โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การเสริมสร้างการให้บริการตามหลักพละธรรมของบุคลากร เทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษService Enhancement Under the Buddhist Principle of Bala of Personnel of Wiang Yong Subdistrict Municipality in Mueang Lamphun District in Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนางพัชนียา มโนสมุทร
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
  • วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48356
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 34

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการให้บริการของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการให้บริการของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างการให้บริการตามหลักพละธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการเสริมสร้างการให้บริการตามหลักพละธรรม ของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเวียงยองที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 5,391 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 373 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ที่มาใช้บริการเทศบาลตำบลเวียงยอง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะทำการจัดกลุ่มข้อมูล 6 กลุ่ม จำนวน 10 รูป หรือคน จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล

                   ผลการวิจัยพบว่า

               1) ระดับการให้บริการประชาชนตามหลักบริการ ของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า ผลรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 0.454) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับค่าเฉลี่ย ได้แก่ 1) ด้านการยิ้มแย้มแจ่มใส ( = 4.26, S.D. = 0.523) 2) ด้านการเป็นผู้รักษาภาพลักษณ์ให้องค์กรอยู่ตลอดเวลา ( = 4.26, S.D. = 0.540) 3) ด้านการเป็นผู้มีความอ่อนโยน สุภาพ มีกิริยามารยาทที่ดี ( = 4.25, S.D. = 0.550) 4) ด้านการให้บริการด้วยความเต็มใจ ( = 4.24, S.D. = 0.559) 5) ด้านการมีความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง ( = 4.23, S.D. = 0.545) 6) ด้านการแสดงออกถึงความนับถือให้เกียรติยกย่องผู้รับบริการต ( = 4.22, S.D. = 0.563) 7) ด้านการตอบสนองที่รวดเร็วต่อความต้องการของผู้รับบริการ ( = 4.21, S.D. = 0.580)

        2) ผลการเปรียบเทียบการให้บริการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าด้านอาชีพ แตกต่างกัน (F=4.006, Sig.=0.001) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐาน ส่วนด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน

               3) แนวทางการเสริมสร้างการให้บริการตามหลักพละธรรม ของบุคลากรเทศบาลตำบลเวียงยอง พบว่า 1) ด้านปัญญาพละ บุคลากรต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ มีความรู้ในเรื่องที่บริการ องค์กรต้องวางคนให้ถูกกับงาน ต้องสร้างแนวคิดที่ดีให้องค์กร ควรส่งเสริมบุคลากรให้แสดงความรู้ความสามารถให้มากขึ้น 2) ด้านวิริยะพละ บุคลากรต้องมีความขยันหมั่นเพียร พยายามตั้งมั่นตั้งใจในการทำงาน มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคใด ๆ หน่วยงานควรสนับสนุนบุคลากรเจ้าหน้าที่ขององค์กรให้พัฒนาตั้งแต่เรื่องความคิดสร้างสรรค์ จนเกิดเป็นพลังใจในการทำงาน 3) ด้านอนวัชชพละ บุคลากรต้องทำตามระเบียบ เคารพกฎ ระเบียบ ต้องใช้วิจารณญาณต้องมองความเดือดร้อนของประชาชนมาร่วมกันคิด ต้องยึดหลักการอยู่ร่วมกัน 4) ด้านสังคหพละ 1.ทาน คือ ผู้ให้บริการต้องให้ความรู้ คำแนะนำ การอธิบายแก่ประชาชน 2.ปิยวาจา ผู้ให้บริการต้องมีจิตสาธารณะ ให้เกียรติผู้อื่น พูดจาไพเราะ สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สร้างความพึงพอใจและความประทับใจในการรับบริการ 3.อัตถจริยา คือ บุคลากรต้องให้การช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ เต็มใจ แก้ไขปัญหาต่าง ๆด้วยความกระตือรือร้น นึกถึงความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก สร้างความประทับใจให้ประชาชน 4.สมานัตตา ให้บริการด้วยความเสมอต้นเสมอปลาย ไม่เลือกปฏิบัติ ให้บริการตามระเบียบและมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น สร้างความไว้วางใจให้กับประชาชนผู้มารับบริการ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            This research aimed to 1) study the service level of personnel of Wiang Yong Municipal District, Mueang Lamphun District, Lamphun Province, 2) compare opinions about the service of personnel of Wiang Yong Municipal District, Mueang Lamphun District, Lamphun Province, and 3) present guidelines for enhancing service in accordance with the principles of Power Dhamma of personnel of Wiang Yong Municipal District, Mueang Lamphun District, Lamphun Province. This was mixed methods research. The population and the sample group were 5,391 people in Wiang Yong Sub-District Municipality, aged 18 years and over. The sample size was randomized using the Taro Yamane formula. 373 people were selected. The data was collected by using a questionnaire with those who used the services of Wiang Yong Subdistrict Municipality. The data was analyzed by using a Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) in order to find the frequency, percentage, mean, and standard deviation values ​​for characterizing the general data. The hypothesis was tested by t-test and F-test by One-Way Anova analysis. If there was any difference, it would be tested with pair difference by using Least Significant Difference (LSD). For the information from the interview, the researcher would group the data into six groups from ten key informants, and then analyze the content data by using descriptive references from people's words.

                 Findings were as follows;

           1. The level of public service according to the service principle of personnel of Wiang Yong Subdistrict Municipality, Muang Lamphun District, Lamphun Province showed that the overall results were at a high level (x̅ = 4.23, S.D. = 0.454). It was at a high level in all aspects in order of average, which were 1) smiling (x̅ = 4.26, S.D. = 0.523), 2) being a person who maintained an image for the organization all the time (x̅ = 4.26, S.D. = 0.540), 3) being gentle, polite, having good manners (x̅ = 4.25, S.D. = 0.550), 4) serving willingly (x̅  = 4.24, S.D. = 0.559), 5) being enthusiastic and energetic (x̅ = 4.23, S.D. = 0.545), 6) showing respect and honoring service recipients (x̅ = 4.22, S.D. = 0.563), and 7) having fast response to the needs of service recipients (x̅ = 4.12, S.D. = 0.580).

        2. Service comparison results classified by personal factors showed that occupations were different (F=4.006, Sig.=0.001) with statistical significance at the 0.05 level. Therefore, the hypothesis was accepted. There was no difference of sex, age, educational level, and income. The hypothesis was rejected.

          3. There were four guidelines for enhancing the service according to the principle of Bala (strength; force; power) of Wiang Yong Subdistrict Municipality personnel. The first one was power of wisdom. Personnel were required to have knowledge about the work in performing their duties, and knowledge of services. The organization must place the right people for the right job to create a good idea for the organization. Personnel should also be encouraged to show more knowledge and abilities. The second one was power of energy. They must be diligent, strive to focus on work with high patience, punctuality, no procrastination, and not discouraged by any obstacles. The organization should support personnel and to develop their creativity until it became the power to work. The third one was power of faultlessness. Personnel must comply with regulations, respect rules and regulations, use discretion, pay attention to the public for solving problems, and adhere to the principle of coexistence. The fourth one was power of sympathy: 1. Dana (gift) means service providers must provide knowledge, advice, and explanations to people, 2. Piyavaca (kindly speech) means service providers must have a public mind, respect others, speak sweetly, build good human relations, create satisfaction and impression in receiving services with enthusiasm, 3. Atthacariya (doing good) means personnel must provide assistance to the fullest extent of their ability, be willing to solve problems with enthusiasm by considering the suffering of the public, and impress people, and 4. Samanattata (equality) means personnel provide services with consistency and no discrimination. They should provide services according to the same regulations and standards with no racial discrimination, and build trust with people who received services.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ