โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Model of Buddhist Integrated Leadership of Municipality Administrators in Buriram Province
  • ผู้วิจัยพระครูปลัดวิศิษฐกุล สิริปญฺโญ (สุดารักษ์)
  • ที่ปรึกษา 1รศ.ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา21/10/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48938
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 162

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์  3. เพื่อนำเสนอรูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.990 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของของเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 264 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 19 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านประกอบด้วย 1) ด้านการบริหาร 2) ด้านการสร้างพื้นที่และความร่วมมือ 3) ด้านการสร้างความเป็นผู้นำรุ่นใหม่ 4) ด้านการตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งที่ดี 5) ด้านการสื่อสารสาระสำคัญ 6) ด้านการทำความเข้าใจสาระสำคัญ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน สอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์และความมั่นใจในการบริหารงานเป็นอย่างดี โดยใช้ความรู้ความเข้าใจสื่อสารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเข้าใจทันต่อสถานการณ์ สร้างแรงจูงใจโดยปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างนำไปสู่การลงมือปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ 1) คุณลักษณะของผู้บริหาร ด้านมีความสามารถในการควบคุม ด้านมีความเฉลียวฉลาด ด้านมีความรับผิดชอบ ด้านมีความเชื่อมั่นในตนเอง ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 80.1 และ 2) หลักอริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบด้วย ด้านสัมมาวายามะ ด้านสัมมาอาชีวะ ด้านสัมมาสติ ด้านสัมมาสมาธิ ด้านสัมมาทิฎฐิ ด้านสัมมาสังกัปปะ และด้านสัมมาวาจา ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 88.2 สอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์มีการปฏิบัติตามหลักธรรม มีวิสัยทัศน์ที่ดี ความคิดสร้างสรรค์ และใช้ความเพียรพยายามในการบริหารและพัฒนาองค์กรด้วยความโปร่งใส เข้าใจกฎหมายและระเบียบการบริหารราชการ

3. รูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า คุณลักษณะของผู้บริหาร ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ มีวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ เป้าหมายขององค์กรไว้อย่างชัดเจน (ด้านมีความเฉลียวฉลาด) เตรียมความพร้อมก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงาน (ด้านมีความพร้อม) ให้คำแนะนำผู้ร่วมงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน (ด้านมีความเข้าใจในงาน) ความมุ่งมั่นตั้งใจ ทำงานด้วยความรอบคอบ บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ (ด้านมีความริเริ่มและมุ่งมั่น) มีความหนักแน่นใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญและเข้าใจกระบวนการในการบริหาร (ด้านมีความเชื่อมั่นในตนเอง) ใส่ใจในการปฏิบัติงาน มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ (มีความรับผิดชอบ) ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาโดยใช้หลักความยุติธรรม (มีความสามารถในการควบคุม) นำไปสู่การส่งเสริมภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ใช้หลักสัมมาทิฎฐิ และสัมมาสังกับปะในการกำหนดกลยุทธ์การบริหารองค์กรที่สอดคล้องกับโอกาส เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง (ด้านการตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งที่ดี) ใช้หลักสัมมาสมาธิและสัมมาวายามะ กล้าตัดสินใจ ทันต่อเหตุการณ์ และมีพลังหรือแรงจูงใจในการที่ทำให้คนทำไปตามเป้าหมาย (ด้านการทำความเข้าใจสาระสำคัญ) มีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (ด้านการสร้างพื้นที่และความร่วมมือ) ผู้บริหารเทศบาลสามารถสื่อสารได้ด้วยความชัดเจนตามหลักสัมมาวาจา บริหารงานด้วยโปร่งใสตามหลักสัมมาทิฏฐิ มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน (ด้านการสื่อสารสาระสำคัญ) มีการเน้นเรื่องเป้าหมายและการลงมือทำ (ด้านการบริหารจัดการ) มีการสร้างผลงานให้เกิดผลลัพธ์และงานที่ทำให้องค์กรอย่างเป็นรูปธรรม (ด้านการสร้างความเป็นผู้นำรุ่นใหม่) ให้มีขีดความสามารถในการบริหารและพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were 1. To study the leadership of the Municipal Executives in Buriram Province, 2. To study the factors affecting the leadership of the Municipal Executives in Buriram Province, 3. To present the integrated Buddhist leadership model of the Municipal Executives in Buriram Province. Conducted with the mixed research methods. The quantitative research used questionnaires with a full confidence value of 0.990 to collect data from 264 samples, namely personnel of municipalities in Buriram Province and analyzed the data by frequency, percentage, mean, standard deviations, and multiple regression analysis, The qualitative research, data were collected from 19 key informants by face-to-face in-depth interviewing with 19 key informants and 9 participants in focus group discussion and analyzed by descriptive interpretation to confirm after data synthesis.

Findings were as follows:

1. The leadership of the Municipal Executives in Buriram Province, as a whole, was at high level (= 4.24). Each aspect, namely,1) administrative aspects, 2) space creation and cooperation., 3) Building a new generation of leadership. 4) Decision-making aspects to create good things 5) Communication of essence 6) making understanding of essence, all were found to be at high level.  This was consistent with qualitative data showing that Municipal Executives in Buriram Province were visionary and confident in the management by using cognition to communicate to subordinates to gain an understanding of the situation, motivating others by acting as a role model, leading to effective action.

2. Factors affecting the leadership of the Municipal Executives in Buriram Province included: 1) executive attributes; in the areas of the ability to control, ingenuity, responsibility, self-confidence affected the leadership of the Municipal Executives in Buriram Province by 80.1 percent, 2) Noble Eightfold Path consisted of Sammavayama, Sammaachiva, Sammasati, Sammasamadhi, Sammatitthi, Sammasangappa and Sammavacha,  affected the leadership of the Municipal Executives in Buriram Province by 88.2 percent   in  line with qualitative data showing that the Municipal Executives in Buriram Province practiced along Dhamma principles, had a good vision, creativity, and perseverance in managing and developing organizations with transparency, understanding of laws and regulations of public administration.

3. Model of Integrated Buddhist leadership style of the Municipal Executives in Buriram Province was found that the attributes of the management consist of 7 aspects, namely vision, mission setting. The organization's goals are clear (ingenuity aspects), preparing them before taking action (the readiness side), giving advice to colleagues. To increase operational capacity (understanding of the work) Commitment, intentionality, thoughtful work, effective results (initiative and commitment), strongness, use of knowledge, expertise and understanding of management processes. (Self-confidence) cares about performance. Having a manifest contribution (responsible). Governing subordinates using the principles of justice (having the ability to control). This leads to the promotion of leadership of the Municipal Executives in Buriram Province, consisting of six aspects: using the principles of sammatidhi and sammasangkappa,  to formulate organizational management strategies that were in line with opportunities, to keep up with changing circumstances (decision-making to create good things), to use the principles of Sammasamadhi and sammawayama, to be bold in making decisions, to be up-to-date, and to have the power or motivation to make people achieve their goals (understanding the essence), and to have the will to work together with others (creating space and cooperation). Municipal executives can communicate with clarity in accordance with verbal principles. Managing with transparency in accordance with the principles of Sammatitthi There were clear guidelines for action (communication, essence), there was an emphasis on goals and actions (management). There was a tangible impact and work that made the organization tangible (in the field of creating a new generation of leadership). To have the ability to manage and develop the organization effectively.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ