-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Model of Potential Development for Administrative Monks at Sangha Administration in Nakhonratchasima Province.
- ผู้วิจัยพระครูปลัดสำรวย สิริสาโร (ช่างกระโทก)
- ที่ปรึกษา 1เติมศักดิ์ ทองอินทร์
- ที่ปรึกษา 2บุษกร วัฒนบุตร
- วันสำเร็จการศึกษา23/02/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 627
- จำนวนผู้เข้าชม 1,028
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา และ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา
วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 27 รูป เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ และขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 348 รูป เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา พบว่า มีการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการให้รอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม พระสังฆาธิการเป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา มีการกำหนดพระผู้ปกครองให้สอดส่องดูแลพระภายในปกครองให้ทำหน้าที่ของตน ส่วนปัญหาในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมานั้นพบว่ามีการดูแลไม่ทั่วถึงเพราะพระสังฆาธิการมีภาระหน้าที่มากจนเกินไป จึงมีปัญหาด้านการปกครอง การบริหารไม่อยู่ในระบบ ถึงแม้จะเริ่มมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการสื่อสารภายในวัดแต่บุคลากรที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยียังมีจำนวนน้อย การเดินทางไม่สะดวก การประสานงานค่อนข้างล่าช้า ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องการพัฒนาต่อไป
2. แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้ 1) การวางแผน ในแต่ละปีจะมีการประชุมผู้บริหาร เพื่อวางแผนเป้าหมายให้เป็นไปในทิศทางที่กำหนด และติดตามผลได้ การวางแผนเชิงรุก 2) การจัดองค์การ พระสังฆาธิการจะมีการดำเนินการตามลำดับการปกครองคณะสงฆ์ คือ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัด เป็นต้น ทำหน้าที่ดูแลรักษาความเรียบร้อยในวัดในเขตพื้นที่นั้นๆ 3) การบริหารงานบุคคล พระสังฆาธิการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ มีหน้าที่ในการกำกับดูแลพระภิกษุ สามเณร ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม มีวิธีการสั่งการตามลำดับชั้นปกครองตามโครงสร้างองค์กรคณะสงฆ์ เป็นต้น 4) การอำนวยการ พระสังฆาธิการ จะมีการประสานงานติดต่อ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัด เป็นต้น ทำหน้าที่ดูแลรักษาความเรียบร้อยในวัด ในเขตพื้นที่นั้นๆ 5) การควบคุม งานปกครองคณะสงฆ์จะมีการกำกับดูแลบุคลากรเป็นไปตามลำดับชั้นการปกครอง การตรวจสอบการเงินภายในรายการของวัด ผู้ปกครองจะนำเสนอเป็นรายงานประจำปีแจ้งให้เจ้าคณะจังหวัดทราบ หากมีเรื่องร้องเรียนเป็นทางการถึงคณะผู้ปกครอง เจ้าคณะผู้ปกครองนั้นก็จะดำเนินการตรวจสอบ
3. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ 1) รูปแบบด้านการวางแผน ประกอบด้วย แผนระยะสั้น (1 ปี) แผนระยะกลาง (2-4 ปี) แผนระยะยาว (5 ปี) 2) รูปแบบด้านการจัดองค์การ ประกอบด้วย ระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด 3) รูปแบบด้านการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย การสรรหา/คัดเลือก การแต่งตั้ง การพิจารณาความดีความชอบ 4) รูปแบบด้านการอำนวยการ ประกอบด้วย การอบรม การศึกษา การพัฒนา 5) รูปแบบด้านการควบคุม ประกอบด้วย การประเมินผล การปรับปรุง การให้รางวัล
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to study general conditions of Sangha administration in Nakhonratchasima Province, 2) to study concepts, theories related to potential development of Sangha administrative monks in Nakhonratchasima Province and 3) to propose a model for potential development of administrative monks at Sangha administration in Nakhonratchasima Province.
The methodology was the mixed methods. The qualitative research collected data from 27 keys informants with in-depth-interview, by face-to-face interviewing analyzed data by descriptive interpretation. The quantitative research collected data from 348 samples with questionnaires and analyzed data with descriptive statistics; frequency, percentile, mean and standard deviation.
Findings were as follows:
1. General condition of Sangka administration of Nakhonratchasima Province was that there was promotion of administrative monks’ potential development in both secular and Dhamma areas. Administrative monks were good example for subordinates. Senior monks were assigned to look after monks in one own constituency. The problems were that the administration was not systematic. Administrative technology was limited. Communication and transportation were not convenient and coordination was slow which were the problems to be solved.
2. The concepts theories approaches to potential development for Nakornrajasima administrative monks were that; 1) planning, each year there should be pro-active planning for the set target in the same direction and evaluation, 2) organizing, administrative monks should set the administrative hierarchical order; assistant abbot, abbot, sub-district director, District director and provincial governing monk to perform administrative duty in their own areas, 3) staffing; administrative monks are state officials with duties to administer the Sangha affaires, monks and novices to orderly abide by the rules and regulations with chain of command from seniors to juniors. 4) directing; administrative monks should have good coordination with assistant abbots, abbots, sub-district and district directors and provincial governing monks to maintain good order in their own constituencies, 5) controlling; there was hierarchical controlling the Sangha affaires, financial control by written-reporting to the provincial governing monks. The administrative committee would investigate the official complain from public.
3. A models for Nakornrajasima administrative monks’ potential development were that 1) planning model consisting of short term one year plan, middle term 2.4 years plan and long term 5 years plan. 2) organizing model consisting of sub-district, district and provincial level, 3 staffing model consisting of recruitment, selection, appointment, assessment and rewarding, 4) directing model consisting of training, education and development, 5) controlling model consisting of evaluating, improving and rewarding.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 21.11 MiB | 627 | 16 ก.พ. 2564 เวลา 21:37 น. | ดาวน์โหลด |