โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDrug Addicts Rehabilitation Administration of Wat Thamkrabok Phrabuddhabat District, Saraburi Province
  • ผู้วิจัยพระสมุห์บุญโชค กิตฺติสาโร (คำภีระ)
  • ที่ปรึกษา 1รศ.ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร. สมาน งามสนิท
  • วันสำเร็จการศึกษา11/10/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4836
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 272
  • จำนวนผู้เข้าชม 203

บทคัดย่อภาษาไทย

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และ 3. เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการพัฒนาการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 123 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย จากประชากรจำนวน 180 คน ซึ่งเป็นผู้เข้ารับการบำบัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.972  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า

             1. การบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี พบว่า ระดับปัจจัยการดำเนินงาน โดยภาพรวม เฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมาก (= 4.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ระดับปัจจัยหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวม เฉลี่ยทุกด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.02) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน และระดับการพัฒนาการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด วัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวม เฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมาก (= 4.04) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

             2. ปัจจัยการดำเนินงาน ส่งผลต่อการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอกอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับดังนี้ คือ ด้านบุคลากร ด้านการจัดการ ด้านงบประมาณ และด้านวัสดุ และสามารถร่วมกันทำนายความผันแปรได้ร้อยละ 66.9 จึงยอมรับสมติฐานที่ 1 ปัจจัยหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอกอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับดังนี้ คือ ด้านฉันทะ (ความพอใจ) ด้านวิริยะ (ความเพียร) ด้านวิมังสา (ไตร่ตรอง) และด้านจิตตะ (เอาใจใส่) และสามารถร่วมกันทำนายความผันแปร ได้ร้อยละ 84.2 จึงยอมรับสมติฐานที่ 2 ปัจจัยการดำเนินงานและปัจจัยหลักอิทธิบาท 4 มีอิทธิพลต่อการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอกอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับดังนี้ คือ ปัจจัยการดำเนินงาน และปัจจัยหลักอิทธิบาท 4 และสามารถร่วมกันทำนายความผันแปรได้ ร้อยละ 76.1 จึงยอมรับสมติฐานที่ 3

             3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการพัฒนาการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 กับปัจจัยการดำเนินการ เพื่อการพัฒนาการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดให้ได้รับการฟื้นฟู 3 ด้านคือ 1) ด้านการฟื้นฟูทางกาย ทำกิจวัตรเป็นประจำทุกวัน  รับประทานยาและยาตัด อบสมุนไพรเป็นประจำ จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกาย ฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยด้วยกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 2) ด้านการฟื้นฟูทางใจ ฝึกสมาธิอบรมจิตใจเป็นประจำ ทำวัตรสวดมนต์ทุกวัน  จัดให้มีกิจกรรมฟังพระธรรมเทศนาเป็นประจำ ให้ความรู้เกี่ยวกับคุณหรือโทษของยาเสพติดปัญหาและทางออก จัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายจิตใจ และ 3) ด้านการส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมคุณธรรมในการประกอบสัมมาชีพ ฝึกอบรมให้ประกอบอาชีพอาชีพสุจริตเช่น ทำเซรามิก ก่อสร้าง เกษตรกรรม เป็นต้น ส่งเสริมอาชีพตามความถนัดของแต่ละคน ให้ความรู้ในการประกอบสัมมาอาชีพ ส่งเสริมพัฒนาผู้ป่วยให้มีอาชีพหลังการฟื้นฟู

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        Objectives of this dissertation were: 1. To study the drug addict rehabilitation administration of Wat Thamkrabok Phrabuddhabat District, Saraburi Province, 2. To study the factors affecting the drug addict rehabilitation administration of Wat Thamkrabok Phrabuddhabat District, Saraburi Province and 3. To propose the application of Buddha-dhamma to develop the drug addict rehabilitation administration of Wat Thamkrabok Phrabuddhabat district, Saraburi Province.

              Methodology was the mixed methods: The quantitative research, data were collected from 123 by simple random sampling from the populations of 180 people who were the addicts. The tool used for data collection was 5 rating scales questionnaires with the reliability value at 0.972. The statistics used were Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, SD. and Multiple Regression. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 18 key informants and 9 participants in focus group discussion. The data were analyzed by content descriptive interpretation.

              Findings were as follows:

              1. The drug addict rehabilitation administration of Wat Thamkrabok Phrabuddhabat District, Saraburi Province was found that the operational factors by overall were at high level (= 4.03), all aspects also were at high level, Iddhibāda 4 by overall were at high level (= 4.02), all aspects also were at high level and the development of drug addict rehabilitation administration of Wat Thamkrabok Phrabuddhabat District, Saraburi Province by overall was at high level (= 4.04), all aspect were also  at high level.

 

              2. The operational factors that affected the drug addict rehabilitation administration of Wat Thamkrabok Phrabuddhabat District, Saraburi Province at the statistically significant level of 0.01 sorted in ascending order by Man, Management, Money and Materials and then could together explain the variations up to 66.90% accepted first hypothesis. The factors of Iddhibāda 4 affected the drug addict rehabilitation administration of Wat Thamkrabok Phrabuddhabat District, Saraburi Province at the statistically significant level of 0.01 sorted in ascending order by Canda, Viriya, Vimasā and Citta and then could together explain the variations up to 84.20% accepted second hypothesis. The operational factors and Iddhibāda 4 affected the drug addict rehabilitation administration of Wat Thamkrabok Phrabuddhabat District, Saraburi Province at the statistically significant level of 0.01 sorted in ascending order by operational factors and Iddhibāda 4 and then could together explain the variations up to 66.90% accepted third hypothesis.

              3. The application of Buddha-dhamma for development of drug addict rehabilitation administration of Wat Thamkrabok Phrabuddhabat District, Saraburi Province was integration between operational factors and Iddhibāda 4 to develop the drug addict rehabilitation administration in 3 aspects included 1) Physical rehabilitation included doing a daily routine, taking pills and cutting pills, baking herbs regularly, organizing activities for patients to exercise and rehabilitate the patient's body through service activities, 2) Mental rehabilitation included practicing meditation to train the mind regularly, doing daily prayers, organizing activities to listen to sermons on a regular basis, educating about benefits or the dangers of drugs, problems and solutions, organizing recreational activities for patients to relax their minds and 3) Occupation promotion included promoting morality in the practice of livelihood, training for such occupations as ceramics making, construction, agriculture, etc., promoting careers according to each person's aptitude, providing knowledge for honest career and promoting the development of patients to have a career after rehabilitation.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101104218 6101104218 4.51 MiB 272 21 ต.ค. 2565 เวลา 15:54 น. ดาวน์โหลด