โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการสาธารณูปโภคในตลาดหนองดอกของเทศบาลเมืองลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of Buddhadhamma to Enhance Public Utility Management in Nong Dok Market of Mueang Lamphun Municipality
  • ผู้วิจัยพระศุภกฤษ ปริปุณฺโณ (ไชยหมอน)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48142
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 21

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการสาธารณูปโภคในตลาดหนองดอกของเทศบาลเมืองลำพูน 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการสาธารณูปโภคในตลาดหนองดอกของเทศบาลเมืองลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างการจัดการสาธารณูปโภคในตลาดหนองดอกของเทศบาลเมืองลำพูน

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) การวิจัยเชิงปริมาณมีประชากรหลักเป็นประชาชนที่อยู่ในชุมชนเขตเทศบาลเมืองลำพูนเนื่องจากเป็นผู้ใช้บริการหลักของตลาดหนองดอกมีจำนวน 9,681 คน ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จำนวน 385 คน เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการสาธารณูปโภคในตลาดหนองดอกของเทศบาลเมืองลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.22, S.D. = 0.687) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการสาธารณูปโภคในตลาดหนองดอกของเทศบาลเมืองลำพูน ด้านบุคคลอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการจัดการด้านเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณ ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการสาธารณูปโภคในตลาดหนองดอกของเทศบาลเมืองลำพูน โดยภาพรวม จำแนกตามเพศพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามวุฒิการศึกษาพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามสถานภาพพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอาชีพพบว่าไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

3.แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการสาธารณูปโภคในตลาดหนองดอกของเทศบาลเมืองลำพูน โดยใช้หลักจักร 4 พบว่า ปฏิรูปเทสวาสะคือการอยู่ในถิ่นที่ดีคือการพัฒนาสิ่งแวดล้อมบริเวณตลาดโดยให้พ่อค้าแม่ค้าได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางสัปปุริสปุสสยะคือการคบกับบุคคลที่สร้างประโยชน์ให้กับสาธารณะคือการจัดหาผู้สนับสนุนในการช่วยเหลือต่อการพัฒนาพื้นที่ตลาดหนองดอกทั้งด้านงบประมาณ และด้านความรู้ อัตตสัมมาปณิธิคือการปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์คือการสร้างความร่วมมือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในตลาด ปุพเพกตปุญญตาคือมีต้นทุนเดิมที่ดีทางสังคมคือการสนับสนุนให้เกิดบุคคลต้นแบบในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมตลาดหนองดอก

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

             The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the level of people’s opinions toward public utility management in Mueang Lamphun Municipality; 2) to compare people’s opinions toward public utility management in Mueang Lamphun Municipality classified by personal factors; 3) to propose the guidelines for applying Buddhadhamma to enhance public utility management in Nong Dok market of Mueang Lamphun Municipality.

             A mixed-methods approach was used in the study, which included both quantitative and qualitative methods. The quantitative method was used with 8,681 population residing in Mueang Lamphun Municipality. A sample group of 385 persons who were chosen using the Taro Yamane formula. The data were collected through questionnaire. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, and One-Way ANOVA. While the qualitative method employed in-depth interviews with 10 key informants, and the obtained data were analyzed by using content analysis.

              From the study, the following results are found:

             1) The of people’s opinions toward public utility management in Mueang Lamphun Municipality is overall at a moderate level (x̅= 3.22, S.D. = 0.687). When each aspect is considered, it is found that on personnel is at a high level, while on management, tool, equipment, and budget are at a moderate level, respectively.

         2) From comparing people’s opinions toward public utility management in Mueang Lamphun Municipality classified by personal factors, the results show that there are no differences when classifying by gender, age, educational level, status, and occupation; therefore, denying the null hypothesis.

       3) The guidelines for applying Cakka (four virtues wheeling one to prosperity) to enhance public utility management in Nong Dok market of Mueang Lamphun Municipality are as follows: Paṭirūpadesavāsa refers to living in a suitable region through developing the environment nearby the market and allowing merchants to take part in proposing the guidelines; Sappurisūpassaya refers to association with good people who benefit the public by assisting in the development of the market in terms of budget and knowledge; Attasammāpaṇidhi refers to setting oneself in the right course through cooperating with those involved in maintaining the environment of the market; Pubbekatapuññatā refers to having formerly done meritorious deeds which is to support in order to have a role model in maintaining environment of Nong Dok market.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ