โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Promoting the Administration Effectiveness of Local Administrative Organizations in Chanthaburi Province
  • ผู้วิจัยพระครูธรรมธรจิรชาติ พุทฺธรกฺขิโต (โนรี)
  • ที่ปรึกษา 1รศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
  • วันสำเร็จการศึกษา20/10/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4883
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 60
  • จำนวนผู้เข้าชม 153

บทคัดย่อภาษาไทย

          ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี และ 3. เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นเท่า 0.900 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 270 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน เพื่อยืนยันหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านประกอบด้วย

1) ด้านผลสำเร็จที่ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานอื่น 2) ด้านผลสำเร็จของการเก็บรายได้ 3) ด้านผลสำเร็จการเบิกงบประมาณรายจ่าย 4) ด้านผลสำเร็จโครงการต่อองค์กรและประชาชน และ 5) ด้านผลสำเร็จการบรรลุเป้าหมายตามข้อบัญญัติ พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ดังนั้นหลักการทั้ง 5 ดังกล่าว เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการพัฒนาอย่างที่แท้จริง

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ 1) การบริหารจัดการ ด้านการแก้ไขและพัฒนา และด้านการวางแผน ส่งผลต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ได้ร้อยละ 82.00 และ2) หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ด้านวิมังสา (การทำงานด้วยความเข้าใจ) ส่งผลต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ได้ร้อยละ 34.3 ดังนั้น การทำงานด้วยความเข้าใจ โดยมีใจจดจ่อต่อหน้าที่รับผิดชอบ โดยมุ่งหาความรู้เพิ่มเติมแก่ตนเองและหน่วยงาน เพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่เกิดขึ้น
เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากผู้นำชุมชนเป็นตัวแทนในการเจรจา ขอความร่วมมือ รวมถึงเป็นผู้ประสานงานกับประชาชนโดยตรง จึงสามารถนำนโยบายจากภาครัฐสู่ประชาชนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และการบริหารจัดการจะต้องประกอบด้วยหลักการประชุม วางแผน การมีส่วนร่วมของประชาชน การกำหนดนโยบาย การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน การบริการสาธารณะ การส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิการประชาชน

3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี พบว่า กระบวนการบริหารประกอบด้วย 5 หลักการ คือ การวางแผนที่ดี (ด้านการวางแผน) มีการกระทำ (ด้านการดำเนินงาน) นำการร่วมมือ (ด้านการประสานงาน) นำตรวจสอบ (ด้านการตรวจสอบ) ตอบโจทย์ทุกคน (ด้านการแก้ไขและพัฒนา) นำไปสู่การส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย 6 หลักการ คือ  มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาและวางแผนทำงาน (ผลสำเร็จการบรรลุเป้าหมายตามข้อบัญญัติ) บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการให้ความรู้แก่ประชาชน (ผลสำเร็จของการเก็บรายได้) กำหนดวิธีการเบิกจ่ายรายจ่าย กรอบระยะเวลาในการจ่ายให้ลดขั้นตอน (ผลสำเร็จการเบิกงบประมาณรายจ่าย) ฝึกอบรมแลกเปลี่ยน ให้ความรู้ ร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ (ผลสำเร็จที่ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานอื่น) จัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน (ผลสำเร็จโครงการต่อองค์กรและประชาชน) แผนพัฒนาด้านการบริหารจัดการกับส่วนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (ผลสำเร็จที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์จังหวัด) สามารถพัฒนาการบริหารจัดการได้อย่างยั่งยืน

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study the effectiveness of the administration of local administrative organizations in Chanthaburi Province, 2. To study the factors affecting the administration of local administrative organizations in Chanthaburi province, and 3. To propose the Buddhist integration to promote the effectiveness of the administration of local administrative organizations in Chanthaburi Province, conducted by the mixed research methods. The quantitative research, data were collected from 270 samples who were local government organizations in Chanthaburi province using questionnaire with reliability value of 0.900, and analyzed by frequency, percentage, mean, averages, standard deviations, and multiple regression analysis. The qualitative research, data were collected from 18 key informants by face-to-face in-depth-interview. Data were analyzed by descriptive interpretation and from 10 participants in focus group discussion to confirm after the data analysis.

The research findings were as follow:

1. Administration effectiveness of Local Administrative Organizations in Chanthaburi Province, by overall, was at moderate level (= 3.44. Each aspect consisting of 1) the achievement aspects in integration with other agencies, 2) the achievement in revenue collection, 3) the achievement in budget expenditure, 4) the achievement in projects management for the organization and the people, and 5) the achievement in line with the ordinance goals. All aspects were at moderate level. The 5 principles were the important basic principles of the effectiveness administration of the local administrative organizations in Chanthaburi Province which is the administration method to achieve the real sustainable development goals.

 

2. Factors that affected the administration effectiveness of local administrative organizations in Chanthaburi Province included: 1) Management, correction and development, and planning aspects affected the administration of local administrative organizations in Chanthaburi Province by 82.00 percent, and 2) Management according to the principles of the four Iddhipāda. Vimamsă, working with well understanding, affected the administration of local administrative organizations in Chanthaburi province by 34.3 percent. Working with well understanding with concentration on the work responsibility to gain more knowledge for oneself and organizations was to solve problems that arose. It is important for local administrative organization executives, as community leaders are representatives in negotiation, cooperation including direct coordination with people to bring government policies to  local people very well, and the management principle must consist of the principles of meetings. Plan, Public participation, policy formulation, operational procedures for public service, health promotion and public welfare

3. Integration of the four Iddhipāda principles to promote the effectiveness of the administration of local administrative organizations in Chanthaburi Province was found that the management process consisted of 4 principles: good planning (planning), action (operational aspect). Leading collaboration (coordination), leading audit (audit side) responsive to everyone's needs (correction and development). These principles that lead to the promotion of the effectiveness of the administration of local administrative organizations in Chanthaburi Province, consisted of 6 principles: Commitment to the development and planning of work (the achievement of the goals achieved in accordance with the ordinances). Personnel with knowledge and ability to educate the public (the successful results of revenue collection). Determining how expenditures are disbursed. The time frame for paying to reduce the process (successful disbursement of budget expenditure), Training, exchange, educating, participating in activities to build knowledge (achievements that are integrated with other agencies). Developing projects that are beneficial to the public (project success for the organization and the public). Management development plan with the department to achieve the goal (the achievement is in line with the provincial strategic plan) Being able to develop sustainable management.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301104202 6301104202 8.03 MiB 60 24 ต.ค. 2565 เวลา 20:12 น. ดาวน์โหลด