โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายป่าชุมชนตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Potential Reinforcement of the Community Forest Network in Sriwichai Subdistrict in Li District in Lamphun Province
  • ผู้วิจัยพระปลัดพุฒินันท์ ยสพโล (กันทะทิพย์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  • วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48133
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 19

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพเครือข่ายป่าชุมชนตำบลศรีวิชัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับศักยภาพเครือข่ายป่าชุมชนตำบลศรีวิชัย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายป่าชุมชนตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน ตามหลักสาราณียธรรม ดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ในเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลศรีวิชัย จำนวน 6,256 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 376 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ในเชิงคุณภาพ ได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับศักยภาพเครือข่ายป่าชุมชนตำบลศรีวิชัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง(= 3.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมีการจัดตั้งกลุ่ม อยู่ในลำดับมากที่สุด (= 3.43) รองลงมาคือด้านมีกติการ่วมกัน  (= 3.41) ด้านมีคณะกรรมการและสมาชิก และด้านมีแผนกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลางเท่ากัน (x̅ = 3.36)  ด้านมีกองทุนสำหรับเครือข่าย อยู่ในลำดับน้อยที่สุด (= 3.34)

2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับศักยภาพเครือข่ายป่าชุมชนตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ด้วยการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาการเป็นสมาชิก พบว่าวุฒิการศึกษา (F= 2.999, Sig.= 0.031) และระยะเวลาการเป็นสมาชิก (F= 3.312,Sig.= 0.038) มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านเพศ อายุ และอาชีพ มีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

3. แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายป่าชุมชนตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนตามหลักสาราณียธรรม ได้แก่ 1) การสร้างมาตรการการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในชุมชน และการสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าและการใช้สอยประโยชน์จากป่าชุมชน 2) การสร้างมาตรการการเชื่อมโยงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการป่าชุมชนให้เข้ากับชาวบ้าน และภาครัฐ 3) การวางแผนการกำหนดกฎกติกาต่างๆ ต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกฎกติกานั้นๆ และการสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับชาวบ้าน โดยเฉพาะในเรื่องของกฎระเบียบต่างๆ ของทางราชการ 4) การสร้างความโปร่งใสในการตรวจสอบการบริหารจัดการกองทุนต่างๆ โดยการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5) การส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับป่าชุมชน เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกเครือข่ายได้ช่วยกันทำกิจธุระต่างๆอย่างแท้จริงและเต็มความสามารถ มีการใช้วาจาที่สร้างมิตร ไม่สร้างศัตรู การสร้างจิตอาสาการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่ในป่าชุมชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน การมีความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติตามกฎระเบียบของส่วนรวม และการให้การยอมรับในความคิดเห็นของผู้อื่น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were 1) to study the potential level of the community forest network in Sriwichai Subdistrict, 2) to compare people’s opinions about the potential of the community forest network in Sriwichai Subdistrict, classified by individual factors, and 3) to study the approaches of the potential reinforcement of the community forest network in Sriwichai Subdistrict in Li District in Lamphun Province according to Saraniyadhamma principle (states of conciliation). This was mixed methods research. The population and the sample group were 6,256 people in Sriwichai Subdistrict Municipality. The sample size was randomized using the Taro Yamane formula. 376 people were selected. The data was collected by using questionnaires. The data was analyzed by using a Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) in order to find the frequency, percentage, mean, and standard deviation values for characterizing the general data. The hypothesis was tested byt-test and F-test by One-Way Anova analysis. If there was any difference, it would be tested with pair difference by using Least Significant Difference (LSD). For the interview, the researcher interviewed twelve key informants, and then analyzed the content data by using descriptive references from people’s words.

 

The findings of the research were as follows:

1. The overall potential level of community forest network in Sriwichai Subdistrict was at a moderate level (= 3.38). When considering each aspect, it was found that the group establishment was at the highest level (= 3.43). This followed by having common rules (= 3.41), having a committee and members, and plans for activities were at the moderate level (= 3.36). Providing funds for the network was at the least level (= 3.34).

2. From the comparison of the level of public opinion about the potential of the community forest network in Sriwichai Subdistrict with hypothesis testing by analyzing the differences according to the classification according to personal factors: gender, age, educational background, occupation and length of membership, it was found that educational qualifications (F= 2.999, Sig.= 0.031) and length of membership (F= 3.312, Sig.= 0.038) had statistical significance level at the 0.05 with different levels of opinion. Therefore, the hypothesis was accepted. Regarding gender, age and occupation, there were no differences in opinion levels. The hypothesis was rejected.

3. There were five guidelines for the potential reinforcement of the community forest network in Sriwichai Subdistrict in Li District in Lamphun Province according to Saraniyadhamma principle (states of conciliation). The first guideline was creating measures on participation in the community, and raising awareness to see the value and utilization of community forests. The second guideline was establishing measures to link the roles and duties of the community forest committee with the villagers and the government sector. The third guideline was planning the rules and regulations which allowed stakeholders to take parts in setting the rules and regulations, and building knowledge and understanding to the villagers especially in terms of government regulations. The fourth guideline was creation of transparency in the audit of the management of various funds with participation of villagers, communities, and other stakeholders. The fifth guideline was promotion of activities related to community forests to encourage network members to help each other do various errands truly and to the fullest extent. Good manners were also required by not creating enemies, having volunteer spirit, allocating and sharing the resources available in the community forest thoroughly and equitably, having honesty to comply with the rules of the public, and having acceptance of the opinions of others.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ