-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธ ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of the Elderly’s Quality of Life Based on the Buddhist Principles in Suphanburi Municipality, Suphanburi Province
- ผู้วิจัยพระมหาอุทัย กตคุโณ (ประดิษฐ์ศร)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วิชชุกร นาคธน
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา27/05/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48045
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 582
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธ กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธ ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไป ในพื้นที่เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 369 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.958 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน คือ นายกเทศมนตรีเมืองสุพรรณบุรี 1 คน รองนายกเทศมนตรีเมืองสุพรรณบุรี 2 คน ปลัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 1 คน ผู้อำนวยการกองสวัสดิการและสังคมเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 1 คน ตัวแทนผู้นำชุมชนเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 2 คน และตัวแทนผู้สูงอายุ 2 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ผู้สูงอายุมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักวิถีพุทธในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านสีลภาวนา และด้านจิตภาวนา มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักวิถีพุทธ อยู่ในระดับมากที่สุด ที่เหลืออยู่ในระดับมาก ส่วนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้วิถีพุทธกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ในรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันในระดับสูงมาก ได้แก่ ด้านจิตภาวนา รองลงมาคือ ด้านสีลภาวนา และด้านปัญญาภาวนา ส่วนด้านกายภาวนา มีความสัมพันธ์ในระดับสูง
3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า 3.1 ด้านกายภาวนา คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต้องร่วมมือกันในการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการสาธารณสุขเคลื่อนที่เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด กิจกรรมยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกาย กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมการศึกษาเรียนรู้วิชาการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีร่างกายที่แข็งแรง 3.2 ด้านสีลภาวนา คือ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุและคนในชุมชนได้ร่วมกันทำกิจกรรมทางศาสนา ตามประเพณี วัฒนธรรม และวันสำคัญต่าง ๆ ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน สามารถประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดี และปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสังคม 3.3 ด้านจิตภาวนา คือ เทศบาลควรกำหนดแผนงาน และนโยบายต่าง ๆ ในดูแลผู้สูงอายุอย่างครบถ้วน รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วม เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัย ความเคารพรัก และความสามัคคี ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี และมีความสุข และ 3.4 ด้านปัญญาภาวนา คือ จัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น การบริการตรวจสุขภาพ การจ่ายเบี้ยยังชีพ การจัดกิจกรรมนันทนาการ การจัดกิจกรรมทางศาสนา และสวัสดิการสังคมในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research consisted of objectives as follows to: 1) study the level of development of the elderly’s quality of life using Buddhist oriented principles and the elderly’s quality of life in Suphan Buri Municipality, Suphan Buri Province, 2) study the relationship between development of the elderly’s quality of life using the principle of Pawana 4 (4-aspect development) and the elderly’s quality of life in Suphan Buri Municipality, Suphan Buri Province, and 3) propose the guidelines for developing the elderly’s quality of life using Buddhist oriented principles in Suphan Buri Municipality, Suphan Buri Province. The mixed method research was applied in this research. For quantitative study, 369 people over 60 years old in Suphan Buri Municipality, Suphan Buri Province were the samples selected by using simple random sampling method. The questionnaire was used for data collection. The alpha coefficient is 0.958. The data were analyzed by using Statistical Package for Social Sciences, by calculating frequency, percentage, mean, and standard deviation, and Pearson’s Product-moment Correlation Coefficient was used for testing the hypotheses. For qualitative study, the data were collected by using interview form from 9 key informants, selected by using purposive sampling method, consisting of Mayor, 2 Deputy Mayors, Municipal Clerk, Director of Social Welfare Division, 2 community leader representatives, and 2 elderly representatives. The interview data was analyzed by using the Content Analysis Technique.
The research results were as follows:
1. The development of the elderly’s quality of life based on the Buddhist principles in Suphanburi Municipality, Suphanburi Province is found to be at a high level overall. When each aspect is considered, it is discovered that Sīla-bhāvanā (moral development) and Citta-bhāvanā (emotional development) have the life quality development based on the Buddhist principles at the highest level, while the other two aspects are at a high level. As for the elderly’s quality of life in Suphanburi Municipality, Suphanburi Province, it is found that the elderly’s quality of life overall is at a high level. When considering each aspect, all aspects are at a high level.
2. The development of the elderly’s quality of life based on the Buddhist principles and the elderly’s quality of life in Suphanburi Municipality, Suphanburi Province are shown to be positively correlated in the same direction at a high level, with a statistical significance of 0.01. When each aspect is considered, the following aspects are discovered to be positively correlated in the same direction at the highest level namely, Citta-bhāvanā, followed by Sīla-bhāvanā and Paññā-bhāvanā (wisdom development). While Kāya-bhāvanā (physical development) is correlated at a high level.
3. The guidelines for developing the elderly’s quality of life based on the Buddhist principles in Suphanburi Municipality, Suphanburi Province are as follows: 3.1 On Kāya-bhāvanā, which the organizations involved in the promotion of the elderly's quality of life should collaborate to develop projects or activities to continually promote the health of people in the community e.g., a mobile health project for annual health check, the COVID-19 vaccines, stretching and exercise activities, recreational activities, and various learning activities will all help the elderly stay healthy; 3.2 On Sīla-bhāvanā, which there should be a promotion for the elderly and people in the community to join together in religious activities based on tradition, cultures, and other important days in order to establish love and unity among people in the community so that they will behave morally and in accordance with the regulations of society; 3.3 On Citta-bhāvanā, which the municipality should develop comprehensive plans and policies for caring for the elderly, including the organization of events in which the elderly may join in order to establish bonds, love, and unity with people of all ages, resulting in the elderly's good mental health and happiness; and 3.4 On Paññā-bhāvanā, which there should be social welfare provision for developing the elderly's quality of life, such as health check-up service, regular pension payment, the arrangement of recreational and religious activities, and social welfares in different areas, all of which would allow the elderly to live happily.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|