โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ในประเทศไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddha Dhamma Integration to Enhance the Development of the Cosmetics Industry in Thailand
  • ผู้วิจัยนายภูริพัฒน์ ถนอมศรีอุทัย
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา13/09/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4816
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 68
  • จำนวนผู้เข้าชม 189

บทคัดย่อภาษาไทย

         ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 410 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล    

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. สภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (กิจกรรมหลัก) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=4.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้านได้แก่ การตลาดและการขาย (x̅=4.23) และอยู่ในระดับมากดังนี้ การดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ (=4.20) การจัดส่งสินค้าออก (=4.17) การนำวัสดุอุปกรณ์สินค้ามาใช้ในธุรกิจ (x̅ =4.12) และผลิตภัณฑ์และการให้บริการ (x̅ =4.07) ตามลำดับ

              2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย ผลการตรวจสอบสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านเกณฑ์ (P-value = 0.067, ×²= 81.71, df. = 64ײ/df = 1.276, GFI = 0.98, AGFI = 095, CFI = 1.00, SRMR = 0.032, RMSEA = 0.026) ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยกดดันทั้ง 5 ประกอบด้วย คู่แข่งรายใหม่ ลูกค้า สินค้าทดแทน ผู้จัดหาวัตถุดิบ และการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม มีค่าอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวมส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (กิจกรรมหลัก) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) หลักทุติยปาปณิกธรรม ประกอบด้วย จักขุมา (มีวิสัยทัศน์) วิธูโร (จัดการดี) นิสสยสัมปันโน       (มีมนุษยสัมพันธ์) มีอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวมส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (กิจกรรมหลัก) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) กิจกรรมสนับสนุน ประกอบด้วย โครงสร้างธุรกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี การจัดซื้อสินค้าและปัจจัยการผลิต มีอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลรวมส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (กิจกรรมหลัก) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

              3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย สามารถอธิบายความสัมพันธ์ได้ดังนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (กิจกรรมหลัก) ประกอบด้วย การนำวัสดุอุปกรณ์สินค้ามาใช้ในธุรกิจ การดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ การจัดส่งสินค้าออก การตลาดและการขาย ผลิตภัณฑ์และการให้บริการ โดยมีกิจกรรมสนับสนุน ประกอบด้วย โครงสร้างธุรกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี การจัดซื้อสินค้าและปัจจัยการผลิต โดยมีการบูรณาการหลักทุติยปาปณิกธรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ดังนี้  1) จักขุมา (มีวิสัยทัศน์) โดยดำเนินธุรกิจโดยอาศัยกระบวนการคิดที่รอบคอบและมีเหตุผล การศึกษาแนวโน้มและทิศทางของธุรกิจเครื่องสำอางอยู่เสมอการกำหนดวิสัยทัศน์ให้บุคลากรทราบถึงทิศทางที่ชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้ 2) วิธูโร (จัดการดี) โดยส่งเสริมให้บุคลากรค้นคว้า วิจัยเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค มีการศึกษา เรียนรู้ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ จัดอบรมความรู้และเทคนิคเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบริษัทให้บรรลุเป้าหมาย 3) นิสสยสัมปันโน (มีมนุษยสัมพันธ์) โดยร่วมกันป้องกันและแก้ไขผิดพลาดในการทำงาน การให้ความร่วมมือและประสานงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ยึดหลักของความเสมอภาคในการทำงานร่วมกันในองค์กร ผู้นำเป็นที่รักของคนในองค์กร และสามารถทำให้พนักงานปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study the cosmetics industry development in Thailand; 2. To study the causal relationship model affecting the cosmetics industry development in Thailand, and 3. To propose the model of Buddhadhamma integration for the cosmetics industry development promotion in Thailand, conducted by the mixed research methods. The quantitative research, data were collected from 410 samples and analyzed with the descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation and Exploratory Factor Analysis (EFA) and Structural Equation Modeling (SEM) with statistical program package. The qualitative research, field data were collected from 18 key informants with in-depth interviewing methods and from 9 participants in focus group discussion to confirm the body of knowledge model after data synthesis.   

              Findings were as follows:  

              1. Development condition of cosmetics industry (Main activities), by overall, was at high level (x̅ = 4.18). Each aspect was found that the highest level was marketing and sales (x̅ =4.23). The aspects that were at high levels were as follows: Operations of various departments (x̅ =4.20), delivery of goods (x̅ =4.17), use of materials, equipment, goods for use in business (x̅=4.12) and products and services (x̅ =4.07) accordingly

              2. The causal relationship model affecting the development of the cosmetics industry in Thailand, the audit results were consistent with the empirical data (P-value = 0.067, = 81.71, df. = 64, /df = 1.276, GFI = 0.98, AGFI = 095, CFI = 1.00, SRMR = 0.032, RMSEA = 0.026.). The results of the study were found that 1) The 5 forces factors consisted of new competitors, customers, substitute products, raw material suppliers. and competition within the industry had direct, indirect, and total influence values ​​affecting the development of the cosmetics industry. (Main activity) at the statistically significant level at 0.01 2) Dutiyapăpanikadhamma consisted of Cakkhumă, vision, Vithuro, well-management, Nissayasampanno, good human relations, had direct, indirect, and collective influences affecting the development of the cosmetics industry. (Main activities) at the statistically significant level at 0.01 3) Supporting activities consisted of business structure. human resource management, technology development, purchasing goods and inputs had direct influence and the collective influences affected the development of the cosmetics industry. (Main activity) at the statistically significant level at 0.01

    3. A model of Buddhadhamma integration for the cosmetic industry promote the development of in Thailand could explain the causal relationship as follows; Development of the cosmetics industry (Main activities) consisted of the use of materials and equipment in the business,  operations of various department, goods shipping for export, marketing and sales, products and services with the supporting activities that consisted of business structure, human resource management, technology development, purchasing goods and raw materials by integrating Dutiyapăpanikadhamma for cosmetics industry development as follows: 1) Cakkhumă, with vision by running business through a careful and rational thinking process, always studying the trends and directions of the cosmetics business, setting vision for personnel to know the direction that is clear and can be implemented 2) Vithuro, well Management, by encouraging personnel to research to keep up with changes in consumer behavior, study, learning about technology and information systems, organizing training on knowledge and techniques to be used for the development of the company to achieve its goals. 3) Nissayasampanno, good human relations, by jointly preventing and correcting mistakes in work, cooperation, and coordination between operators at all levels, adhering to the principles of equality in working together in the organization. Leaders are loved by personnel in the organization and are keen in encouraging employees to work willingly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301104217 6301104217 5.41 MiB 68 23 ก.ย. 2565 เวลา 19:52 น. ดาวน์โหลด