-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงพุทธของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษStrengthening Buddhist Organization Culture of Sribua Ban Subdistrict Municipality in Mueang Lamphun District in Lamphun Province
- ผู้วิจัยนางสาวณภัทร สาวะจันทร์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ไกรสร แสนวงค์
- วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48390
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 19
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงพุทธของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน”มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อวัฒนธรรมองค์กรของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อวัฒนธรรมองค์กรของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงพุทธของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) การวิจัยเชิงปริมาณมีประชากรหลักเป็นประชาชนที่อยู่ในชุมชนเขตตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 4,707 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane ได้จำนวน 369 คน เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อวัฒนธรรมองค์กรของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.58, S.D. = 0.589) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยมีระดับความคิดเห็นดังนี้ ด้านการยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรมและถูกกฎหมาย ด้านการยึดในหลักจรรยาบรรณ วิชาชีพขององค์กร ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้ ด้านการมีจิตสำนึกที่ดีซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ ด้านการยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2.ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อวัฒนธรรมองค์กรของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า โดยภาพรวมจำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้ พบว่า ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงพุทธของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูนดังนี้ ทาน มาใช้ในการสนับสนุนในการปลูกฝังให้เกิดจิตสาธารณะเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นมองเป้าหมายของส่วนรวมเป็นหลัก ปิยะวาจา มาเป็นสิ่งสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในการอยู่ร่วมกันในองค์กร เมื่อมีการพูดดีอยู่บนการให้เกียรติกันก็ย่อมไม่มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น อัตถจริยา มาเป็นเครื่องมือสนับสนุนความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันในองค์กรได้อย่างปกติสุข สมานัตตตา มาสนับสนุนการปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานอย่างให้เกียรติกันเคารพกันอยู่เสมอ เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ไม่เอาเปรียบกัน ร่วมเผชิญ และแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน อันจะทำให้เกิดความสามัคคีที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรที่ดีนั่นเอง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Research study on “strengthening buddhist organization culture of sribua ban subdistrict municipality in mueang Lamphun district in lamphun province” aims as follows: 1. To study the level of opinions on people's opinions towards organizational culture of si bua ban subdistrict municipality, muang Lamphun district, lamphun province 2. To compare opinions on people's opinions towards organizational culture of si bua ban subdistrict municipality in muang Lamphun district in lamphun province classified by personal factors, and 3. To propose guidelines for enhancing buddhist organizational culture of si bua ban subdistrict municipality, muang district, province lamphun
A mixed-methods approach was used in the study, which included both quantitative and qualitative methods. The quantitative method was used with 4,707 population residing in Sri Bua Ban Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province. A sample group of 369 persons were chosen using the Taro Yamane formula. The data were collected through questionnaire. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, and One-Way ANOVA. While the qualitative method employed in-depth interviews with 10 key informants, and the obtained data were analyzed by using content analysis.
From the study, the following results are found:
1) The people’s opinion level on organizational culture of Sri Bua Ban Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province is overall at a high level (x̄ = 3.58, S.D. = 0.589). When each aspect is considered, it is found that opinions on the enhancement of organizational culture of Sri Bua Ban Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province are as follows: taking a stand for what is right, fair, and lawful; adhering to the code of conduct and organizational profession; aiming for work achievement while maintaining quality and transparency standards founded on awareness, honesty, and accountability. As a result, adhering to morality in all aspects is at a high level, respectively.
2) From comparing the people’s opinions on organizational culture of Sri Bua Ban Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province, the results show that there are no differences when classifying by gender, age, educational level, status, occupation, and income; therefore, denying the null hypothesis.
3) The guidelines for enhancing Buddhist organizational cultures of Sri Bua Ban Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province, the following results are found: using Dāna (giving) to support the cultivation for public mind and sacrifice for others, including focusing on the public goals; using Piyavācā (kindly speech) to support positive relationship in coexisting in the organization. There is no conflict when the conversation is based on respect; using Atthacariyā (useful conduct) as a tool to take responsibility in work so that the coexistence in the organization is smooth; using Samānattatā (even and equal treatment) to treat colleagues with dignity and respect, persevere in the face of adversity without taking advantage of one another, and solve problems for mutual benefit. All of this will lead to the unity that is fundamental in organizational cultures.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|