-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of the Buddhadhamma to Enhance Motivation in Work Performance of Personnel at Lamphun Cultural Office
- ผู้วิจัยนางสาววาทินี ขันธิกุล
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48145
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 19
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิบาทธรรมและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี คือเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ การแจกแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับแรงจูงในในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ทำการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
ตามหลักอิทธิบาทธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (U= 4.96 = σ 0.85) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ตามหลักแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (U= 4.34 σ = 0.58)
2) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า หลักอิทธิบาทธรรมกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีระดับความสัมพันธ์น้อยมาก จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้สำเร็จและได้ผลสัมฤทธิ์ของงานต้องมีอิทธิบาทธรรม พบว่า 1) ด้านฉันทะ(ความพอใจ) บุคลากรมีความพอใจในสวัสดิการต่างๆ ของหน่วยงาน มีความพร้อมและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จ 2) วิริยะ(ความเพียรพยายาม มีความมุ่งมั่น ขยันและตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง และปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน 3) จิตตะ(ความเอาใจใส่) มีการส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานจนเกิดความชำนาญ 4) วิมังสา (การพิจารณาไตร่ตรองโดยใช้สติปัญญา) มีการประเมินตนเองและพิจารณาไตร่ตรองแก้ปัญหาโดยใช้สติปัญญาของตนจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the level of motivation in work performance of personnel at Lamphun Cultural Office; 2) to explore the correlation between Iddhipāda and motivation in work performance of personnel at Lamphun Cultural Office; and 3) to propose the guidelines for applying the Buddhadhamma to enhance motivation in work performance of personnel at Lamphun Cultural Office.
A mixed-methods approach was used in the study, which included both quantitative and qualitative methods. The quantitative method employed questionnaire-based survey research. The population included personnel at Lamphun Cultural Office, in a total of 50 persons. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and the Pearson correlation coefficient was used to determine the correlation between the Iddhipāda and motivation in work performance of personal at Lamphun Cultural Office. The qualitative method used in-depth interviews with 10 key informants, and the obtained data were analyzed by content analysis.
From the study, the following results are found:
1) The level of motivation in work performance of personnel according to Iddhipāda (Four Paths of Accomplishment) at Lamphun Cultural Office is overall at the highest level ( = 4.96, σ = 0.85). The motivation in work performance of personnel at Lamphun Cultural Office is overall at the highest level ( = 4.34, σ = 0.58).
2) From testing the hypothesis, it is found that Iddhipāda and motivation in work performance of personnel at Lamphun Cultural Office is overall correlated at a low level with a statistical significance of 0.01 level; therefore, accepting the null hypothesis.
3) The guidelines for enhancing motivation in performing work successfully require an application of Iddhipāda as follows: (1) Chanda (aspiration), in which personnel is satisfied with the welfares given by the organization, which results in preparedness and responsibility for effectively completing job; (2) Viriya (effort), in which personnel is committed and diligent in developing themselves and performing work in accordance with the aims of the organization; (3) Citta (thoughtfulness), in which there is a promotion to develop oneself in order to increase one's capacity at work till one becomes an expert; and (4) Vīmaṃsā (investigation by using wisdom), in which there is self-evaluation in order to reflect and solve problems using one's wisdom till the work is completed effectively.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|