โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddha-dhamma Integration for Culture Tourism Management through Community of Ayutthaya Province
  • ผู้วิจัยนายวิสิษฐ์ สมบูรณ์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา13/09/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4814
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 77
  • จำนวนผู้เข้าชม 273

บทคัดย่อภาษาไทย

           ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 คน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล    

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.56, S.D.=0.612) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ (=3.60) รองลงมาคือการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างสมดุล ( x̅ =3.57) การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนพื้นฐาน      อัตลักษณ์และวิถีไทย (=3.56) และการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวสู่ทุกพื้นที่และทุกภาคส่วน (=3.53) ตามลำดับ

              2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า 1) การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 5 ด้าน ได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวก ความสามารถในการเข้าถึง ความสามารถในการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว และสิ่งดึงดูดใจ สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 52.1 (Adj. R2=.521) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) หลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3 ด้าน ได้แก่ รู้ประมาณ (มัตตัญญุตา) รู้บุคคล (ปุคคลัญญุตา) และรู้ผล (อัตถัญญุตา) โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 62.0 (Adj. R2=.620) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

              3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการศึกษาครั้งนี้มี 4 ด้านคือ 1) การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ 2) การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างสมดุล 3) การกระจายรายได้สู่ทุกพื้นที่และทุกภาคส่วน 4) การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานอัตลักษณ์และวิถีไทย โดยนำหลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 เข้ามาบูรณาการกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้ 1. รู้เหตุ (ธัมมัญญุตา) โดยรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็นจากนักท่องเที่ยวเพื่อปรับปรุง ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว จัดการท่องเที่ยวโดยสุจริต 2. รู้ผล (อัตถัญญุตา) โดยการดูแลและให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ ให้นักท่องเที่ยวประทับใจ  มีความสุข เพลิดเพลินทุกกิจกรรม ทำให้ชุมชนมีรายได้หมุนเวียน 3. รู้ตน (อัตตัญญุตา) โดยมีใจรักงานด้านบริการ มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ และฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว 4. รู้ประมาณ (มัตตัญญุตา) โดยการใช้ทรัพยากรภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด พัฒนาชุมชนตามความจำเป็นเพื่อไม่ให้สูญเสียอัตลักษณ์ ส่งเสริมการอยู่อย่างพอเพียงตามวิถีชุมชน 5. รู้กาล (กาลัญญุตา) โดยแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ตัดสินใจ จัดโปรแกรมท่องเที่ยวได้เหมาะสม ติดตามเทรนด์ความต้องการของนักท่องเที่ยว 6. รู้ชุมชน (ปริสัญญุตา) โดยใช้ประสบการณ์ชุมชนในการบริหารการท่องเที่ยว พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้เหมาะสมกับชุมชนและการเปลี่ยนแปลงของสังคม รักษาวัฒนธรรมประเพณี อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมขนอย่างดี   7. รู้บุคคล (ปุคคลัญญุตา) โดยการรวมกลุ่มเป็นสมาชิก ชมรมเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้านการท่องเที่ยว ร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือด้านการท่องเที่ยว

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study the management of community cultural tourism in Ayutthaya Province; 2. To study the factors affecting the management of community cultural tourism in Ayutthaya Province, and 3. To propose Buddhadhama integration for community cultural tourism management in Ayutthaya Province, conducted by the mixed research methods. The quantitative research, data were collected from 384 samples and analyzed by descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation and analysis of multiple linear regression analysis using statistical program package.  The qualitative research, field data were collected from 18 key informants by in-depth interview method and from 9 participants in focus group discussion to confirm the model after data synthesis.   

              Findings were as follows:   

              1. The community cultural tourism management in Ayutthaya Province was found that the sample groups had overall opinions on the community cultural tourism in Ayutthaya Province at high level (= 3.56, S.D. = 0.612).Each aspect according to the average value were as follows;  being a quality tourist attraction (= 3.60), balanced increase in the economic value of the tourism industry (= 3.57), sustainable tourism development based on Thai identity and way of life (= 3.56) and distribution of income and benefits from tourism to all areas and all sectors (= 3.53) respectively.

              2. Factors affecting the community cultural tourism management in Ayutthaya Province were found that: 1) the community cultural tourism management affected the cultural tourism of the community in Ayutthaya Province in 5 aspects; facilities, accessibility, ability to organize tourism programs, and attractions  together predicted 52.1 percent (Adj. R2=.521) with a statistically significant level of 0.05 2) Sappurisdhamma 7 affected the community cultural tourism management in Ayutthaya Province in 3 aspects, namely; knowing moderation, (Mattaññutăa), knowing individuals (Puggalanñută),) and knowing the result (Atthanñută), together can predict 62.0 percent (Adj. R2=.620 ) with the  statistically significant at the 0.01.

    3. Buddhadhamma integration for community cultural management in Ayutthaya Province was found, in this study, that there were four aspects; 1) being a quality tourist attraction, 2) balanced economic value addition, 3) income distribution to all areas and sectors, 4) sustainable tourism development based on Thai identity and Thai way of life by integrating Sappurisadhamma with the community cultural tourism management as follows; 1) Knowing the cause (Dhammaññută), by listening to information, tourists’ feedback to improve service for tourists, organizing tourism program honestly. 2) Knowing the results (Atthaññută), by taking care and serving tourists fully, making tourists impressed, happy, enjoying every activity, helping the community to have a revolving income, 3) knowing self (Attaññută), loving service work, having knowledge of foreign languages and training to develop tourism potentials, 4) knowing moderation, (Mattaññută), using internal resources for developing communities to the fullest as necessary to avoid losing their identity. encouraging self-sufficiency living according to the way of the community.5) knowing time, (Kalaññută), introducing additional tourist attractions for tourists to decide, organizing an appropriate tourism program, following trends and needs of tourists. 6) Knowing the community (Parisaññută), using the community's experience for tourism management, developing tourist attractions to suit the community and social changes. maintaining cultural traditions, well conserving natural resources in the community. 7) knowing individuals, (Puggalaññută), organizing club members to help each other in tourism activities, collaborating with government and private organizations to assist tourism activities.  

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301104226 6301104226 4.85 MiB 77 23 ก.ย. 2565 เวลา 19:53 น. ดาวน์โหลด