-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของที่ทำการปกครองอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Effectiveness of Budget Management at Mueang Lamphun District Government Office, Lamphun Province
- ผู้วิจัยนายชัชชัย ชัยปัญญา
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48387
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 17
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของที่ทำการปกครองอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้นำชุมชนต่อประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของที่ทำการปกครองอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล3.เพื่อนำเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของที่ทำการปกครองอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีคือการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากการแจกแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล ในพื้นที่อำเภอเมือลำพูน จังหวัดลำพูน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 230 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของที่ทำการปกครองอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.95, S.D. = 0.618) และจำแนกออกเป็น 6 ด้านตามหลักประสิทธิผล โดยมีด้านวัฒนธรรมองค์การ อยู่ในระดับสูงสุด (x̄ = 4.04, S.D. = 0.587)รองลงมาคือ ด้านสมรรถนะ/ความสามารถทางการบริหาร ด้านทรัพยากรการบริหาร ด้านกระบวนการและเทคโนโลยี ด้านโครงสร้างการบริหารและด้านนโยบาย/กลยุทธ์ขององค์การ (x̄ = 3.89, S.D. = 0.631) ตามลำดับ
2.การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของที่ทำการปกครองอำเภอเมืองลำพูนจังหวัดลำพูน จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน พบว่า 1) จำแนกตามเพศและประสบการณ์การทำงาน พบว่า มีประสิทธิผลการบริหารงบประมาณไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2)จำแนกตามอายุและวุฒิการศึกษา พบว่า มีประสิทธิผลการบริหารงบประมาณแตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน ดังนั้นจึงยอมรับสมมติบานที่ตั้งไว้
3. แนวทางทางการเพิ่มประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของที่ทำการปกครองอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้ให้ความสำคัญโดยนำกรอบแนวคิดการวิเคราะห์พฤติกรรมในบริบทขององค์การและสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมขององค์การและพนักงานอันจะส่งผลกระทบโดยตรงกับประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การมีสาระสำคัญดังนี้1.วัฒนธรรมองค์กร มีการปลูกฝังให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 2.นโยบาย/กลยุทธ์ขององค์การ มีการส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการงบประมาณ 3.โครงสร้างการบริหาร มีการจัดทำบัญชีอย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบันทันสมัย และตรวจสอบได้ 4.กระบวนการและเทคโนโลยี มีการดำเนินงานพัฒนาระบบเครือข่ายและสารสนเทศเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 5. ทรัพยากรการบริหาร มีการสนับสนุนการดำเนินงานในการบริหารงบประมาณให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ 6. สมรรถนะ/ความสามารถทางการบริการ ผู้นำเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ และความรู้ความสามารถในการบริหารงบประมาณ จากการนำหลักสุจริต 3 มาใช้ในการบริหารงบประมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้ให้ความสำคัญดังนี้ 1.กายสุจริตให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณ ไม่คิดถึงผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก 2.วจีสุจริตต้องมีการชี้แจงเรื่องการได้รับการจัดสรรงบประมาณด้วยความถูกต้อง 3.มโนสุจริตมีความยึดมั่นว่าจะบริหารงบประมาณด้วยความสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the effectiveness level of budget management at Mueang Lamphun District Government Office, Lamphun Province; 2) to compare community leaders’ opinions toward the effectiveness of budget management at Mueang Lamphun District Government Office, Lamphun Province classified by personal factors; and 3) to propose the guidelines for increasing the effectiveness of budget management at Mueang Lamphun District Government Office, Lamphun Province.
A mixed-methods approach was used in the study, which included both quantitative and qualitative methods. The quantitative method employed questionnaire-based survey research. A sample group included subdistrict headmen, village headmen, assistants to the village headmen, inspectors, district doctors in the areas of Mueang Lamphun District, Lamphun Province. The Taro Yamane formula was used to determine a sample group of 230 persons. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, and One-Way ANOVA. The qualitative method used in-depth interviews with ๑๐ key informants, and the obtained data were analyzed by using content analysis.
From the study, the following results are found ;
1) The effectiveness level of budget management at Mueang Lamphun District Government Office, Lamphun Province is overall at a high level (x̄ = 3.95, S.D. = 0.618). When classifying into six aspects based on effectiveness, it is found that organizational culture is at the highest level (x̄ = 4.04, S.D. = 0.587), followed by management competencies and ability, management resources, processes and technology, management structure, organizational policies and strategies (x̄ = 3.89, S.D. = 0.631), respectively.
2) From comparing community leaders’ opinions toward the effectiveness of budget management at Mueang Lamphun District Government Office, Lamphun Province classified by gender, age, educational level, and work experience, it is discovered as follows: (1) There is no difference when classifying by gender and work experience, whether overall or by aspect; therefore, denying the null hypothesis; (2) When classifying by age and educational level, the effectiveness of budget management is difference, whether overall or by aspect; therefore, accepting the null hypothesis.
3) The guidelines for increasing the effectiveness of budget management at Mueang Lamphun District Government Office, Lamphun Province reveal that the key informants emphasize the use of conceptual frameworks to study behaviors in the context of the organization and environment. This is a deciding element in how the organization and its personnel behave, and it has a direct impact on the organization's effectiveness: (1) Organizational culture, where individuals are trained to do their duties honestly; (2) Organizational policies and strategies, where the academic budget is encouraged and supported; (3) Management structure, where the accounting are correctly prepared, up to date, modern, and auditable; (4) Processes and technology, where network and information system development is carried out to address the requirements of the circumstance; (5) Management resources, where there is support in budget management operations in order to attain the objectives; and (6) Management competencies and ability, where leaders have visions, knowledge, and ability to manage budget. Based on the application of Sucarita (3 good conducts) in budget management, the key informants highlight the following: (1) Kāya-sucarita (physical conduct), where everyone concerned participates in budget management without focusing just on their own interests; (2) Vacī-sucarita (good conduct in word), where there is a clarification on the correct budget allocation; and (3) Mano-sucarita (good conduct in thought), where there is a commitment that the budget will be managed honestly, transparently, and auditable.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|