-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยใหญ่ของหน่วยงานจัดหางานในอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of the Threefold Training (Sikkha) in Tai Yai People’s Quality of Life Development of Provincial Employment Office in Muaeng District in Lamphun Province
- ผู้วิจัยพระอาดุลย์ ปสนฺนจิตฺโต (แสนดี)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ไกรสร แสนวงค์
- วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48153
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 18
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยใหญ่ในอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของชาวไทยใหญ่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยใหญ่ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยใหญ่ของหน่วยงานจัดหางานในอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ชาวไทยใหญ่ที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานจัดหางานในอำเภอเมืองลำพูน จำนวน 4,997 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 369 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และในส่วนของข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูล สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของชาวไทยใหญ่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยใหญ่ของหน่วยงานจัดหางานในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน พบว่า ชาวไทยใหญ่ ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับคุณภาพชีวิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.91, S.D. = 0.486) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้สติปัญญา อยู่ในลำดับมากที่สุด (x̅ = 4.00, S.D. = 0.539) รองลงมาคือด้านสาธารณสุข, ด้านชีวิตการทำงาน และด้านสิ่งแวดล้อม ( x̅ = 3.97, S.D. =00.633, 0.457, 0.486), ส่วนด้านความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ อยู่ในลำดับน้อยที่สุด ( x̅ = 3.67, S.D. = 0.775)
2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของชาวไทยใหญ่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยใหญ่ของหน่วยงานจัดหางานในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ด้วยการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ชาวไทยใหญ่ที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. แนวทางการประยุกต์หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยใหญ่ของหน่วยงานจัดหางานในอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า ควรมีการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจว่าหลักธรรมไตรสิกขาคืออะไร ส่งเสริมให้ชาวไทยใหญ่ได้มีการประยุกต์ใช้หลักธรรมนี้เพื่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในสังคม ในด้านศีลนั้น เป็นการสร้างความดีในเบื้องต้นให้เกิดขึ้นในชีวิต เพราะศีลเป็นรากฐานแห่งความประพฤติที่ดีงาม เป็นบ่อเกิดสำคัญที่ทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานชาวไทยใหญ่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การประยุกต์ใช้หลักสมาธินั้น เป็นการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ เพราะสติและสมาธิเป็นผลต่อเนื่องกันและการใช้ปัญญาเป็นเครื่องพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการใช้ปัญญาอันเป็นความรู้ความสามารถของตนเองในการหาหนทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to study the level of quality-of-life improvement of Tai Yai people in Mueang Lamphun District, Lamphun Province, 2) to compare the opinions of Yai Tai people on the quality-of-life improvement of Tai Yai people, and 3) to bring proposal guidelines by applying the Trisikkha principles to improve the quality of life of Tai Yai people of employment agencies in Mueang Lamphun District, Lamphun Province. This study was a mixed method research.
The population used in the research were 4,997 Tai Yai residents under the supervision of the employment agency in Mueang Lamphun District. The population were randomly chosen by using Taro Yamane's formula. The sample size was 369 people. The data were collected by using questionnaires and then analyzed by Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) to find the frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by t-test and F-value with one-way analysis of variance. When differences were found, the pair differences were tested by the least significant difference method. The researcher would group the data and main points from the interviews, and then analyze the content data.
The results showed that:
1. For the level of opinions of Thai Yai people about the improvement of the quality of life of Tai Yai people of the employment agency in Muang District, Lamphun Province, it was found that Tai Yai people who answered the questionnaire had a level of quality of life at a high level (x̅ = 3.91, S.D. = 0.486). When considering each aspect, it was found that the use of intelligence was at the highest order ( x̅= 4.00, S.D. = 0.539), and followed by public health, working life, and the (x̅ = 3.97, S.D. = 0.633, 0.457, 0.486). The stability of the economy was in the least order ( x̅ =.67, S.D. = 0.775).
2. From the comparison of the opinion level of the Tai Yai people about the improvement of the quality of life of Tai Yai people of the employment agencies in Muang District, Lamphun Province by testing the hypothesis of the difference according to the personal factors, it was found that Tai Yai people with different gender, age, occupation, income and length of stay in Thailand had no different opinions on the level of quality-of-life improvement. Therefore, the hypothesis was rejected.
3. For the guidelines for applying the Trisikkha principles to improve the quality of life of Tai Yai people of the employment agencies in Mueang Lamphun District, Lamphun Province, it was found that awareness should be created to understand what the Threefold Dharma was. This was to encourage Tai Yai people to apply the principles in order to create good interactions with others in society. Precept was the preliminary creation of good deeds in life because precept was the foundation of good conduct. It was an important source for effective development of the quality of life of Tai Yai workers. The application of meditation created a conscious lifestyle since mindfulness and meditation were continual results. Using intelligence as a tool to improve quality of life was essential for improving quality of life. It was the use of wisdom which was one's own knowledge and ability to find ways to improve the quality of life sustainably.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|