โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของเทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of People's Participation Toward Buddhist activities of Mueang Phichai Municipality, Mueang District, Lampang Province
  • ผู้วิจัยพระมหาธนวุฒิ ญาณโสภโณ (อินทนนท์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ไกรสร แสนวงค์
  • วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48163
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 25

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของเทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของเทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2.เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของเทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของเทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีคือการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยปริมาณจากการแจกแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 367 คน การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)  และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคนใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาจัดกลุ่มข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique) พร้อมทั้งนำเสนอโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล

                 ผลการวิจัยพบว่า

1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของเทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄  = 3.28, S.D. = 0.836) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของเทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการดำเนินงาน ด้านการตัดสินใจ ด้านการประเมินผล ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของเทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยภาพรวมจำแนกตามเพศพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามสถานภาพพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอาชีพพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามรายได้ พบว่า ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาพบว่า หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์คือการประชุมร่วมกันอยู่เป็นประจำซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปิดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนกัน พร้อมเพรียงกันประชุมเลิกประชุมและทำกิจที่ควรทำคือการประสานความร่วมมือกับชุมชนเป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกันที่จะทำให้เกิดการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพร้อมเพรียงกัน ไม่บัญญัติหรือเลิกล้มข้อบัญญัติตามอำเภอใจคือการสร้างข้อตกลงร่วมกันเพื่อเป็นกรอบในการยึดถือซึ่งจะทำให้เกิดการยอมรับร่วมกันในสิ่งที่กำหนดมาเป็นกรอบในการปฏิบัติร่วมกัน เคารพให้เกียรติและรับฟังความเห็นของผู้ใหญ่คือการสนับสนุนบทบาทของปราชญ์ผู้รู้ในชุมชนเป็นการให้ผู้รู้ และผู้สูงอายุในชุมชนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแต่ละขั้นตอนของการขับเคลื่อนกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในชุมชน ให้เกียรติคุ้มครองสตรีและเด็กคือการเปิดโอกาสให้กลุ่มแม่บ้านและเยาวชนในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรม เคารพสักการบูชาปูชนียสถานคือการสนับสนุนให้พื้นที่วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในชุมชนเป็นการส่งเสริมให้พื้นที่สำคัญในชุมชน ให้ความอารักขาแก่พระอรหันต์กสมณพราหมณ์และผู้ทรงวิชาคุณคือการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ในชุมชนเป็นการให้พระสงฆ์เข้ามามีบทบาทหลักในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The study entitled “The Development of People's Participation toward Buddhist Activities of Mueang Phichai Municipality, Mueang District, Lampang Province” consisted of the following objectives: 1) to investigate the level of people’s participation toward Buddhist activities of Mueang Phichai Municipality, Mueang District, Lampang Province; 2) to compare people’s participation toward Buddhist activities of Mueang Phichai Municipality, Mueang District, Lampang Province; and 3) to propose the guidelines for developing people’s participation toward Buddhist activities of Mueang Phichai Municipality, Mueang District, Lampang Province.

             A mixed-methods approach was used in the study, which included both quantitative and qualitative methods. The quantitative method employed questionnaire. A sample group consisted of 367 people residing in Mueang Phichai Municipality, Mueang District, Lampang Province, who were chosen by using Taro Yamane formula. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, One-Way Anova, and least significant difference (LSD). While the qualitative research method employed in-depth interviews with 10 key informants. The data were organized and analyzed using the content analysis technique before being presented in the form of descriptive person references.

                From the study, the following results are found:

          1) The level of people’s participation toward Buddhist activities of Mueang Phichai Municipality, Mueang District, Lampang Province is overall at the moderate level (x̄  3.28, S.D. = 0.836). When each aspect is considered, it is discovered that the following aspects are all at a moderate level, in the following order from high to low: taking benefits; operation; decision-making; and evaluation, respectively.

              2) From comparing people’s participation toward Buddhist activities of Mueang Phichai Municipality, Mueang District, Lampang Province classified by personal factors, the results show that there are no differences when classifying by gender, age, educational level, status, occupation, and income; therefore, denying the null hypothesis.

3) The guidelines for developing people’s participation toward Buddhist activities of Mueang Phichai Municipality, Mueang District, Lampang Province are as follows: to hold regular and frequent meetings which is the opportunity for idea exchanging; to meet together in harmony, disperse in harmony, and do their business and duties in harmony in order to have mutual agreement on carrying out various activities; to introduce no revolutionary ordinance, or break up no established ordinance, but abide by the original or fundamental norm and principles; to honor and respect the elders and deem them worthy of listening to, included having them participate at each stage of mobilizing Buddhist activities in the community; to respect and protect both women and girls by providing them opportunity to take part in organizing activities; to honor and worship the temple areas as the learning center in the community; to provide the rightful protection, shelter and support for the Arahants, monks, and scholars by allowing monks to take the main role in organizing Buddhist activities.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ