-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิผลการบริหารโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Effectiveness of The Teachers And The Education Personnel Development Project Educational Study According To Apriyahaniyadhamma of Lamphun Educational Service Area Office 2
- ผู้วิจัยนางปาริชาติ สายคำ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48422
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 24
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยจำแนกตามปัจจัยของบุคคล 3) เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการบริหารโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.990 จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวน 278 คน จากประชากรทั้งหมด 916 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มาทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป หรือ คน แบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับประสิทธิผลการบริหารโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.53, S.D. = 0.35) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการผลิต
2. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และประสบการณ์ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางเพิ่มประสิทธิผลการบริหารโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ควรประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการบริหารดังนี้ (1) ด้านการหมั่นประชุมกันเป็นเนืองนิตย์ คือ มีการดำเนินการประชุมบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ (2) ด้านการพร้อมเพรียงกันในการประชุม คือ อุทิศเวลาของตนเพื่อปฏิบัติภาระกิจให้เสร็จทันเวลา (3) ด้านไม่บัญญัติสิ่งใหม่ๆ ตามอำเภอใจ คือ ยึดระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายเป็นหลัก (4) ด้านการเคารพนับถือผู้มีอาวุโส และรับฟังคำแนะนำ คือน้อมรับคำแนะนำตักเตือนจากทุกฝ่าย (5) ด้านการไม่ข่มเหงหรือล่วงเกินสตรี คือบุคลากรชายให้เกียรติและความเสมอภาคต่อสตรี (6) ด้านการเคารพสักการะปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ รูปเคารพต่างๆ คือ เคารพสักการะปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ รูปเคารพต่างๆ (7) ด้านการให้ความคุ้มครองคนดีมีศีลธรรมให้อยู่ในชุมชนอย่างปลอดภัย คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ความคุ้มครองครดีมีศีลธรรมให้อยู่ในชุมชนอย่างปลอดภัย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this thesis were 1) to study the level of the effectiveness of the development project administration for government teachers and educational personnel in Lamphun Primary Educational Service Area Office 2, 2) to compare the effectiveness of the development project administration for government teachers and educational personnel in Lamphun Primary Educational Service Area Office 2 classified by personal factors, and 3) to propose guidelines for enhancing the effectiveness of the development project administration for government teachers and educational personnel under Aparihaniyaddhamma (Conditions of Welfare) in Lamphun Primary Educational Service Area Office 2. The research methodology was an integrated research method. For quantitative research, the data was collected by using questionnaires with a confidence value of 0.990 from the samples used in the research, which were 278 out of a total population of 916 government teachers and educational personnel in Lamphun Primary Educational Service Area Office 2. The data was analyzed by using a Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) in order to find the frequency, percentage, mean, and standard deviation values for characterizing the general data. The hypothesis was tested by t-test and F-test by One-Way Anova analysis. If there were more than two dependent variables with any differences, it would be tested with pair difference by using Least Significant Difference (LSD). For the qualitative methodology, the data were collected from ten key informants by using in-depth interview. The data were analyzed by using descriptive analysis.
The results were as followed:
1. From the level of the effectiveness of the development project administration for government teachers and educational personnel in Lamphun Primary Educational Service Area Office 2, it was found that the overall level was at a high level ( =3.53, S.D. = 0.35). When classified by each aspect, it was found that the aspect with the highest mean was the development aspect, and the aspect with the least mean was the production aspect.
2. For the comparison of the effectiveness of the development project administration for government teachers and educational personnel in Lamphun Primary Educational Service Area Office 2 classified by personal factors, it was found that government teachers and educational personnel had different sexes, different ages, different educational levels, and different experiences. There were no different opinions on the effectiveness. Therefore, the research hypothesis was rejected. Government teachers and educational personnel with different positions had different opinions on its effectiveness. The research hypothesis was accepted.
3. For the guidelines for enhancing the effectiveness of the development project administration for government teachers and educational personnel under Aparihaniyaddhamma (Conditions of Welfare) in Lamphun Primary Educational Service Area Office 2, it was found that Aparihaniyadhamma (Conditions of Welfare) should be applied to increase the effectiveness of the administration as follows: (1) Concerning meetings regularly; meetings were held regularly for personnel within the Educational Service Area Office, (2) the aspect of meeting coherence; devoting one’s time to complete the tasks according to the project in a timely manner, (3) the aspect of not legislate new things with personal preferences; follow rules, regulations, and law strictly, (4) the aspect of respecting elders, listening to advice, accepting advice and admonishment from all parties, (5) male personnel should avoid bully and harassment of female personnel by respecting and having equality towards women, (6) in aspect of respect of veneration of venerable places, sacred objects, various idols by paying homage to sanctuaries, religious objects, and various role models, and (7) the aspect of protecting moral people to safely live in the community; government teachers and educational personnel protect good moral people to live in the community safely.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|