-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักปัญญาวุฒิธรรมเพื่อส่งเสริมการจัดการความรู้ของผู้นำท้องที่ในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of Paññāvuḍḍhi to Promote Learning Management of Local leaders in Pa Sang District, Lamphun Province.
- ผู้วิจัยนายมนู ติ๊บมะโน
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48176
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 17
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของ ผู้นำท้องที่ในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 2. เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของผู้นำท้องที่ใน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เสนอการประยุกต์หลักปัญญาวุฒิธรรม เพื่อส่งเสริมการจัดการความรู้ของผู้นำท้องที่ในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ในเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำท้องที่ในอำเภอป่าซาง จำนวน 310 คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช่สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 175 คน และเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้ายการทดสอบค่าที (t-test) และค่า F (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Anova) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LDS) ในเชิงคุณภาพ ได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป หรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็น การสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล
ผลการวิจัยพบว่า
1. จากการศึกษาระดับการจัดการความรู้ของผู้นำท้องที่ในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.39 S.D.= 0.411) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการสร้างและการจัดหาความรู้อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.41 S.D.= 0.440) รองลงมาคือ ด้านการจัดการและการจัดเก็บความรู้อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.39 S.D.= 0.466) ด้านการกระจายความรู้อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.38 S.D.= 0.509) และด้านการประยุกต์ความรู้ ในการใช้งานอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.39 S.D.= 0.470 ) ตามลำดับ
2. เมื่อทำการเปรียบเทียบการจัดการความรู้ตามหลักปัญญาวุฒิธรรม พบว่า ผู้นำท้องที่ที่มีอายุต่างกัน มีการจัดการความรู้ที่แตกต่างกัน (F=3.662 , Sig=0.028) โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจะพบว่า ด้านการจัดการและการจัดเก็บความรู้ (F=3.206 , Sig=0.043) และด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ (F=3.427 , Sig=0.035) ผู้วิจัยจึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ในด้านการจัดการและการจัดเก็บความรู้และด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานจึงพบว่า ผู้นำท้องที่ที่มีอายุ 20 – 30 ปี และผู้นำท้องที่ที่มีอายุ 31 – 40 ปี มีการจัดการและการจัดเก็บความรู้ มากกว่าผู้นำท้องที่ที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้นำท้องที่ที่มีอายุ 20 – 30 ปี และผู้นำท้องที่ที่มีอายุ 30 – 40 ปี มีการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานมากกว่าผู้นำท้องที่ที่มีอายุ 51 ปี ขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. แนวทางการประยุกต์หลักปัญญาวุฒิธรรม เพื่อเสริมสร้างการจัดการความรู้ของผู้นำท้องที่ ในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 1.การอยู่ใกล้ชิดคนดีมีความรู้ (สัปปุรสสังเสวะ) ผู้นำท้องที่ต้องอยู่ใกล้ชิดคนดี มีความรู้ 2.การเอาใจใส่เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (สัทธัมมัสวนะ) ผู้นำท้องที่ต้องหมั่นพัฒนาต่อยอดความรู้ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ 3.การวิดเคราะห์แบบมีเหตุผล (โยนิโสมนสิการ) ผู้นำท้องที่ต้องใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์เหตุผลอย่างมีสติ 4.สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน (ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ) ผู้นำท้องที่สามารถนำหลักคิดตามหลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องยึดหลักธรรมในการปฏิบัติงาน มีความจริงใจ ตั้งใจ ข่มใจ และอดทนต่อปัญหา อุปสรรค
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the opinion level on learning management of local leaders in Pa Sang District, Lamphun Province; 2) to compare the opinion level on learning management of local leaders in Pa Sang District, Lamphun Province; and 3) to propose an application of Paññāvuḍḍhi to promote learning management of local leaders in Pa Sang District, Lamphun Province.
The study applied a mixed-methods research, which included both quantitative and qualitative methods. The quantitative method consisted of population who were local leaders in Pasang District, in a total of 310 persons. While a sample group used Taro Yamane formula to select 175 persons. The data were collected by employing questionnaire, and obtained data were analyzed using Statistic Program for the Social Sciences to find frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, One-Way ANOVA, Least Significant Difference (LSD). In terms of qualitative method, the data were collected via the interviews with 10 persons. The obtained data were grouped and analyzed using the content analysis technique before being presented in the form of descriptive person references.
The finding of the research were as follows :
1. The level of knowledge management of local leaders in Pasang District, Lamphun Province is overall at a high level (x̄ = 4.39 S.D. = 0.411). When each aspect is considered, it is found that knowledge generation and acquisition is at a high level (x̄ = 4.41 S.D. = 0.440), followed by knowledge management and storage that is at a high level (x̄ = 4.39 S.D. = 0.466), knowledge distribution that is at a high level (x̄ = 4.38 S.D. = 0.509) and knowledge application in work performance that is also at a high level (x̄ = 4.39 S.D. = 0.470 ), respectively.
2. From comparing the opinion level on learning management according to Paññāvuḍḍhi (virtues conducive to growth in wisdom), it is discovered that local leaders with different age have different knowledge management (F=3.206, Sig=0.028). When each aspect is taken into account, it is found as follows: knowledge management and storage (F=3.206, Sig=0.043) and knowledge application in work performance (F=3.427, Sig=0.035). The Least Significant Difference (LSD) was tested with knowledge management and storage as well as knowledge application in work operation, and the results revealed that local leaders between the ages of 20 and 30 and those between the ages of 31 and 40 have higher knowledge management and storage than those over the age of 51, with a statistical significance of 0.05. While the local leaders between the ages of 20 – 30 and those between the ages of 30 – 40 years have higher knowledge application in work performance than those over the age of 51, with a statistical significance of 0.05.
3. The guidelines for applying Paññāvuḍḍhi to promote knowledge management of local leaders in Pasang District, Lamphun Province are: (1) Sappurisasaṃseva refers to the association with good and wise persons; (2) Saddhammassavana prefers to hearing good things in order to broaden one's knowledge and create a new body of knowledge; (3) Yonisomanasikāra refers to analytical reflection through the use of wisdom and mindfulness; and (4) Dhammānudhammapaṭipatti refers to living in conformity with the Dhamma and scientific principles in work performance, as well as having sincerity, attentiveness, tolerance, and patience towards problems and difficulties.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|