โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Effectiveness of Environmental Management of Ton Thong Sub-District Municipality, Mueang Lamphun District in Lamphun Province
  • ผู้วิจัยพระนันท์จักร นนฺทธมฺมิกโก (ชูลาภ)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48140
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 33

บทคัดย่อภาษาไทย

                    การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี  ในเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 12,458 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 388 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ในเชิงคุณภาพ ได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล 

      ผลการวิจัยพบว่า

                        1. ระดับประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=3.78) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านความ  พึงพอใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̅=3.84) รองลงมาคือ ด้านการปรับเปลี่ยน (x̅=3.79) ด้านการผลิต      ( x̅=3.78) และด้านประสิทธิภาพ ( x̅=3.77) ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̅=3.76) คือ ด้านการพัฒนา

             2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนอาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่พักอาศัย ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงได้เห็นว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ต่างกันย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันย่อมแสดงถึงความคิดและการวิเคราะห์ พิจารณา การตัดสินใจที่ไม่เหมือนกัน ส่วนอาชีพ รายได้ และระยะเวลาที่พักอาศัยอาจเป็นด้านที่ไม่เกี่ยวข้องกับหลักการคิดวิเคราะห์ทางความคิด การพิจารณาและการตัดสินใจ

               3. แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า 1) ด้านศีล ด้วยมองว่า ศีลเป็นข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติ การประพฤติปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมจึงต้องยึดตามระเบียบและกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการ ทำระเบียบข้อบังคับ กฎ กติกา ให้ประชาชนได้รับทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน 2) ด้านสมาธิ พบว่า ต้องสร้างความรู้ความรู้ ความเข้าใจ ให้กับประชาชนเพื่อให้ยึดมั่นในกฎระเบียบ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทราบตั้งแต่เด็กโดยเริ่มจากครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานหลักในการกล่อมเกลาพฤติกรรมของคนในสังคม ดังนั้น การพัฒนาสมาธิจึงเป็นการพัฒนาจิตให้มีความเพียรที่จะรักษาสิ่งแวดล้อม จะกระทำการใดๆ ให้ใช้สติตระหนักถึงผลที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ 3) ด้านปัญญา พบว่า ต้องจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรักความหวงแหนและต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ได้กำหนดไว้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                  The objectives of the thesis were 1) to study the level of environmental management effectiveness of Ton Thong Sub-District Municipality, Mueang Lamphun District in Lamphun Province, 2) to compare people’s opinions on the effectiveness of environmental management of Ton Thong Sub-District Municipality, Mueang Lamphun District in Lamphun Province classified by personal factors, and 3) to study the guidelines for increasing the effectiveness of environmental management in Ton Thong Sub-District Municipality, Mueang Lamphun District in Lamphun Province. This was mixed methods research with quantitative methodology. The population and samples were 12,458 people who lived in Ton Thong Sub-District Municipality, Mueang Lamphun District in Lamphun Province. The sampling was selected by using Yamane's sample size formula. The sample size was 388 people. The data was collected by using questionnaires and analyzed by using a Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) in order to find the frequency, percentage, mean, and standard deviation values ​​for characterizing the general data. The hypothesis was tested by t-test and F-test by One-Way Anova analysis. If there was any difference, it would be tested with pair difference by using Least Significant Difference (LSD). For qualitative methodology, the researcher interviewed ten key informants by using interview form. The content data was then analyzed by means of descriptive speech.

The findings of this research as follows:

1. The overall average level of environmental management effectiveness of Ton Thong Sub-District Municipality, Mueang Lamphun District in Lamphun Province was at a high level ( x̅= 3.78). When classified by aspect, it was found that satisfaction had the highest average (x̅= 3.84), followed by adjustments (x̅= 3.79), production (x̅= 3.78), efficiency (x̅= 3.77), while the lowest average was development (x̅=3.76).

2. The results of the comparison of people’s opinions on the effectiveness of environmental management of Ton Thong Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District in Lamphun Province classified by personal factors such as sex, age, occupation, income, education level, and length of stay was statistically significant at the 0.05 level. Thus, the hypothesis was accepted. Sex, occupation, income, length of stay had no difference, Therefore, the hypothesis was rejected. This showed that people of different sexes and ages had different opinions. Different levels of education implied different thinking and analysis, judgments, and careers, incomes, and length of stay may be unrelated to critical thinking, consideration, and decision.

3. There were three guidelines for increasing the effectiveness of environmental management of Ton Thong Sub-District Municipality, Mueang Lamphun District in Lamphun Province. The first guideline was that precepts were rules and regulations in behavior training. Environmental practice should follow rules and regulations formally. People should follow rules and regulations in the same direction. The second guideline was meditation. It was found that knowledge, and understanding must be created for people to adhere to the rules, and raise awareness among people since childhood starting from the family, which was the main basic institution for nurturing the behavior of people in society. Therefore, the development of concentration should be the development of the mind to be diligent in protecting the environment, to take any action, to use consciousness, and to be aware of the effects that would affect the environment. The third guideline was intellectual. It was found that training must be organized to educate people about environmental management, provide opportunities for people to participate in solving environmental problems, and encourage people to love, cherish, and follow the rules that had been set.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ