มีความจริงใจไม่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเพื่อประโยชน์ของประชาชน เสนอแนะให้ตั้งใจทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนและองค์กร ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา คือ ผู้บริหารไม่เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในการทำงาน เสนอแนะให้เปิดโอกาสและส่งเสริมให้บุคลากรค้นหาแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในการทำงานของตนเองและองค์กร และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล คือ ผู้บริหารมอบหมายงานโดยไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคลากร เสนอแนะมอบหมายงาน โดยพิจารณาความรู้ความสามารถของบุคลากรเป็นหลัก

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

 

The thesis entitled “Leadership According to Buddhadhamma of Government Organization Administrators in Donchedi District, Suphanburi” consisted of the following objectives: 1) to study leadership based on the Buddhadhamma of local government organization administrators in Don Chedi District, Suphanburi Province; 2) to explore the correlation between Dutiyapāpaṇika Sutta (The Second Discourse on the Storekeeper) and leadership of local government organization administrators in Don Chedi District, Suphanburi Province; and 3) to investigate problems and suggestions regarding the leadership based on Dutiyapāpaṇika Sutta of local government organization administrators in Don Chedi District, Suphanburi Province. The study used mixed-methods research approach, with quantitative data obtained by using a questionnaire with a reliability of 0.987 and a sample group of 170 persons. The collected data were analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), and inferential statistics which included Pearson's correlation coefficient. While qualitative data were obtained through in-depth interviews with 10 key informants. The obtained data were analyzed using a content analysis approach and synthesized in accordance with the research objectives.

The results of the study are as follows:

1) The leadership of the local government organization administrators in Don Chedi District, Suphanburi Province is overall at a high level ( = 3.77, S.D. = 0.98). When each aspect is considered, it is discovered as follows: On building inspiration is at a high level ( = 3.81, S.D. = 0.97), followed by influence on ideology ( = 3.79, S.D. = 1.00), the motivation to use wisdom ( = 3.74, S.D. = 1.00), and the consideration of individuality ( = 3.73, S.D. = 1.04). The findings also found as follows: Dutiyapāpaṇika-dhamma (the Second Discourse on the Storekeeper) of the local government organization administrators in Don Chedi District, Suphanburi Province is overall at a high level ( = 3.73, S.D. = 0.93). When each aspect is considered, it is discovered that the following three are at a high level, with Cakkhumā (shrewd) having the highest mean ( = 3.78, S.D. = 0.93), followed by Nissayasampanno (having a good credit rating) ( = 3.72, S.D. = 0.97), and Vidhūro (capable of administrating business) ( = 3.71, S.D. = 0.94).

2) The results from analyzing the correlation between Dutiyapāpaṇika-dhamma (the Second Discourse on the Storekeeper) and leadership of local government organization administrators in Don Chedi District, Suphanburi Province, it has been discovered that the correlation is positive at a high level (R = 962**) with a statistical significant at 0.01, according to the set assumption.

      3) From studying problems and suggestions regarding the leadership based on Dutiyapāpaṇika Sutta of local government organization administrators in Don Chedi District, Suphanburi Province, it has been found that (1) Dutiyapāpaṇika Sutta has problems in the following aspects: On Cakkhumā (shrewd) lacks plan for an integrated solution to problems with other organizations. The suggestion proposed is that there should be a plan for an integrated solution to problems with other relevant organizations; On Vidhūro (capable of administrating business) lacks knowledge and understanding in regulations and laws. The suggestion proposed is to conduct a study of relevant regulations and laws with government administration; On Nissayasampanno (having a good credit rating) lacks justice in personnel management. The suggestion proposed is that the personnel management should be based on justice, equality, and equity, and (2) Leadership principles have problems in the following aspects: On influence on ideology, in which the administrators use their position to exploit themselves and their peers. The suggestion proposed is that the administrators should behave as a positive role model in order to establish trust in themselves and the organization; On building inspiration, in which the administrators lack sincerity and determination to develop for the benefit of the people. The suggestion proposed is that the administrators should have determination and intention to work for

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ