-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Operational Efficiency of Personnel at Local Government Organizations, Si Prachan District, Suphanburi Province
- ผู้วิจัยนางวีณา ขำคง
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วิชชุกร นาคธน
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา27/05/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48044
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 1,012
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 125 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.969 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 9 คน/รูป ประกอบด้วย บุคลากรท้องถิ่นระดับผู้บริหาร (ประเภทอำนวยการท้องถิ่น) จำนวน 3 คน บุคลากรท้องถิ่นระดับนักวิชาการและระดับปฏิบัติการ (ประเภทวิชาการ หรือประเภททั่วไป) จำนวน 4 คน และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 2 รูป ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า บุคลากรมีการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ หลักฉันทะ หลักวิริยะ หลักจิตตะ และหลักวิมังสา ส่วนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า บุคลากรมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านความรวดเร็ว รองลงมาคือ ด้านคุณภาพงาน ด้านปริมาณงาน และด้านความประหยัดหรือความคุ้มค่าของทรัพยากร ตามลำดับ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันในระดับสูง ได้แก่ หลักจิตตะ หลักวิมังสา หลักฉันทะ และหลักวิริยะ ตามลำดับ
3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี คือ 3.1 หลักฉันทะ : ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน คือ ควรมีการกำหนดเป้าหมาย วิธีการ และแนวทางปฏิบัติงานที่ชัดเจน เรียนรู้ทำความเข้าใจในงานร่วมกันเพื่อทดแทนการทำงานกันได้ จัดกิจกรรมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมภายในองค์กร เพื่อให้เกิด ความพอใจ มีความรักงาน และเห็นความสำคัญของงาน ส่งผลให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จ 3.2 หลักวิริยะ : ความเพียรพยายามในการปฏิบัติงาน คือ จัดระบบการทำงานให้สอดคล้องกับระเบียบ นโยบาย ตัวชี้วัด และเป้าหมาย นำเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารจัดการงาน แบ่งงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบและความรู้ความสามารถ เพื่อให้บุคลากรพึงพอใจและเกิดความเพียรพยายามในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 3.3 หลักจิตตะ : การเอาใจฝักใฝ่ในการปฏิบัติงาน คือ ผู้บริหารควรมีการวางแผน กำหนดขั้นตอนในการทำงานให้ชัดเจน เอาใจใส่บุคลากร ร่วมมือกันปรับปรุง ทบทวนงาน และปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจเพื่อให้งานเสร็จตามระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้ และ 3.4 หลักวิมังสา : การใช้ปัญญาใคร่ครวญหาเหตุผลในการปฏิบัติงาน คือ การบริหารจัดการงานผู้บริหารและบุคลากรควรมีการวางแผน ทบทวน วิเคราะห์ปัญหา และกำหนดบทบาทภาระหน้าที่ร่วมกัน ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย และหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน เพื่อลดความผิดพลาดของงาน และเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research aims to: 1) study the level of operational efficiency according to Iddhipāda and the operational efficiency of personnel at local government organization, Si Prachan District, Suphanburi Province; 2) study the correlation between the operational efficiency according to Iddhipāda and the operational efficiency of personnel at local government organization, Si Prachan District, Suphanburi Province; and 3) study the guidelines for developing the operational efficiency of personnel at local government organization, Si Prachan District, Suphanburi Province.
The study used a mixed-methods approach that included qualitative and quantitative methodologies. The quantitative approach used a group sample of 125 persons who were personnel of local government organization, Si Prachan District, Suphanburi Province, which were obtained using stratified random sampling. A questionnaire was employed to obtain quantitative data, get the alpha coefficient equal to 0.969, and the collected data was analyzed using the Statistical Package for the Social Sciences. The statistics used were frequency, percentage, means, standard deviation (S.D.), and Pearson correlation coefficient. Purposive sampling was used to collect qualitative data from 9 persons who worked for the local government organization and Buddhist scholars, three of whom were administrative personnel (local administrator type), four of whom were academic and operational personnel (academic or general type), and the other two were Buddhist scholars. The instrument for data collection was an interview form and the data obtained were analyzed by way of content analysis.
The following results have been found:
1. The operational efficiency according to Iddhipāda of personnel at local government organization, Si Prachan District, Suphanburi Province is found to be at a high level. When all aspects are considered, they are found to be at a high level, which consist of Chanda, Viriya, Citta, and Vimāṃsa. While the operational efficiency of personnel at local government organization, Si Prachan District, Suphanburi Province is found to be at a high level. When all aspects are taken into account, they are shown to be at a high level, which include speed, followed by work quality, amount of work, and living economically or the worthiness of resources, respectively.
2. The operational efficiency according to Iddhipāda and the operational efficiency of personnel at local government organization, Si Prachan District, Suphanburi Province are shown to be positively correlated in the same direction at a high level, with a statistical significance of 0.01. When all aspects are considered, they are found to be positively correlated in the same direction at a high level, which include Citta, Vimāṃsa, Chanda, and Viriya, respectively.
3. The guidelines for developing the operational efficiency of personnel at local government organization, Si Prachan District, Suphanburi Province are as follows: 3.1 Chanda refers to job satisfaction, which should be achieved via the formation of defined goals, methods, and operational guidelines. This includes an understanding of work in order to collaborate and work as a team, as well as organizing activities to promote participation within the organization in order to achieve job satisfaction and aspiration, as well as recognizing the importance of work, which will result in determination for a successful operation; 3.2 Viriya refers to work effort that should be achieved through a work system that follows policies, regulations, indicators, and goals. In order for personnel to be happy, technology should be used to administer work and distribute work based on each person's duty and capability. This will lead to increased effort in the work and effective achievement of the set goals; 3.3 Citta refers to a dedication to work that requires administrators to plan and clarify work procedures, care for employees, collaborate to improve, and operate work with determination in order to finish the work within the specified timetable and goals; and 3.4 Vimāṃsa refers to the application of wisdom to discover reasoning in work, in which administrators and personnel should plan, examine, analyze issues, and identify shared obligations under work regulations and rules in order to reduce mistakes and be the guidelines for functioning correctly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|