โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของนักสังคมสงเคราะห์ในจังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Promotion of Well-Being Development Under the Bhavana Principle of Social Workers in Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนางสาวรจนา แก้วกาศ
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
  • วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48385
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 33

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพสุขภาวะของนักสังคมสงเคราะห์ในจังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาสุขภาวะของนักสังคมสงเคราะห์ในจังหวัดลำพูน 3) แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของนักสังคมสงเคราะห์ ในจังหวัดลำพูน ควรเป็นอย่างไร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยเป็นการศึกษากระบวนการ การส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของนักสังคมสงเคราะห์ในจังหวัดลำพูน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการสัมภาษณ์ที่มีการเตรียมประโยคสำคัญเนื้อหาเฉพาะมาใช้ในการสัมภาษณ์แต่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้พูดเนื้อหาอื่นแต่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการให้ ได้เนื้อหาในระหว่างสัมภาษณ์ และข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ (Documentary Research) การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลจะออกมาในลักษณะของการพรรณาซึ่งนำไปสู่คำตอบ ในการศึกษาและสรุปตามหลักวิชาการประกอบการเขียนรายงานเพื่อชี้ให้เห็นการส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของนักสังคมสงเคราะห์ตามหลักภาวนา 4

ผลการวิจัยพบว่า

                 1. นักสังคมสงเคราะห์มีภาวะความเครียดและมีภาวะเป็นโรคซึมเศร้าซึ่งเกิดจากปัจจัย 3 ปัจจัยสำคัญ คือ ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านร่างกาย จิตใจ สังคม

                  2. การส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของนักสังคมสงเคราะห์ คือ การสร้างวินัยเชิงบวก การสร้างพลังบวก โดยใช้แนวคิดการปรับสมดุลชีวิตระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว เพื่อลดผลกระทบของสุขภาวะจากการทำงาน

                  3. แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของนักสังคมสงเคราะห์ในจังหวัดลำพูน  1) ด้านกายภาวนา คือ การพัฒนาสุขภาพให้ดี นักสังคมสงเคราะห์ให้ความสำคัญการส่งเสริมการออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง มีการสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน บรรยากาศในการทำงาน รวมทั้งได้รับสิทธิสวัสดิการในการรักษาพยาบาล การตรวจร่างกายประจำปี การตรวจสุขภาพจิตของนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้สุขภาวะทางกายของนักสังคมสงเคราะห์ดีขึ้น การนำหลักภาวนา 4 ด้านกายภาวนา มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาวะ การเจริญกาย พัฒนากาย การฝึกอบรม ทำให้นักสังคมสงเคราะห์มีวินัยในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้นพัฒนาไปสู่ความเคยชินในการออกกำลังกาย เกิดสังคมเพื่อนที่ออกกำลังกายด้วยกัน อีกทั้ง เกิดการชักชวน ชักนำให้มีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น 2) ด้านศีลภาวนา คือ การประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านศีลภาวนา พบว่า ผู้นักสังคมสงเคราะห์ ควรเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน สร้างความเป็นมิตรกับเพื่อนร่วมงาน นักสังคมสงเคราะห์บางคนชอบในมีการทักทายในที่ทำงาน เพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงาน เกิดมิตรไมตรีซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล และมีจิตใจเอื้ออารี การนำหลักภาวนา 4 ด้านศีลภาวนา พัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัยไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาวะทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 3) ด้านจิตภาวนา คือ การพัฒนาให้จิตใจมีความมั่นคง เกิดจิตสาธารณะ จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านศีลภาวนา พบว่า นักสังคมสงเคราะห์ ควรหมั่นพัฒนาจิตใจตนเอง ด้วยการฝึกปฏิบัติธรรม ทำสมาธิสม่ำเสมอ เพื่อยกระดับจิตใจ ปฏิบัติงานด้วยจิตอาสาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยความเต็มใจ การนำหลักภาวนา 4 ด้านจิตภาวนา มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ เช่น มีเมตตา มีฉันทะ ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่นเบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น 4) ด้านปัญญาภาวนา คือ การพัฒนาความรู้ความเข้าใจให้รู้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านปัญญาภาวนา พบว่า นักสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาศักยภาพของนักสังคมสงเคราะห์รอบด้าน การจัดกิจกรรมนิเทศงานนักสังคมสงเคราะห์ ทำให้นักสังคมสงเคราะห์ได้ถอดบทเรียนจากการทำงาน ของแต่ละบุคคล การนำหลักภาวนา 4 ด้านปัญญาภาวนา มาประยุกต์ใช้ทั้งการพัฒนากาย การพัฒนาจิต การพัฒนาปัญญา เข้าด้วยกันจึงจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research aimed (1) to study the well-being conditions of social workers in Lamphun Province, (2) to study the well-being development of social workers in Lamphun Province, and (3) study the approach in promoting the development of well-being under the Bhavana principle of social workers in Lamphun province. This was qualitative research. The research tool was in-depth interview. Important sentences and specific questions were prepared for the interview. This allowed the interviewers to discuss other issues which were related to the main points. Another research method was documentary research analysis. Data analysis and evaluation were in the forms of descriptive analysis which led to the answers of the study. The results were summerized in the form of report writing to point out the development of well-being under the Bhavana principle of social workers.

The research results were found as follows:

1. Social workers suffered from stress and depression caused by three main factors: work factors, economic factors, and physical, mental and social factors.

2. Promoting the development of the well-being of social workers was to create positive discipline, and positive energy creation by using the concept of balancing life between work and personal life to reduce the impact of work well-being.

3. Guidelines for promoting health development under the Bhavana principle of social workers in Lamphun Province. 1) Physical development referred to the development of good health. Social workers saw the importance on promoting regular exercises, and adequate and consistent rests. A workplace environment and working atmosphere needed to be created including receiving welfare benefits for medical treatment, annual physical examination, and social worker's mental health examination in order to improve the physical health of social workers. The application of the Bhavana principle in terms of physical development for health care, physical improvement, and training, encouraged social workers to be more disciplined in taking care of their own health. This would lead to a habit of exercising and creating a society of friends who encouraged each other to do more exercises. 2) Moral development referred to the conduct of things that were beneficial. From the interviews with key informants, it was found that social workers should respect each other, and build friendship with colleagues. Some social workers preferred having greetings at work to create working atmosphere, making friends with others, having support, and having a compassionate mind. The application of the Bhavana principle in terms of moral development including behavior development and precept training, should be done with discipline: not to encroach or cause any damages, get along well with others, and supporteach other. This would be resulting in a good corporate culture. 3) Emotional development was the development of mental stability to create public consciousness. From the interviews with key informants, it was found that social workers should always develop their own mind with dharma practices, meditate regularly to raise the mind, and work with volunteer spirit to help fellow human beings willingly. The application of the Bhavana principle in terms of emotional development was done to develop the mind such as being kind, energetic, diligent, patient, focused, cheerful, happy, bright, etc. 4) Intellectual development referred to the development of knowledge and understanding to know more deeply. From the interviews with key informants on wisdom, it was found that developing the potential of social workers in all aspects and organizing supervising activities for social workers, enabled social workers to take lessons from work individually. The application of the Bhavana principle in terms of intellectual development was applied to physical, mental, and intellectual development, could create a sustainable development and made the operation to be more efficient.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ