-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of the Buddhadhamma to Improve Personnel Work Performance Efficiency at Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District, Lamphun Province
- ผู้วิจัยนายธนกร โภคินวัฒนากุล
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48139
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 14
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดของประชาชนเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 3. เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถาม ประชากรในการวิจัยคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มีจำนวน 2,827 คน และกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 351 คน การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาจัดกลุ่มข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique) พร้อมทั้งนำเสนอโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.63, S.D. = 0.328) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านคุณภาพงาน ด้านปริมาณงาน ด้านเวลา ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ทุกด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดของประชาชนเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า ในภาพรวม จำแนกตามเพศ อายุระดับการศึกษา อาชีพ ศาสนา และรายได้ ในภาพรวมทุกด้านไม่แตกต่างกันดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า ฉันทะ(ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน) พบว่า การทำให้บุคลากรรักในบทบาทหน้าที่ของตนโดยการกำหนดโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับภารกิจ การทำให้บุคลากรเห็นคุณค่าของงานที่ทำ วิริยะ (ความเพียรพยายามในการปฏิบัติงาน) พบว่า การสร้างแรงจูงใจที่ดีในการปฏิบัติงาน และการช่วยเหลือสนับสนุนกันในองค์กรก็ยังสามารถก่อให้เกิดความพยายามที่จะทำงานอย่างต่อเนื่องได้ จิตตะ (ทุ่มเทจดจ่อกับการปฏิบัติงาน) พบว่า การสร้างความรับผิดชอบร่วมที่จะทำให้บุคลากรรู้สึกว่าตนมีส่วนเป็นเจ้าของงานนั้น และการปฏิบัติงานที่เป็นขั้นตอน วิมังสา (การพิจารณาถึงข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และเรียนรู้ตลอดเวลา) พบว่า การสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่จะทำให้ได้เกิดกระบวนการพิจารณาการปฏิบัติงานอยู่ตลอดว่าควรจะทำอะไร อย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the level of people’s opinions toward the work performance efficiency of personnel at Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District, Lamphun Province; 2) to compare the people’s opinions toward the work performance efficiency of personnel at Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District, Lamphun Province; and 3) to present an application of the Buddhadhamma to improve personnel work performance efficiency at Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District, Lamphun Province.
A mixed-methods approach was used in the study, which included both quantitative and qualitative methods. The quantitative method employed questionnaire. The population was 2,827 people living in Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District, Lamphun Province, and the sample group consisted of 351 people chosen using the Taro Yamane formula. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, One-Way Anova, and least significant difference (LSD). While the qualitative research method employed in-depth interviews with 10 key informants. The data were organized and analyzed using the content analysis technique before being presented in the form of descriptive person references.
From the study, the following results are found:
1) The level of people’s opinions toward the work performance efficiency of personnel at Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District, Lamphun Province is overall at a high level (x̅ = 3.63, S.D. = 0.328). When each aspect is considered, it is found that work quality, work quantity, duration, operational costs are overall at a high level.
2) When the opinions of people at Pratu Pa Subdistrict Municipality classified by Gender, age, educational level, occupation, religion, and income are compared, it is discovered that there is no difference in all aspects, thereby denying the null hypothesis.
3) The guidelines for applying the Buddhadhamma to improve personnel work performance efficiency at Pratu Pa Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District, Lamphun Province are found as follows: Chanda (the aspiration in work performance), in which the personnel should love their roles and duties by specifying the organizational structure to be consistent with missions, allowing them to see the values of the work they do; Viriya (effort in work performance), in which the development of motivation for work performance and mutual support within the organization will lead to a continuous effort to work; Citta (thoughtfulness in work performance), in which the development of mutual responsibility will allow personnel to take ownership of their work, including the step-by-step work performance; and Vīmaṃsā (examination of mistakes in work performance and continuous learning), in which the development of a continuous learning process will lead to a continuous examination of operational processes, in which personnel will know what to do and how to do it in order to achieve maximum efficiency in work performance.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|