โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธวิธีส่งเสริมความพึงพอใจในการให้บริการของคลินิกทันตกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Principles for Supporting Services Satisfaction of Dental Clinics in Bangkok
  • ผู้วิจัยเสาวนีย์ มิตตะธรรมมากุล
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.รัฐพล เย็นใจมา
  • วันสำเร็จการศึกษา19/10/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4874
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 67
  • จำนวนผู้เข้าชม 51

บทคัดย่อภาษาไทย

              งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจคุณภาพการให้บริการต่อการให้บริการของคลีนิคทันตกรรมในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมกับความพึงพอใจกับการให้บริการของคลีนิคทันตกรรมในกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการให้บริการของคลีนิคทันตกรรมในกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบชั้นภูมิ จากประชากรจำนวน 2,689 คน ซึ่งเป็นผู้เข้ารับบริการจากคลินิกทันตกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.969 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า

1. ความพึงพอใจคุณภาพการให้บริการต่อการให้บริการของ คลินิกทันตกรรมในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.14, S.D. = 0.42) เมื่อพิจารณาเป็นร้ายด้านพบว่า ด้านทาน (ความโอบอ้อมอารี ให้บริการด้วยความมีน้ำใจ) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก

(= 4.27, S.D. = 0.42) รองลงมา ด้านอัตถจริยา (การประพฤติตนเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.21, S.D. = 0.53) และด้านสมานัตตตา (การวางตัวให้เหมาะสมเสมอต้นเสมอปลาย ให้เกียรติผู้อื่น) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในรับมาก (  = 4.02, S.D. = 0.47) ตามลำดับ

            2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับความพึงพอใจกับการให้บริการของ คลินิกทันตกรรมในกรุงเทพมหานคร พบว่า หลักสังคหวัตถุธรรมกับความพึงพอใจกับการให้บริการของ คลินิกทันตกรรมในกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมากที่สุด (R=.841**) โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

           3. แนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการให้บริการของ คลินิกทันตกรรมในกรุงเทพมหานคร พบว่า 1) ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ คลินิกมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยมีคุณภาพ บุคลากรของคลินิกมีความรู้ความสามารถ คลินิกมีความสะอาดร่มรื่นปลอดโปล่ง คลินิกมีการจัดป้ายประชาสัมพันธ์ 2) ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ คลินิกให้บริการด้วยความถูกต้องแม่นยำตามหลักวิชาการ เจ้าหน้าที่ใส่ใจให้บริการด้วยความเต็มใจ ได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างที่คาดหวังไว้ การรับบริการมีความเหมาะสมกับคุณภาพการให้บริการหน้าที่ 3) การตอบสนองต่อผู้รับบริการ ใส่ใจในการให้บริการเป็นอย่างดี อัธยาศัยดีเป็นกันเองมีน้ำใจ มีการนำเอาข้อเสนอแนะมาปรับปรุง ให้บริการด้วยความกระชับรวดเร็ว 4) การให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ มีเอกสารหลักฐานผู้ประกอบการ มีการแสดงเอกสารหลักฐานใบกระกอบวิชาชีพของบุคลากรอย่างชัดเจน มีการสื่อภาพเสียง การขับเคลื่อนงานบริการเป็นไปอย่างมีคุณภาพ 5) การเข้าใจ/การรู้จักผู้รับบริการ รับฟังปัญหาต่างๆ ของผู้รับบริการ เข้าถึงผู้รับบริการเป็นรายบุคคล สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับบริการ เข้าใจผู้รับบริการ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           Objectives of this research were: 1. To study the level of Satisfaction to service quality of dental clinics in Bangkok, 2. To study the correlation between Buddhist principle and Satisfaction to service of dental clinics in Bangkok and 3. To propose the guideline of service development of dental clinics in Bangkok. The research methodology was mixed method. The quantitative research conducted by studying the 400 sample which selected by stratified random sampling from 2,689 populations which were customer of dental clinics in Bangkok. The tool used for data collection was 5 rating scale questionnaires whit the reliability at 0.969. The statistics used for data analysis were Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation and Correlation. The qualitative research conducted by in-depth interviewing 9 key-informants. The data were analyzed by content analysis.

             The research findings were as follow:

             1. The Satisfaction to service quality of dental clinics in Bangkok in overall was at high level (x̅ = 4.14, S.D. = 0.42), each aspect indicated that Dāna (generosity, service with kindness) was at high level (x̅ = 4.27, S.D. = 0.42) followed by Atthacariyā (self-sacrificing behavior unselfish) was at high level (x̅ = 4.21, S.D. = 0.53) and Samānatthatā (consistently proper posture, honor others) was lowest average at high level (x̅ = 4.02, S.D. = 0.0.47)

             2. The correlation between Sanghahavattu and service Satisfaction of dental clinics in Bangkok, it was found that the correlation of Sanghahavattu and service Satisfaction of dental clinics in Bangkok was positive relation at the most level (R=.841**) with statistical significance at 0.01 level then accepted research hypothesis.

             3. The guideline of service development of dental clinics in Bangkok was 1) concrete aspect of the service aspect included the clinic had quality modern medical equipment, clinic personnel were knowledgeable and competent, clinic was clean and shady and clinic had a publicity sign, 2) reliability aspect included clinic provides services with accuracy according to academic principles, the staff was attentive and willing to provide service, the people received quality service as expected and the service received was appropriate for the quality of the service duties, 3) the responding to service recipients aspect included the staffs were very attentive to service, the staffs were courteous, friendly and considerate, the suggestions were brought to improve and the service was provided with a quick fit, 4) assurance of service recipients aspect included there was a documentary evidence of entrepreneur, the documentation of professional certificates of personnel was clearly presented, there was both visual and audio communication and the service was quality and 5) understanding/knowing the client aspect included the clinic listened to various problems of the service recipient, the clinic had access to each clients, the clinic had a good relationship with service recipients and understood the client.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301204120 6301204120 2.36 MiB 67 22 ต.ค. 2565 เวลา 19:11 น. ดาวน์โหลด