-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนผลิตโคมของเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of the Buddhadhamma to Manage Lantern Manufacturing Community Network of Mueang Lamphun Municipality, Lamphun Province
- ผู้วิจัยพระศรัณยู สิริเมโธ (หมื่นอ้าย)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48131
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 17
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนผลิตโคม 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนผลิตโคม และ 3.เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนผลิตโคมของเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จากกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเครือข่ายชุมชนผลิตโคม ของเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 134 คน จากประชากรทั้งหมด 200 คน ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีโดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุดและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1.ระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนผลิตโคมของเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนผลิตโคมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.70) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการก่อรูปเครือข่ายอยู่ในลำดับมากที่สุด (x̄ = 3.80) และมีด้านการใช้ประโยชน์เครือข่ายอยู่ในลำดับน้อยที่สุด (x̄ = 3.63)
2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนผลิตโคม ด้วยการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับศักยภาพเครือข่ายชุมชนผลิตโคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนด้านเพศ อายุ วุฒิการศึกษา สถานภาพ และอาชีพ มีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการเครือข่ายผลิตโคมของเทศบาลเมืองลำพูนจังหวัดลำพูน พบว่า ในการประชุมหมั่นประชุมพร้อมกันตามตารางกำหนดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง การกำหนดกฎระเบียบเพื่อให้สมาชิกได้เข้าร่วมประชุม การยอมรับมติที่ประชุมหรือข้อตกลงต่างๆ การให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุที่มีความรู้ความสามารถในการทำโคม การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาสในชุมชนได้เข้ามาเป็นสมาชิกของกลุ่มผลิตโคมในชุมชน การสร้างความตระหนักในการสืบทอดอัตลักษณ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาด้านการทำโคมส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้การทำโคมให้กับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไปและการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือ หลักสามัคคีธรรม และหลักสังคหวัตถุ 4 มาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการเครือข่าย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the opinion level on the management of lantern manufacturing community network; 2) to compare to opinions on the management of lantern manufacturing community network; and 3) to propose the guidelines for applying the Buddhadhamma to manage lantern manufacturing community network of Mueang Lamphun Municipality, Lamphun Province.
A mixed-methods approach was used in the study, which included both quantitative and qualitative methods. The quantitative method employed questionnaire. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, One-Way ANOVA, Least Significant Difference (LSD). The qualitative method used in-depth interviews with 12 key informants, and the obtained data were analyzed by descriptive content analysis.
From the study, the following results are found:
1) The opinion level on the management of lantern manufacturing community network is overall at a high level (x̄ = 3.70). When each aspect is considered, it is found that network establishment is at the highest level (x̄ = 3.80), while the network utilization is at the lowest level (x̄ = 3.63).
2) From comparing the opinions about the management on lantern manufacturing community network classified by gender, age, educational level, status, occupation, and income, it is discovered that people with different income have different opinions on the potential of lantern manufacturing community network with a statistical significance of 0.05 level; therefore, accepting the null hypothesis. When classifying by gender, age, educational level, status, and occupation, it is found that there is no difference; therefore, denying the null hypothesis.
3) The guidelines for applying the Buddhadhamma to manage lantern manufacturing community network of Mueang Lamphun Municipality, Lamphun Province found as follows: holding regular and frequent meetings at least once a month; the formulation of regulation for members to participate in the meetings; the acceptance of meeting resolutions or agreements; the importance placed on elderly people who have knowledge and ability to create lantern; the support for the elderly, the disabled, and the underprivileged in the community to become members of lantern manufacturing community; the raising of awareness of inheriting Lanna's identity, tradition, and culture in order to manage lantern manufacturing; and the support for youth and people who are interested in learning how to create lanterns. An application of the Buddhadhamma which is Sāmaggī (concord) and Saṅgahavatthu (four bases of social solidarity) as part of network management.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|