-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตตามหลักไตรสิกขาของบุคลากร เทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษStrengthening Personnel’s Quality of Life according to Tisikkhã of Wiang Yong Subdisrtict Municipality in Mueang Lamphun District, Lamphun Province
- ผู้วิจัยนางสาวดรุณี อุตเจริญ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48167
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 19
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตตามหลักไตรสิกขาของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัย เชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถาม ประชากรในการวิจัยคือ บุคลากรของเทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 137 คน และกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 103 คน โดยตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.856 ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาจัดกลุ่มข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.84, S.D. = 0.587) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า บุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยองมีระดับคุณภาพชีวิตด้านสังคม (x̄ = 4.00, S.D. = 0.621) ด้านร่างกาย (x̄= 3.82, S.D. = 0.727) ด้านจิตใจ (x̄= 3.78, S.D. = 0.633) ด้านสิ่งแวดล้อม (x̄= 3.74, S.D. = 0.670) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2) ผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตตามหลักไตรสิกขาของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำแนกตาม เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา สถานภาพ และตำแหน่ง พบว่า ในภาพรวมทุกด้านไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3) แนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตตามหลักไตรสิกขาของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า 1) ด้านศีลมีแนวทางโดยการจัดสวัสดิการ ด้านสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นให้บุคลากรและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ทั้งสุขภาพและบุคลิกภาพ เพื่อให้บุคลากรเกิดความสุขจากร่างกายที่สมบูรณ์ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพที่ดีที่จะทำให้บุคลากรดูมีความน่าเชื่อถือซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ 2) ด้านสมาธิมีแนวทางโดยจัดให้มีการปฏิบัติธรรมเพื่อฝึกสมาธิกิจกรรมสันทนาการเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและเพื่อความสามัคคีระหว่างบุคลากรและการจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ร่มรื่นเพื่อให้รู้สึกสบายใจเรียกได้ว่าเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้บุคลากรรู้สึกสบายใจมีภูมิต้านทานทางด้านจิตใจที่ดี 3) ด้านปัญญาคือ จัดให้มีหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธที่สามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิต ทั้ง ครอบครัว การทำงาน และสังคมเพื่อสร้างความเข้าใจผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ได้ทบทวนพิจารณาประสบการณ์ที่ผ่านมาของตัวเอง การปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจ เรียนรู้การพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมที่จะส่งผลให้บุคลากรมีความสุขในชีวิต ประจำวัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the opinion level on the quality of life of personnel at Wiang Yong Subdistrict Municipality, in Mueang Lamphun District, Lamphun Province; 2) to compare the opinions on the quality of life of personnel at Wiang Yong Subdistrict Municipality, in Mueang Lamphun District, Lamphun Province; and 3) to propose the guidelines for strengthening the quality of life according to Tisikkhā of personnel at Wiang Yong Subdistrict Municipality, in Mueang Lamphun District, Lamphun Province.
The study used a mixed-methods research, with the quantitative method employing a questionnaire having a reliability of 0.856. The population included 137 personnel of Wiang Yong Subdistrict Municipality, in Mueang Lamphun District, Lamphun Province. A sample group of 103 people was chosen using the Taro Yamane formula. The obtained data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, One-Way ANOVA, and Least Significant Difference (LSD). The qualitative method used in-depth interviews with 10 key informants, and the acquired data used data grouping for content analysis.
From the study, the following results are found :
1) The level of quality of life of personnel at Wiang Yong Subdistrict Municipality, in Mueang Lamphun District, Lamphun Province is overall at a high level (x̄ = 3.84, S.D. = 0.587). When each aspect is considered, it is found that personnel at Wiang Yong Subdistrict Municipality has the quality of life in the following aspects at a high level: Society (x̄ = 4.00, S.D. = 0.621), physical body (x̄ = 3.82, S.D. = 0.727), mentality (x̄ = 3.78, S.D. = 0.633), and environment (x̄ = 3.74, S.D. = 0.670), respectively.
2) From comparing the opinions on the quality of life of personnel at Wiang Yong Subdistrict Municipality, in Mueang Lamphun District, Lamphun Province classified by gender, age, income, educational level, status, and position, it is discovered that overall there is no difference; therefore, denying the null hypothesis.
3) The guidelines for enhancing the quality of life according to Tisikkhā of personnel at Wiang Yong Subdistrict Municipality, in Mueang Lamphun District, Lamphun Province are found as follows: (1) On Sīla (morality), there is a guideline in managing better health welfare for personnel as well as planning activities that can enhance health and personality so personnel can become happier and more credible in performing their duties; (3) On Samadhi (concentration), there is an arrangement of meditation practice to practice concentration, a recreational activity to establish positive relationships and unity among personnel, and an atmosphere where personnel feel comfortable with good mental immunity; and (3) On Paññā (wisdom), there is a curriculum to improve one's quality of life that can be used with oneself, family, work, and society to create understanding via the learning process as well as examining and pondering one's experience, work performance, and relationships with others. This will lead to appropriate self-development and happiness in daily life.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|