โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของครัวเรือนในเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Promotion of Electric Energy Conservation according to Sufficiency Economy Philosophy of Households in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนายสมพงษ์ ปฤชานนท์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ไกรสร แสนวงค์
  • วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48136
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 20

บทคัดย่อภาษาไทย

               การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการใช้พลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นการใช้พลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือนในเทศบาลตำบลประตูป่าอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ในเชิงปริมาณ  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 5,116 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 371 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ในเชิงคุณภาพ ได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 รูปหรือคน  โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล 

ผลการวิจัยพบว่า

                  1. ระดับความคิดเห็นการใช้พลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า ด้านพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนในเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดระบบคุณค่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความรู้และความคิด ด้านทัศนคติ เจตคติ ค่านิยม และด้านการปฏิบัติ ตามลำดับ และด้านการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความพอประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านคุณธรรม ด้านความมีเหตุมีผล  ด้านความรู้ และด้านมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามลำดับ

                2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นการใช้พลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ พบว่า เมื่อจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน ส่วนเพศ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

                 3.    แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ของครัวเรือนในเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า 1) ด้านความพอประมาณ ควรใช้อย่างระมัดระวังและประหยัดใช้งานไฟฟ้าให้พอดี ไม่ใช้เกินตัว 2) ด้านความมีเหตุมีผล ควรส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานที่เหมาะสม ส่งเสริมให้ความรู้ในครอบครัว มีวินัยในการใช้พลังงานไฟฟ้าใช้เฉพาะในสิ่งที่จำเป็นต่ออาชีพและครัวเรือน 3) ด้านภูมิคุ้มกัน คือเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่มีฉลากไฟฟ้าเบอร์ 5 4) ด้านความรู้ คือ เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง มีฉลากไฟฟ้าเบอร์ 5 ส่งเสริมโครงสร้างความรู้และกระตุ้นให้ครัวเรือนรู้ถึงคุณค่าของการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม รู้ถึงคุณค่าของการใช้พลังงานอย่างประหยัด ศึกษาความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าให้เข้าใจ 5) ด้านคุณธรรม คือ การหมุนเวียนพลังงานกลับมาใช้ใหม่ ควรมีจิตสำนึกในการใช้พลังไฟฟ้าอย่างประหยัด ส่งเสริมและให้ความรู้ถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้าให้มากที่สุด ทั้งนี้ การประยุกต์ใช้หลักปธาน  4 เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของครัวเรือน ด้านสังวรปธาน(เพียรระวัง) คือ การระมัดระวังที่จะใช้ไฟฟ้าเกินกำลังทรัพย์และให้เกิดความปลอดภัย ด้านปหานปธาน (เพียรละ) คือ การเว้นสิ่งไม่จำเป็นเพื่อลดการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีมาตรฐาน ด้านภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) คือ กำหนดมาตรฐานด้านประสิทธิภาพการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตามความจำเป็นและเหมาะสม ด้านอนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา) คือ เพียรรักษาหมั่นตรวจสอบดูแลรักษา บำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the opinion level of the electric energy consumption by household in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province; 2) to compare the opinion level    of the electric energy consumption by household in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province classified by personal factors; 3) to propose the guidelines for promoting the electric energy conservation according to sufficiency economy philosophy of household in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province. The study applied a mixed-method research. In terms of quantitative method, the population included 5,116 residents in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province. The Taro Yamane formula was used to determine a sample group of 371 persons. The data were collected by using questionnaire and analyzed by using the Statistical Package for the Social Sciences to find frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, One-Way ANOVA, Least Significant Difference (LSD). In terms of qualitative method, the data were collected via in-depth interviews with 12 key informants. The obtained data were grouped and analyzed using the content analysis technique before being presented in the form of descriptive person references.

From the study, the following results are found:

1) The opinion level of the electric energy consumption by household in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province found that the electric energy consumption behavior of household in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province has overall mean at a moderate level. When each aspect is considered, it is found that value-based arrangement has the highest level of mean, followed by knowledge and thought, attitudes, values, and practices, respectively. The electric energy conversation of household in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province classified is overall at a moderate level. When each aspect is taken into account, moderation has the highest level of mean, followed by morality, rationality, knowledge, and good immunity, respectively.

2) From comparing the opinion level of the electric energy consumption by household in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province classified by gender, age, educational level, occupation, and incomes, it is discovered that there is a statistically significant difference at the 0.01 level when classifying by age, educational level, occupation, and income; therefore, accepting the null hypothesis. When classifying by gender, there is no difference; therefore, denying the null hypothesis.

                3) The guidelines for promoting the electric energy conservation according to sufficiency economy philosophy of household in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province are found as follows: (1) On moderation, in which the electric energy should be consumed carefully and moderately; (2) On rationality, in which electric energy should be consumed appropriately, as well as fostering knowledge and discipline in electric energy consumption within the family by using just what is required for the job and household; (3) On immunity, in which the equipment and appliances with high efficiency of label No. 5 should be used; (4) On knowledge, in which the tools and appliances with high efficiency of label No. 5 should be used in order to promote knowledge structure and motivate household to realize the value of energy; and (5) On morality which refers to renewable energy, in which there should be a better awareness of how to utilize electrical energy economically, including providing information on how to use electrical equipment that saves as much electricity as possible. An application of Padhāna (4 efforts) to promote electrical energy conservation by household is as follows: Savara-padhāna (the effort to prevent) refers to the carefulness to overuse the electricity and ensure safety; Pahāna-padhāna (the effort to abandon) refers to the abandonment of the unnecessary in order to decrease excessive energy consumption while avoiding the use of poor electrical equipment; Bhāvanā-padhāna (the effort to develop) refers to establishing efficiency standards for the use of electrical equipment as necessary and appropriate; and Anurakkhanā-padhāna (the effort to maintain) refers to the constant inspection and repair of electrical equipment in order for it to function properly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ