โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffectiveness of Policy Implementation on Electric Vehicle Industry in Thailand
  • ผู้วิจัยนางสาวมัทนา เมฆตรง
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
  • วันสำเร็จการศึกษา20/10/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48940
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 261

บทคัดย่อภาษาไทย

       ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมสำหรับประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน ใช้แบบสอบถามที่มีแค่ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.942 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

      ผลการวิจัยพบว่า

             1. ประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านได้แก่ การพัฒนา ความพึงพอใจ การปรับเปลี่ยน การผลิต และประสิทธิภาพ ตามลำดับ และข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การผลิต ได้แก่ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ได้มาตรฐานและตรงตามข้อกำหนดของนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า 2) ประสิทธิภาพ ได้แก่ สามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างคุ้มค่า รองรับมาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานในอนาคต 3) ความพึงพอใจ ได้แก่ กำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างอุปทานในการลงทุนด้านยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน กระตุ้นตลาดภายในประเทศเพื่อให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น 4) การปรับเปลี่ยน ได้แก่ การนำเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นจากการนำนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาใช้ ยานยนต์ไฟฟ้าช่วยลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม 5) การพัฒนา ได้แก่ สามารถเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทยในการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค สามารถพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย พบว่า 1) การนำโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 โดยเรียงตามลำดับดังนี้ทัศนคติของผู้ที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ความพอเพียงของทรัพยากร กลไกภายในหน่วยงานหรือระหว่างหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี วัตถุประสงค์ของนโยบาย โดยการนำโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 72.9 และผลการวิจัยเชิงคุณภาพยังมี ด้านลักษณะของนโยบาย ความเป็นไปได้ทางการเมือง และลักษณะของหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติ ตามด้วย 2) หลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงลำดับดังนี้ วิมังสา (การไตร่ตรอง) ฉันทะ (ความพึงพอใจ) จิตตะ (ความเอาใจใส่) โดยหลักอิทธิบาท 4 สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 71.2 อย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ด้านวิริยะ (ความเพียร) ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติในอีกด้วย

3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมสำหรับประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยพบว่าประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติประกอบด้วย การผลิต ประสิทธิภาพ ความพึงพอใจ การปรับเปลี่ยน และการพัฒนา โดยนำหลัก อิทธิบาท 4 มาบูรณาการเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ ดังนี้ (1) ฉันทะ พอใจในนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าที่รัฐกำหนดขึ้นและมุ่งหวังให้เกิดผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว (2) วิริยะเต็มใจนำนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้ามาปฏิบัติแม้อาจมีอุปสรรคและต้องใช้ระยะเวลายาวนาน  (3) จิตตะ มีการทำงานเป็นทีมเพื่อให้องค์กรดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายของภาครัฐ เอาใจใส่ในการบริหารงาน (4) วิมังสา พิจารณาใคร่ครวญหาข้อดี ข้อด้อยในการนำนโยบายมาปฏิบัติงาน มีการตรวจสอบหรือทดสอบคุณภาพและประสิทธิผลของนโยบาย

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study the effectiveness of government policy implementation on the electric vehicle industry in Thailand; 2. To study the factors affecting the effectiveness of government policy implementation on the electric vehicle industry in Thailand and 3. To propose the Buddhadhamma integration for the effectiveness of government policy implementation on the electric vehicle industry in Thailand. Conducted with the mixed research methods divided into 2 phases; phase 1 was the quantitative method by collecting data from 370 samples of 370 and analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis by statistical program package. Phase 2 was the qualitative research, collected data from 18 key informants by in-depth interviewing method, and from 10 participants in focus group discussion to confirm the pattern after the data synthesis.   

             Findings were as follow:

             1. The effectiveness of the government policy implementation in the electric vehicle industry in Thailand was found that the sample group had opinions on the effectiveness of the policy implementation by overall at a high level. All aspects were also at high level according to the mean, namely development, followed by satisfaction, and the third was adjustment, production, and efficiency respectively. The qualitative data consisted of 1) production, i.e., the production of electric vehicles in sufficient quantities to meet the demand; meet the standards and meet the requirements of the electric vehicle promotion policy. 2) effectiveness, to be able to supply the available resources to be used with values that support the standard of electric vehicles that are efficient and ready for use in the future. 3) Satisfaction, including setting investment promotion measures to create supply for investment in electric vehicles and parts. To stimulate the domestic market to increase the use of electric vehicles. 4) Changes include the introduction of new technologies arising from the adoption of the policy to promote electric vehicles. Electric vehicles can help reduce the impact of the rapidly changing environment. 5) Development aspects include the ability to increase the potential of Thailand as a production base for key parts and electric vehicles in the region that can develop better public transportation in country.

             2. Factors affecting the condition of the effectiveness of the government policy implementation on the electric vehicle industry in Thailand were found: 1) The successful implementation of the policy affected the effectiveness of the policy implementation on the electric vehicle industry in Thailand had 5 variables that were statistically significant at the 0.01 and 0.05 levels, arranged in order of the following equations: the attitude of those who implemented the policy, resource sufficiency, Mechanisms within departments or between agencies that implemented them, technology feasibility, Policy objectives by successfully implementing the policy. They can jointly predict the effectiveness of the policy implementation on the electric vehicle industry in Thailand by 72.9 percent. 2) Itthipada 4 that affected the production of electric vehicles in Thailand had 3 variables with statistically significant at 0.01 level, arranged in the following order: Vimangsa (contemplation), Chanta (satisfaction), Chitta (caring), based on the principle of Itthipada 4. can jointly predict the effectiveness of the policy implementation on the electric vehicle industry business in Thailand by 71.2 percent. However, the outcomes from qualitative data shown that the Viriya: Perseverance also can a jointly predict the effectiveness of the policy implementation on the electric vehicle industry in Thailand

             3. The Buddhadhamma integration for the effectiveness of government policy implementation on the electric vehicle industry in Thailand were as follows: 1) The effectiveness of government policy implementation consists of production, efficiency, satisfaction in the aspect of transformation, development by Itthipăda 4 integration for the effectiveness of the implementation of the policy which consisted of (1) Chantha: Satisfaction and satisfaction with the policy to promote electric vehicles that the government has formulated and hopes to achieve with rapid results. (2) Viriya: Perseverance, willingness to implement the policy to promote electric vehicles, even though there may be obstacles and time consuming, (3) Chitta: attention, teamwork for the organization to operate in accordance with the policies of the government. Paying attention to administration (4) Vimamgsă: reflection of advantage and disadvantages in implementing the policy. There were the quality and effectiveness of the policy check or test regularly. There were also factors that made the implementation of the policy effective, including the nature of the policy. Policy objectives, political possibility, technology feasibility, resource sufficiency, characteristics of the agency that implemented the policy, mechanisms within departments or between agencies that implemented them, and the attitudes of those who implemented the policy.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ