-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการจัดการทรัพยากรไฟฟ้าในอาคารแบบบูรณาการของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Integrated Model of Electrical Resource Management in Buildings for Lamphun Buddhist College Mahachulalongkornrajavidyalaya University
- ผู้วิจัยนายอนุชิต อินทำ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ไกรสร แสนวงค์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48360
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 16
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้ทรัพยากรไฟฟ้าในอาคารของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรไฟฟ้าในอาคารแบบบูรณาการของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการทรัพยากรไฟฟ้าในอาคารแบบบูรณาการของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย ด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารแนวคิด ทฤษฎีและหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้อง จากนั้นสร้างเครื่องมือวิจัยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน และการประชุมกลุ่มสนทนากลุ่มเฉพาะ ของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จำนวน 8 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท เพื่อให้ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางการกำหนดรูปแบบการจัดการทรัพยากรไฟฟ้าในอาคารแบบบูรณาการของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้ทรัพยากรไฟฟ้าภายในอาคารของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นสภาพการจ่ายกระแสไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้าของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน สถิติการใช้พลังงานไฟฟ้าและความต้องการพลังงานไฟฟ้า และทรัพยากรไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในอาคาร โดยมีจุดเด่นคือมีการจ่ายไฟเป็นสัดส่วนอาคารที่ชัดเจนสามารถจัดกลุ่มบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่ควรปรับปรุงและแนะนำดังนี้ ประการแรกควรจะต้องมีการติดตั้งมิเตอร์วัดการใช้พลังงานไฟฟ้าของแต่ละอาคารเพื่อวัดการใช้พลังงานไฟฟ้าใช้งานของแต่ละกิจกรรมอาคาร เนื่องจากหม้อแปลงไฟฟ้ามีการติดตั้งจ่ายไฟให้กับทุกอาคารเพื่อง่ายต่อการควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้า ประการที่ 2 ขนาดติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ายังสามารถลดขนาดตามความต้องการการใช้กำลังไฟฟ้าเพื่อให้เหมาะสมและลดหน่วยไฟฟ้าสูญเสียในตัวของหม้อแปลงไฟฟ้าอีกด้วย และประการที่ 3 จากข้อมูลพบว่าในการติดตั้งระบบแสงสว่างยังคงมีโคมไฟฟ้าที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ประกอบกับชุดบาลาสต์ ทำให้ใช้กำลังไฟฟ้าสูงจึงควรเลือกหลอดไฟที่ประหยัดกำลังไฟฟ้าอย่างเช่น หลอดไฟแอลอีดีมาติดตั้งแทน
2. การจัดการทรัพยากรไฟฟ้าให้เกิดความประหยัดและคุ้มค่า ให้เกิดการจัดการที่เหมาะสมกับวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน โดยสร้างแนวทางเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน มีจิตสำนึกมีจิตอาสา จะต้องนำระบบ ISO 50001 มาร่วมจัดการด้วย และพระราชบัญญัติ (พรบ.) ในการส่งเสริมพลังงานอนุรักษ์พลังงานมาใช้ในการจัดการ จนเป็นแนวทางแบบสำรวจตรวจสอบ นำมาสู่แต่ละกระบวนการซึ่งหลักๆจะมี 8 กระบวนการ อันประกอบด้วย การตั้งคณะทำงาน การประเมินก่อนทำ กำหนดนโยบาย การประเมินศักยภาพ การกำหนดเป้าหมายและแผนงาน การดำเนินงาน การตรวจติดตาม และการทบทวนกระบวนงานตลอดจนความต่อเนื่อง จนกระทั่งการนำหลักธรรมมาช่วยในการขับเคลื่อน หรือเป็นส่วนประกอบที่จะหนุนนำการบริหารจัดการ รวมถึงการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด
3. รูปแบบการจัดการทรัพยากรไฟฟ้า ได้นำแนวทางการจัดการพลังงาน ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน นำมาประยุกต์ร่วมกระบวนงานทั้ง 8 ขั้นตอน โดยกำหนดคณะทำงานกลุ่มย่อย เพื่อให้เกิดการแข่งขันภายในองค์กรนำไปสู่การพัฒนา ซึ่งแบ่งตามบริบทของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูนอันประกอบด้วย กลุ่มงานอาคารอำนวยการ กลุ่มงานอาคาร 1 และกลุ่มงานอาคาร 2 โดยมีหน้าที่กำหนดแผนการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรไฟฟ้าภายในแบบบูรณาการของกลุ่มย่อย การระบุประเด็นปัญหา วิเคราะห์ประเมินปัญหาและควบคุมดูแล จัดเก็บข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า และหน่วยไฟฟ้าที่ใช้รายเดือน พร้อมทั้งมีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ทบทวนและปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นตลอดจนนโยบายพร้อมทั้งบันทึกผลการทบทวนระบบจัดการทรัพยากรไฟฟ้าภายในแบบบูรณาการของกลุ่มย่อย โดยต้องมีการแต่งตั้งคณะทำงานของกลุ่มย่อยเพื่อกำหนดมอบหมายหน้าที่ให้ชัดเจนและสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าและคุ้มค่าในการใช้งานของกลุ่ม การบริหารกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างต่อเนื่องขององค์กร รวมถึงการนำหลักธรรมอิทธิธรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสำเร็จ มีความพอใจในการงานที่ตนเองทำ ความขยันขันแข็ง มีความตั้งอกตั้งใจ และการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this thesis were (1) to study and analyze the use of electrical resources in the buildings of Lamphun Buddhist College Mahachulalongkornrajavidyalaya University, (2) to study the integration models of electrical resources management in buildings of Lamphun Buddhist College Mahachulalongkornrajavidyalaya University, and (3) to present an integration model electrical resources management in buildings of Lamphun Buddhist College Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
This research was conducted in accordance with a qualitative research methodology by studying the information from concept papers, related theories, and principles of Buddhism. An in-depth interview research tool was constructed to collect data from seventeen key informants as well as a focus group discussion of eight qualified persons with knowledge, expertise and experience. The technique used in this research was content analysis with contextual content to provide opinions, recommendations, and guidelines for identifying the integration model of electricity resources management in buildings of Lamphun Buddhist College Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
The findings of this research were found as follows:
1. For the distinctive point of the use of electricity resources in the building of Lamphun Buddhist College Mahachulalongkornrajavidyalaya University in terms of the condition of the electricity supply of the power transformers, electricity consumption statistics, electricity demand, and electrical resources installed inside the buildings, it showed that the power supply was clearly proportional to the building, which could be organized and managed efficiently. On the other hands, there were three recommendations and improvement. First of all, each building’s electricity consumption meter should be installed to measure the active electricity consumption of each building’s activities. The reason was that transformers were installed to supply power to every building to make it easier to control the use of electricity. The second recommendation was that the installation size of the transformer could also be reduced in size according to the needs of the use of electric power in order to be appropriate and reduce the loss of the power unit in the transformers as well. The third recommendation was that fluorescent lamps with ballast sets should be provided to increase the use of high power. Therefore, energy-saving lamps such as LED bulbs should be installed instead.
2. For economical, cost-effective, and appropriate electricity resource management of Lamphun Buddhist College, some guidelines should be constructed for energy conservation management by using the ISO 50001 system and the Act on promotion of energy saving in buildings. These could be guidelines for survey and investigation, which led to eight main processes: work group establishment, work group pre-approval, policy formulation, potential assessment, setting goals and plans, operations, monitoring, and review of procedures for continuity. Furthermore, Buddhist principles were introduced to help drive the processes or work as a component to support management including working to achieve goals and maximum results.
3. The electric resources management model was adopted from energy management guidelines according to the Energy Conservation Promotion Act, and applied into the 8-step processes. Subgroups were constructed to create competition within the organization leading to development, which were divided according to the context of the Lamphun Buddhist College. There were two groups: Administration Group Building 1 and Building 2, which were responsible for setting integrated internal electricity resource management plans for the sub-groups, identifying issues, analyzing problems, controlling and recording the use of electricity and monthly electricity use. In addition, there should be analysis for problems and solutions to reduce the use of electricity as well as reviewing and improving the problems and obstacles. The use of electricity should be recorded to review the integrated internal electricity management system of the subgroups. Working group of sub-groups must be appointed to clearly define the assignments, be able to save electricity, and be worthwhile for the group's use. This included the management of activities to increase efficiency and continual development of the organization by applying the Buddhist principles (Iddhipada or path of accomplishment) to gain success and satisfaction in doing work with diligence, good intention, and continuous improvement.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|