-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEcotourism Management in Amphawa District, Samut Songkhram Province
- ผู้วิจัยนางสาวเกวลี บุญเทียน
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.รัฐพล เย็นใจมา
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา14/03/2562
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/491
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 484
- จำนวนผู้เข้าชม 421
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.896 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เป็นนักท่องเที่ยวในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.896 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เป็นนักท่องเที่ยวในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 3.98, S.D. = 0.548) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ๑. ด้านสถานที่ท่องเที่ยว (x̄= 4.02, S.D. = 0.659) 2. ด้านการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ (x̄= 3.92, S.D. = 0.626) 3. ด้านประชาชนในท้องถิ่น (x̄= 3.94, S.D. = 0.693) 4. ด้านร้านค้า (x̄= 4.01, S.D. = 0.633) 5. ด้านร้านอาหารและเครื่องดื่ม (x̄= 3.99, S.D. = 0.609)
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา ต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และจำนวนครั้งที่มาใช้บริการการท่องเที่ยวต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอายุ ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. ปัญหา อุปสรรค การจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คือ สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคค่อนข้างมีราคามากเกินไป ที่นั่งทานอาหารมีน้อยที่พักสำหรับพักผ่อนไม่เพียงพอ สถานที่จอดรถมีจำนวนน้อยมาก จำนวนห้องน้ำไม่มากพอ ทางเดินค่อนข้างแคบ ที่นั่งรับประทานอาหารริมน้ำไม่ค่อยสะดวก ข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานรัฐควรเข้ามาดูแลในสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่านี้ ควรมีที่นั่งพักผ่อนให้หลายๆจุดกว่านี้ ควรปรับปรุงที่นั่งทานอาหารริมน้ำตรงขั้นบันได ควรเพิ่มจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวให้ดีขึ้น ควรเพิ่มที่จอดรถสำหรับผู้ที่มาท่องเที่ยว ควรมีห้องน้ำสาธารณะที่สะดวกมากกว่านี้ ควรขยายพื้นที่ในการเดินให้เพียงพอสำหรับท่องเที่ยว
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were to 1. study the ecotourism management and community way of life, 2. compare the people’s opinions on the ecotourism management and community way of life and 3. study the problems, obstacles and suggestions for the management of ecotourism and community way of life at Amphawa District, Samut Songkhram Province.
Methodology was the mixed methods: The quantitative research collected data using questionnaires at the confidence value equal to 0.896 from 400 samples who were tourists who came to Amphawa District, Samut Songkhram Province, analyzed data frequency, percentage, average, standard deviation, SD., t -test, F-test, One-Way ANOVA and Least Significant Difference (LSD). The qualitative research collected data from 8 key informants by face-to-face-in-depth-interview and analyzed data by descriptive interpretation.
Findings of the research were as follows:
1. Management ecotourism and community way of life at Amphawa district, Samut Songkhram Province, by overall, was at high level (x̄= 3.98, S.D. = 0.548). All aspects were at high level, such as 1) Tourist attraction sites were at high level (x̄= 4.02, S.D. = 0.659), 2) The services of government department agencies was at high level (x̄ = 3.94, S.D. = 0.626), 3) local people were at high level (x̄= 3.94, S.D. = 0.693), 4) souvenir stores were at high level (x̄= 4.01, S.D. = 0.633) and 5. Restaurants and beverages were at high level (x̄= 3.99, S.D. = 0.609).
2. The results of people’s opinions comparison classified by personal data on the management of ecotourism and community way of life at Amphawa District indicated that people with different educational level had different opinions with statistically significant level at 0.05, and people with different number of time visiting Amphawa District had different opinions with statistically different significant level at 0.01 accepting the set research hypothesis. As for the people with different gender and age did not have different opinions, rejecting the set hypothesis
3. The problems and obstacles were that the consuming products were quite expensive, less seats in restaurants, accommodation for vacations were limited, Parking space and restrooms were very limited. Footpath was very narrow and dinning tables at riverside were also limited and inconvenient. The suggestions are as follows: Government agencies should take more care of tourist attraction sites. More seats and places for relaxations should provided. Riverside dinning seats, especially at steps should be renovated to an outstanding attraction. Parking space for tourists should be added. Public bathrooms and walking paths should be added for more conveniences of the tourists.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.52 MiB | 484 | 4 มิ.ย. 2564 เวลา 06:19 น. | ดาวน์โหลด |