โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไข หมอกควันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรม ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Enhancement of the Public Sector Participation in Prevention and Solution of the Problems of Haze and Forest Fire Under Aparihaniyadhamma (Conditions of Welfare) in Mae Tha District in Lamphun Province
  • ผู้วิจัยว่าที่ ร.ต.นพดล มโนแสง
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ
  • วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48441
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 23

บทคัดย่อภาษาไทย

              สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขหมอกควันไฟป่า ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขหมอกควันไฟป่า ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 3. เสนอแนวทางการการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขหมอกควันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรมในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน  การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ในเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตอำเภอแม่ทา จำนวน 25,616 คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช่สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 394 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้ายการทดสอบค่าที (t-test) และค่า F (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Anova) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LDS) ในเชิงคุณภาพ ได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป หรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้ายการทดสอบค่าที (t-test) และค่า F (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Anova) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LDS) ในเชิงคุณภาพ ได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป หรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล   

ผลการวิจัยพบว่า

             1. จากการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขหมอกควันไฟป่า ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.29, S.D. = 0.482) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมการวางแผนและตัดสินใจ (x̄ = 4.28, S.D. = 0.323) 2.ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการ (x̄ ̄ = 4.28, S.D. = 0.470) 3. ด้านการมีส่วนประเมิน (x̄ = 4.29, S.D. = 0.460) 4. ด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ (x̄ = 4.30, S.D. = 0.475)

          2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขหมอกควันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรม ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน จำแนกตามเพศ อายุ  วุฒิการศึกษา  อาชีพ และรายได้  พบว่า  1. จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้  พบว่า  การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขหมอกควันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 2.  จำแนกตามอายุ พบว่า   การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขหมอกควันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรมแตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

             3. แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า ตามหลักอปริหานิยธรรม ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ ต้องเกิดการบูรณาการการทำงานทั้งของประชนชนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ส่วนราชการ ประชุมชี้แจงและร่วมดำเนินการ                ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการ มีการบูรการทำงานระหว่างประชาชนในพื้นที่ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังและป้องกันการลักลอบเผาป่า ด้านการมีส่วนประเมิน เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน มีแหล่งต้นน้ำลำธาร มีแหล่งอาหารที่สำคัญของชุมชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              The objectives of this research were 1) to study the opinion level of the public sector participation in prevention and solution of the problems of haze and forest fire in ​​Mae Tha District in Lamphun Province, 2) to compare the opinions of the people towards the public sector participation in prevention and solution of the problems of haze and forest fire in ​​Mae Tha District in Lamphun Province, and 3) to propose guidelines for enhancing of the public sector participation in prevention and solution of the problems of haze and forest fire under Aparihaniyadhamma (Conditions of Welfare) in Mae Tha District in Lamphun Province. This study was qualitative research conducted by using the mixed method research. The population and the sample group were 25,616 people in Mae Tha district. The sampling was chosen using the Taro Yamanes formula. The sample size were 394 people. The data were collected using questionnaires. The data was analyzed by using a Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) in order to find the frequency, percentage, mean, and standard deviation values ​​for characterizing the general data. The hypothesis was tested by t-test and F-test by One-Way Anova analysis. If there was any difference, it would be tested with pair difference by using Least Significant Difference (LSD). Ten key informants were interviewed by using the interview form and put into categories according to interview main points. The content data were analyzed by using descriptive references from peoples words.

                   The findings of the research were as follows:
                   1. From the study of the level of the public sector participation in prevention and solution of the problems of haze 
and forest fire in
​​Mae Tha District in Lamphun Province, the overall level was high ( = 4.29 S.D. = 0.482), followed by
participation in planning and decision-making (= 4.28 S.D. = 0.323), participation in operations (= 4.28 S.D. = 0.470),
assessment participation (= 4.29 S.D. = 0.460), and contribution to receive benefits (
=4.30 S.D. = 0.475).
               2. For the comparison the public sector participation in prevention and solution of the problems of haze and 
forest fire under
Aparihaniyadhamma (Conditions of Welfare) in Mae Tha District in Lamphun Province, classified by sex,
age, educational background, occupation and income, it was found that
there was no difference. The research hypothesis
was rejected. When it was classified by age, it was found that the public sector participation in prevention and solution of
the problems of haze and forest fire under
Aparihaniyadhamma (Conditions of Welfare) differed both in overall and in each
aspect
with statistical significance at the 0.05 level. Therefore, the research hypothesis was accepted.

             3. For the guidelines for the public sector participation in prevention and solution of the problems of haze and forest fire under Aparihaniyadhamma (Conditions of Welfare), it was found that participation in planning and decision making were required integration of work from both people in the area and relevant officials. For the government sector, meetings should be arranged to inform and create participation in the operation. For participation in operation, there should be integration between people in the area with agencies involved in the surveillance and prevention of illegal forest burning. For participation in assessment, people should have opportunities to participate in assessing the performance of activities to prevent and solve the problems of haze and forest fire, and participate in the investigation for transparency. For participation in receiving benefits, people were able to use forest resources sustainably with sources of watersheds, which was an important food source for the community.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ